เครื่องหมายกุญแจเสียง

เครื่องหมายกุญแจเสียง หรือ เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง หรือเรียกอย่างสั้นว่า คีย์ (อังกฤษ: key signature) คือกลุ่มของชาร์ปหรือแฟลต (หรือเนเชอรัลในบางกรณี) ที่กำกับบนบรรทัดห้าเส้น เป็นตัวบ่งบอกให้เล่นตัวโน้ตสูงขึ้นหรือต่ำลงครึ่งเสียง (semitone) ตามตำแหน่งที่กำหนดหากไม่มีเครื่องหมายอื่นอยู่ก่อน แทนที่จะเป็นเสียงตัวโน้ตปกติ การกำหนดบันไดเสียงเช่นนี้จะมีผลทั้งบรรทัดจนกว่าจะมีการเปลี่ยนคีย์ใหม่ เครื่องหมายกุญแจเสียงมักพบได้ทั่วไปถัดจากกุญแจประจำหลักในตำแหน่งเริ่มบรรทัดใหม่ หรือปรากฏที่ส่วนอื่นบนบรรทัดเช่นหลังจากดับเบิลบาร์ (double bar) เป็นต้น

เครื่องหมายกุญแจเสียงชุดหนึ่ง
เครื่องหมายกุญแจเสียงชุดหนึ่ง

ตัวอย่างการใช้งาน

แก้

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นบันไดเสียงของ B major

 

และบันไดเสียงนี้สามารถใช้เครื่องหมายกุญแจเสียงกำกับได้ดังนี้

 

จุดประสงค์ของการใช้เครื่องหมายกุญแจเสียงก็เพื่อลดจำนวนเครื่องหมายกำกับเสียงที่แทรกอยู่ในบรรทัดห้าเส้น ทำให้อ่านง่ายขึ้น โดยหลักการเบื้องต้น เครื่องหมายกุญแจเสียงสามารถกำกับที่ตำแหน่งสูงต่ำใด ๆ ก็ได้บนบรรทัดห้าเส้น เขียนรวมกันที่ต้นบรรทัด แล้วถอดเครื่องหมายที่ตัวโน้ตออก หรือปรับด้วยเครื่องหมายกำกับเสียงอื่นให้ตรงตามความเป็นจริง

การใช้เครื่องหมายกุญแจเสียงจะทำให้เกิดผลต่อตัวโน้ตที่ต่อจากนั้นหลายห้อง หรือทั้งบรรทัด หรือแม้แต่ทั้งเพลง เว้นแต่จะถูกยกเลิกโดยเครื่องหมายกุญแจเสียงกลุ่มอื่น ตัวอย่างเช่น จากเครื่องหมายกุญแจเสียง B major ข้างต้น โน้ตเสียง A (เสียง ลา) ที่อยู่หลังจากเครื่องหมายกุญแจเสียงในทุกอ็อกเทฟ (octave) จะต้องเล่นเป็นเสียง A ทั้งหมด หากไม่มีเครื่องหมายกำกับเสียงตัวอื่นมาปรับเปลี่ยนโน้ตตัวนั้น

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการยกเลิกบันไดเสียงที่กำหนดไว้ก่อนหน้าในบรรทัดเดียวกัน จาก C minor ไปเป็น E major เครื่องหมายนี้ เรียกว่าเนเชอรัล (natural) ใช้สำหรับแปลงเสียงให้กลับมาเป็นปกติ

 

ตารางเครื่องหมายกุญแจเสียง

แก้

เครื่องหมายกุญแจเสียงที่นิยมใช้มักจะมีรูปแบบตายตัว โดยจะมีชาร์ปทั้งชุดหรือแฟลตทั้งชุด หรือไม่มีอยู่เลย ซึ่งจะสัมพันธ์กันตามบันไดเสียงเมเจอร์และบันไดเสียงไมเนอร์ ดังนี้

เครื่องหมายกุญแจเสียง บันไดเสียงเมเจอร์ บันไดเสียงไมเนอร์ เครื่องหมายกุญแจเสียง บันไดเสียงเมเจอร์ บันไดเสียงไมเนอร์
 
ไม่มีแฟลตหรือชาร์ป
C major A minor
 
แฟลต 1 ตัว
F major D minor  
ชาร์ป 1 ตัว
G major E minor
 
แฟลต 2 ตัว
B major G minor  
ชาร์ป 2 ตัว
D major B minor
 
แฟลต 3 ตัว
E major C minor  
ชาร์ป 3 ตัว
A major F minor
 
แฟลต 4 ตัว
A major F minor  
ชาร์ป 4 ตัว
E major C minor
 
แฟลต 5 ตัว
D major B minor  
ชาร์ป 5 ตัว
B major G minor
 
แฟลต 6 ตัว
G major E minor  
ชาร์ป 6 ตัว
F major D minor
 
แฟลต 7 ตัว
C major A minor  
ชาร์ป 7 ตัว
C major A minor

อ้างอิง

แก้
  • นพพร ด่านสกุล. ปฐมบททฤษฎีดนตรี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543. หน้า 103-105, 111-117. ISBN 974-277-766-7