เขตผู้ว่าการเอสโตเนีย

เขตผู้ว่าการเอสโตเนีย[1] (เอสโตเนีย: Eestimaa kubermang; เยอรมัน: Est(h)ländisches Gouvernement; รัสเซีย: Эстля́ндская губе́рнія, อักษรโรมัน: Estlyándskaya gubérniya) เป็นเขตผู้ว่าการ (Guberniya) ของจักรวรรดิรัสเซีย พื้นที่ของเขตผู้ว่าการเอสโตเนียในอดีตปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเอสโตเนีย โดยมีพรมแดนทางทิศใต้ติดกับเขตผู้ว่าการคูร์ลันด์ และทางทิศตะวันออกติดกับเขตผู้ว่าการเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก

เขตผู้ว่าการเอสโตเนีย
Est(h)ländisches Gouvernement
Эстля́ндская губе́рнія
Eestimaa kubermang
เขตผู้ว่าการของจักรวรรดิรัสเซีย
ค.ศ. 1721 – ค.ศ. 1917
Flag of เอสโตเนีย
ธง
Coat of arms of เอสโตเนีย
ตราอาร์ม

ที่ตั้งในจักรวรรดิรัสเซีย
เมืองหลวงเรวัล (ปัจจุบันคือทาลลินน์)
ประชากร 
412,716
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง (โดยพฤตินัย)
9 มิถุนายน ค.ศ. 1719
• ก่อตั้ง (โดยนิตินัย)
10 กันยายน ค.ศ. 1721
ค.ศ. 1796
• อนุญาตให้ปกครองตนเอง
12 เมษายน ค.ศ. 1917

เขตการปกครอง หรือ เครยเซ (Kreise) ของเขตผู้ว่าการเอสโตเนีย
หน่วยย่อยทางการเมือง5
ก่อนหน้า
ถัดไป
ดัชชี่เอสโตเนีย (ค.ศ. 1561–1721)
เขตผู้ว่าการปกครองตนเองเอสโตเนีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเอสโตเนีย
เขตผู้ว่าการคูร์ลันด์, เขตผู้ว่าการลิโวเนีย, เขตผู้ว่าการเอสโตเนีย ของจักรวรรดิรัสเซีย

เขตผู้ว่าการถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียจากสวีเดนในช่วงมหาสงครามเหนือ ใน ค.ศ. 1721[2][3] โดยที่จักรพรรดิรัสเซียเป็นดยุกแห่งเอสโตเนีย (รัสเซีย: Князь Эстляндскій, Knyaz' Estlyandskii) ในสมัยของจักรวรรดิรัสเซียหรืออีกชื่อคือ เจ้าชายแห่งเอสโตเนีย[4]

จนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขตผู้ว่าการไม่เคยถูกจักรวรรดิรัสเซียปกครองเต็ม แต่เป็นการปกครองแบบกึ่งอิสระโดยกลุ่มชาวบอลติกเยอรมันภายใต้สภาประจำภูมิภาค (เยอรมัน: Landtag)[5]

ประวัติศาสตร์

แก้

เขตผู้ว่าการเอสโตเนีย แต่เดิมนั้นมีชื่อว่า เขตผู้ว่าการเรวัล ตามชื่อนครเรวัล (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อทาลลินน์) เขตผู้ว่าการมีต้นกำเนิดมาจาก ค.ศ. 1719 มาจากดินแดนที่รัสเซียนั้นยึดครองมาจากสวีเดนในมหาสงครามเหนือ ค.ศ. 1700–1721 สวีเดนยกอำนาจการปกครองในอดีตของเอสโตเนียของสวีเดน ให้แก่รัสเซียอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญานีสตาด ใน ค.ศ. 1721 ในระหว่างที่มีการจัดระเบียบการบริหารใหม่ในภายหลัง ใน ค.ศ. 1796 เขตผู้ว่าการเรวัลถูกเปลื่ยนชื่อเป็นเขตผู้ว่าการเอสโตเนีย ในขณะที่การปกครองของพระมหากษัตริย์สวีเดนนั้นค่อนข้างเสรี และมีความอิสระมากขึ้นสำหรับชาวนา ระบอบการปกครองภายใต้ซาร์รัสเซียถูกทำให้รัดกุม และระบบทาสนั้นก็ไม่ได้ถูกยกเลิกจนกระทั่ง ค.ศ. 1819[ต้องการอ้างอิง]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตผู้ว่าการเอสโตเนียแบ่งเขตการปกครองทั้งหมด 4 เขต (รัสเซีย: อูเยียซด์ (уѣздъ); เยอรมัน: Kreis)[6]

อ้างอิง

แก้
  1. The Baltic States from 1914 to 1923 By LtCol Andrew Parrott เก็บถาวร 19 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Juan Pan-Montojo; Frederik Pedersen, บ.ก. (2007). Communities in European History: Representations, Jurisdictions, Conflicts. Edizioni Plus. p. 227. ISBN 9788884924629.
  3. Bojtár, Endre (1999). Foreword to the Past. Central European University Press. ISBN 978-963-9116-42-9.
  4. Ferro, Marc; Brian Pearce (1995). Nicholas II. Oxford University Press US. ISBN 978-0-19-509382-7.
  5. Smith, David James (2005). The Baltic States and Their Region. Rodopi. ISBN 978-90-420-1666-8.
  6. "ru:Эстляндская губерния" (ภาษารัสเซีย). Руниверс. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.

หนังสือเพิ่มเติม

แก้