เขื่อนปากมูล เป็นเขื่อนในจังหวัดอุบลราชธานีกั้นแม่น้ำมูล อยู่ห่างจากลำน้ำมูลและน้ำโขงไปทางตะวันตกประมาณ 5.5 กิโลเมตร ก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก โดยมีค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2537

เขื่อนปากมูล
ชื่อทางการเขื่อนปากมูล
ที่ตั้งจังหวัดอุบลราชธานี
วันที่เปิดพ.ศ. 2537
โครงสร้างและทางน้ำล้น
กั้นแม่น้ำมูล

ในเมื่อ 2510 สำนักงานพลังงานแห่งชาติ หรือปัจจุบันคือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) มีดำริที่จะพัฒนาแหล่งน้ำแหล่งนี้ โดยได้รับความร่วมจากรัฐบาลฝรั่งเศส ได้ทำการสำรวจและศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำมูลตอนล่าง และกำหนดที่ตั้งตัวเขื่อนไว้ที่บริเวณแก่งตะนะ ซึ่งห่างจากปากแม่น้ำขึ้นมา 4 กิโลเมตร

เมื่อปี 2522 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ได้รับโครงการนี้ไปดำเนินการต่อ และได้ศึกษาเพิ่มเติมก็รู้ว่าประโยชน์ที่จะได้รับนั้นคุ้มค่า แต่ผลดระทบที่สำคัญของโครงการนี้คือ การโยกย้ายที่อยู่ของประชากรในแถบนั้นถึง 4,000 หลังคาเรือน ทำให้ต้องชะลอโครงการไว้ก่อน

ในปี 2528 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีการทบทวนโครงการอีกครั้ง โดยย้ายที่ตั้งตัวเขื่อนมาทางเหนือน้ำประมาณ 1.5 กิโลเมตร และลดระดับการกักเก็บน้ำลง เพื่อให้ประชากรได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และผลสรุปในปี 2532 มีประชากรได้รับผลกระทบรวม 903 ราย เป็นผลกระทบต่ออาคารบ้านเรือนรวม 248 หลังคาเรือน ซึ่งลดลงจากปี 2522 เป็นอย่างมาก

ในภาคอีสานนั้นต้องรับไฟจากส่วนกลาง และต้องซื้อจากการไฟฟ้าของลาวด้วย ทำให้ระบบของภาคอีสานไม่มั่งคง และฟุ่มเฟือย จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าในภาคอีสานขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับโรงไฟฟ้าของภาค

โครงการนี้จัดอยู่ในแผนการพัฒนาไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (2530-2340) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2533 และเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2537 ตามกำหนดการที่ตั้งไว้

ผลกระทบการก่อสร้าง แก้

โครงการสร้างเขื่อนปากมูลนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากมีผลกระทบต่อการทำประมงในแม่น้ำมูลเนื่องจากตัวเขื่อนขวางการเดินทางของปลาในฤดูวางไข่ เพราะตั้งปิดประตูเขื่อนไม่เช่นนั้นไม่สามารถให้กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างพอเพียง ได้แก้ไขคือ คือเปิดประตูเขื่อน "สุดบาน" ปีละ 4 เดือนในฤดูปลาวางไข่

ปี 2550 มีมติให้รักษาระดับน้ำในแม่น้ำมูลไว้ที่ 106-108 ม.รท จึงต้องปิดประตูเขื่อน[1]และชาวบ้านได้เข้ามาประท้วงกดดัน ครม.พิจารณาเปิดเขื่อนปากมูล[2]

ทั้งนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้จ่ายเงินเป็นค่าเวนคืนมากกว่า 1,500 ล้านบาท รวมทั้งชดเชยค่าสูญเสียรายได้จากการประมงอีกกว่า 500 ล้านบาท แต่ยังมีปัญหาการจ่ายเงินชดเชยแก่ชาวบ้านไม่ครบถ้วน

ผลกระทบอีกอย่างหนึ่งของเขื่อนนี้ก็คือ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่กว้าง 117 ตารางกิโลเมตร และทำให้ประชาชนประมาณ 3,000 ครอบครัวต้องอพยพ ทั้งนี้มีผู้ได้รับผลกระทบทั้งสิ้นประมาณ 25,000 คน และด้วยเหตุนี้จึงเกิดการชุมนุมประท้วงที่ทำเนียบรัฐบาลอยู่เป็นระยะๆ

อ้างอิง แก้

http://www.stjohn.ac.th/department/school/www.egat.or.th/thai/dam_powerplant/pakmoon/pakmoon1.html เก็บถาวร 2016-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

15°16′55″N 105°28′08″E / 15.282°N 105.469°E / 15.282; 105.469

  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เขื่อนปากมูล
  • Tyson R. Roberts (2001). "On The River of no Returns: Thailand's Pak Mun Dam and its Fish Ladder" (PDF). NAT. HIST. BULL. SIAM SOC. (ภาษาอังกฤษ). Thai Science (49): 189–230. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-16. สืบค้นเมื่อ 2013-12-16.