โกโซ (อังกฤษ: Gozo) หรือ อาวเด็ช (มอลตา: Għawdex) ซึ่งในสมัยโบราณเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เกาโลส (กรีกโบราณ: Γαῦλος; พิวนิก: 𐤂‬𐤅‬𐤋)[2] เป็นเกาะหนึ่งของประเทศมอลตา โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะมอลตาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มเกาะรองจากเกาะมอลตา[3]

เกาะโกโซ
ชื่อท้องถิ่น:
เกาะอาวเด็ช
สมญา: เกาะสามเนิน, เกาะคาลิปโซ
ภาพถ่ายทางอากาศเกาะโกโซและเกาะโกมีโน
แผนที่กลุ่มเกาะมอลตาเน้นเกาะโกโซ
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
พิกัด36°03′N 14°15′E / 36.050°N 14.250°E / 36.050; 14.250
กลุ่มเกาะกลุ่มเกาะมอลตา
พื้นที่67 ตารางกิโลเมตร (26 ตารางไมล์)
ความยาว13.34 กม. (8.289 ไมล์)
ความกว้าง7.15 กม. (4.443 ไมล์)
การปกครอง
เมืองใหญ่สุดอีร์ราบัต (ประชากร 7,242[1] คน)
ประชากรศาสตร์
ประชากร39,287 คน (รวมในเกาะโกมีโน)[1] (21 พฤศจิกายน 2564)
ความหนาแน่น557/กม.2 (1443/ตารางไมล์)
ภาษามอลตา (ประจำชาติ/ทางการ), อังกฤษ (ทางการ)
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวมอลตา
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา
 • ฤดูร้อน (ออมแสง)

ใน พ.ศ. 2564 เกาะโกโซมีประชากรประมาณ 39,000 คน (จากประชากรมอลตาทั้งหมด 519,562 คน)[1] บนเกาะอุดมไปด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เช่น หมู่วิหารจกันตียาซึ่งถือเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างตั้งพื้นอิสระที่เก่าแก่ที่สุดในโลก (ร่วมกับวิหารหินใหญ่แห่งอื่น ๆ ในมอลตา)[4]

เกาะโกโซมีลักษณะเป็นชนบทและได้รับการพัฒนาน้อยกว่าเกาะมอลตา เกาะนี้เป็นที่รู้จักจากเนินเขาที่มีทัศนียภาพงดงามซึ่งยังปรากฏบนตราอาร์มของภาคโกโซ[5] หน้าต่างสีฟ้าในซันเลาเร็นตส์ซึ่งเป็นซุ้มหินปูนธรรมชาติเคยเป็นลักษณะทางธรณีวิทยาที่โดดเด่นจนกระทั่งทลายลงเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560 เกาะนี้มีคุณลักษณะทางธรรมชาติที่โดดเด่นอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงทะเลในและหน้าต่างวีติลมีลาห์ บนเกาะมีหาดทรายไม่กี่แห่ง เช่น อ่าวรัมลาในอิชชาราและอินนาดูร์ รวมถึงสถานตากอากาศริมทะเลที่ได้รับความนิยมจากทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือมาร์ซัลฟอร์นและอิช-ชเล็นดี โกโซเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการดำน้ำชั้นนำและหนึ่งในศูนย์กีฬาทางน้ำในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน[6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Population". Census of Population and Housing 2021: Final Report: Population, Migration and Other Social Characteristics (PDF). Vol. 1. Valletta: National Statistics Office. p. 19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-19. สืบค้นเมื่อ 2023-02-19.
  2. Huss (1985), p. 565.
  3.   "Gozo" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 12 (11 ed.). 1911. p. 305.
  4. "Ġgantija Temples". Heritage Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2015.
  5. "Coat of Arms of the Island Region of Gozo". VisitGozo.com. ตุลาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2015.
  6. "Where is Gozo?". Gozo & Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2013.