เขตกูจิง (อังกฤษ: Kuching Division) เป็นหนึ่งใน 12 เขตของรัฐซาราวัก, ประเทศมาเลเซีย โดยก่อนหน้านี้ เขตกูจิงใช้ชื่อเรียกว่า เขตที่ 1 เนื่องจากเป็นเขตที่เป็นศูนย์กลางการปกครองและมีความก้าวหน้าทันสมัยมากที่สุดในซาราวัก ปัจจุบันเขตกูจิงมีพื้นที่ประมาณ 4,559.5 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 705,546 คน ซึ่งถือเป็นเขตที่มีประชากรมากและหนาแน่นมากที่สุดในรัฐซาราวัก

กูจิง
โลโกอย่างเป็นทางการของกูจิง
เขตในซาราวัก
ที่ตั้งของกูจิง
ที่ตั้งฝ่ายบริหารกูจิง
การปกครองแบ่งเป็น 5 พื้นที่ คือ
  • กูจิงใต้: สภานายกเทศมนตรี (Kuching South City Council; MBKS)
  • กูจิงเหนือ: สภากรรมาธิการผู้จัดการ (Commission of the City of Kuching North; DBKU)
  • อำเภอบาอู: สภาอำเภอบาอู (Bau District Council; MDB)
  • อำเภอลันดู: สภาอำเภอลันดู (Lundu District Council; MDL)
  • พื้นที่ส่วนที่เหลือ: สภาเทศบาลปาดาวัน (Padawan Municipal Council; MPP)
พื้นที่
 • ทั้งหมด4,559.5 ตร.กม. (1,760.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2010)
 • ทั้งหมด705,546 คน
 • ความหนาแน่น150 คน/ตร.กม. (400 คน/ตร.ไมล์)
Residentอับดุล ราห์มาน เซอบลี บิน เซอนูซี
ป้ายทะเบียนพาหนะQA และ QK (พาหนะทั้งหมดยกเว้นแท็กซี)
HQ (เฉพาะแท็กซี)
รหัสโทรศัพท์+6082 (เฉพาะโทรศัพท์บ้าน)
กลุ่มชาติพันธ์ุจีน (33.9%), มาเลย์ (33.4%), บีดายูห์ (17.8%), อื่นๆ (14.9%)
การแบ่งเขตปกครองระดับอำเภอ (District) และตำบล (Sub-district) ภายในเขตกูจิง

เขตกูจิง แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 อำเภอ (District) ได้แก่ อำเภอกูจิง อำเภอบาอู และอำเภอลันดู, และระดับตำบล (Sub-district) อีก 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลปาดาวัน และตำบลเซอมาตาน

ประชากร แก้

ประชากรของเขตกูจิงจากการประเมินในปี ค.ศ. 2010 มีประมาณ 705,546 คน ซึ่งถือเป็นเขตที่มีประชากรมากและหนาแน่นที่สุดในรัฐซาราวัก โดยประชากรส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ในอำเภอกูจิง

กลุ่มชาติพันธ์ุ แก้

เขตกูจิงถือเป็นเขตที่มีประชากรที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์สูง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของกลุ่มชาติพันธ์ุต่าง ๆ ในเขตกูจิงนั้นจะมีความแตกต่างจากเขตอื่นที่เหลือในรัฐซาราวัก โดยชาติพันธุ์มาเลย์และจีนจะถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในเขตนี้ ในขณะที่เขตอื่นในซาราวักนั้นกลุ่มชาติพันธ์ุหลักจะเป็นชาวอีบันและชาวจีน ส่วนชาติพันธ์ุในเขตกูจิงที่มีจำนวนรองลงมาจากสองกลุ่มหลักข้างต้น คือ ชาวบีดายูห์ ทั้งนี้ ชาวจีนส่วนใหญ่ที่อยู่ในเขตกูจิงนั้นเป็น ชาวจีนฮากกา และฮกเกี้ยน มีชาวจีนฝูโจวและ แต้จิ๋วบ้างเป็นบางส่วน ซึ่งโดยส่วนมากจะตั่งถิ่นฐานอยู่ในเขตนครกูจิงและแถบชานเมือง

เขตกูจิงเป็นเขตที่มีชาวมาเลย์จำนวนมากที่สุดในรัฐซาราวัก โดยชาวซาราวักเชื้อสายมาเลย์เกือบทั้งหมดในรัฐล้วนมีเชื้อสายมาจากชาวมาเลย์ในเขตกูจิงที่อพยพย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ในเขต ยกเว้นในเขตตำบลปาดาวัน นอกจากนี้ เขตกูจิงยังเป็นบ้านของชุมชนชาวบีดายูห์ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียตะวันออก เช่นเดียวกันกับชาวซาราวักเชื้อสายมาเลย์ ชาวบีดายูห์ส่วนใหญ่ในรัฐซาราวักล้วนสืบเชื้อสายมาจากชาวบีดายูห์ในเขตกูจิง ทั้งนี้ชาติพันธ์ุบีดายูห์นั้นเป็นชาติพันธุ์หลักในเขตอำเภอบาอูของเขตกูจิง นอกจากนี้ เขตกูจิงยังมีกลุ่มชาติพันธุ์รองอื่นอีก 2 กลุ่ม คือ ชาวอีบัน (Iban) และ ชาวเมลาเนียว (Melanau) ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นเพถิ่นกำเนิดเดิมอยู่นอกเขตกูจิง ทั้งนี้ ชาวอีบันกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตกูจิงนั้นจะอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านซีอลกานดิส (Kampung Siol Kandis), เปตราจายา (Petra Jaya) และเมืองกูจิง ส่วนชาวเมลาเนียวที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานนั้นจะถูกหลอมรวมและกลืนไปกับชาวมาเลย์เนื่องจากนับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกัน โดยบางส่วนนั้นไม่มีการใช้ภาษาเมลาเนียวในชีวิตประจำวันแล้วเนื่องจากถูกกลืนอัตลักษณ์จนเหมือนกลายเป็นชาวมาเลย์

สถิติกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกูจิง[1]
อำเภอ ประชากรรวม มาเลย์ อีบัน บีดายูห์ เมลาเนียว ภูมิบุตรอื่น ๆ จีน กลุ่มอื่นๆที่ไม่ใช่ภูมิบุตร ไม่มีสถานะพลเมือง
กูจิง 617,887
(87.6%)
220,333
(35.7%)
67,367
(10.9%)
76,403
(12.4%)
3,932
(0.6%)
8,473
(1.4%)
225,998
(36.6%)
5,295
(0.8%)
10,050
(1.6%)
บาอู 54,046
(7.7%)
4,187
(7.6%)
1,402
(2.6%)
37,328
(69.0%)
91
(0.2%)
380
(0.7%)
9,443
(17.4%)
221
(0.4%)
1,194
(2.1%)
ลันดู 33,413
(4.7%)
11,467
(34.3%)
4,438
(13.3%)
12,034
(36.0%)
81
(0.2%)
228
(0.7%)
3,650
(10.9%)
135
(0.4%)
1,380
(4.1%)
รวมทั้งเขต 705,546
(100.0%)
235,987
(33.4%)
73,207
(10.4%)
125,765
(17.8%)
4,104
(0.6%)
9,081
(1.3%)
239,091
(33.9%)
5,687
(0.8%)
12,624
(1.8%)

เศรษฐกิจ แก้

เขตกูจิงเป็นที่ตั้งของนครกูจิงเมืองหลวงของรัฐซาราวัก ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจ, การค้าขาย, อุตสาหกรรม, ภาคบริการ, การศึกษา, รวมไปถึงการท่องเที่ยวของรัฐซาราวัก กูจิงจึงเป็นเมืองที่ใช้กำลังของประชากรภายในเมืองเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากกว่าที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมายในเขตนี้

การเมืองการปกครอง แก้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

เขตปกครองภายในเขตกูจิง (เรียงลำดับตามพื้นที่)[2]
ชื่อเขต
พื้นที่เขต
กูจิง
4,565.53 km2
ชื่ออำเภอ
พื้นที่อำเภอ
กูจิง
1,868.83 กม.2
บาอู
884.4 กม.2
ลันดู
1,812.3 กม.2
ชื่อตำบล
พื้นที่ตำบล
ตำบลกูจิง
895.09 กม.2
ซีบูราน
447.55 กม.2
ปาดาวัน
526.19 กม.2
ลันดู
1,369.84 กม.2
เซอมาตาน
442.5 กม.2
ศูนย์กลางการบริหาร
นิคม
กูจิง
นคร
ซีบูราน
ชุมชน
เติงบูกาพ
หมู่บ้าน
บาอู
ชุมชน
ลันดู
ชุมชน
เซอมาตาน
ชุมชน
หน่วยงานปกครองของพื้นที่
(บางหน่วยงานมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมหลายตำบล)
MBKS DBKU MPP MPP MDB MDL
หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น
ตำแหน่งผู้บริหาร
สภานายกเทศมนตรี
เมืองกูจิงใต้

ผู้ว่าราชการ
สภากรรมาธิการผู้จัดการ
เมืองกูจิงเหนือ

กรรมาธิการ
สภาเทศบาลปาดาวัน
ประธาน
สภาอำเภอบาอู
ประธาน
สภาอำเภอลันดู
ประธาน
พื้นที่ภายใต้การดูแล 61.53 กม.2 369.48 กม.2 1,431.82 กม.2
พื้นที่นี้เรียกกันอีกในชื่อ เทศบาลปาดาวัน
884.4 กม.2 1,812.3 กม.2
ที่ตั้งหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น
นิคม
กูจิง
นคร
โกตาปาดาวัน
ชุมชน
บาอู
ชุมชน
ลันดู
ชุมชน

การคมนาคนขนส่ง แก้

โครงสร้างพื้นฐาน แก้

กีฬาและเกม แก้

การศึกษา แก้

การสาธารณสุข แก้

ระบบความปลอดภัย แก้

การบริการภาครัฐ แก้

ดูเพิ่ม แก้


อ้างอิง แก้

  1. Population And Housing Census Malaysia 2010 เก็บถาวร 2014-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from Taburan Penduduk dan Ciri-ciri Asas Demografi.
  2. "Kuching Resident Office: Kuching Profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้