เกอร์ริลลาวอร์ (วิดีโอเกม)
เกอร์ริลลาวอร์ (อังกฤษ: Guerrilla War) ได้รับการเปิดตัวที่ประเทศญี่ปุ่นในชื่อ เกบารา (ゲバラ) เป็นวิดีโอเกมรันแอนด์กัน[1][2][3][4] ที่ได้รับการผลิตโดยบริษัทเอสเอ็นเค โดยได้รับการเปิดตัวครั้งแรกในระบบอาเขดเมื่อ ค.ศ. 1987 ในรูปแบบเกมตู้หยอดเหรียญ เกร์รียาวอร์ เป็นเรื่องราวการทำศึกของสองคอมมานโด ผู้เป็นกบฏนิรนาม (ในเวอร์ชันญี่ปุ่นใช้ชื่อเช เกบารา และฟิเดล กัสโตร) โดยพวกเขาได้บุกต่อสู้ในเกาะแคริบเบียนที่ไม่มีชื่อ เพื่อปลดแอกสู่อิสรภาพจากการปกครองของเผด็จการที่ไม่ได้ระบุชื่อ ซึ่งผู้เล่นทั้งสองได้เข้าปะทะกับขบวนทัพของศัตรูในขณะที่ได้มีการพยายามช่วยชีวิตของเหล่าตัวประกัน (ซึ่งจะมีการหักคะแนนครั้งใหญ่หากตัวประกันถูกฆ่าตายท่ามกลางการต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย) การเก็บรวบรวมอาวุธจากเหล่าทหาร และรถถังปฏิบัติการ
เกอร์ริลลาวอร์ | |
---|---|
ภาพปกเกมสำหรับเวอร์ชันนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ | |
ผู้พัฒนา | เอสเอ็นเค |
ผู้จัดจำหน่าย | เอสเอ็นเค |
ออกแบบ | เคนนี โอ ชาน และทาร์คัน |
เครื่องเล่น | อาร์เคด, อัมส์ตราดซีพีซี, คอมโมดอร์ 64, นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์, แซดเอ็กซ์สเปกตรัม, เพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์กแพลตฟอร์ม |
วางจำหน่าย | ค.ศ. 1987 |
แนว | รันแอนด์กัน |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, ร่วมมือกัน |
การตลาด
แก้สำหรับเวอร์ชันอาร์เขด ที่ได้รับการเปิดตัวโดยบริษัทเอสเอ็นเคใน ค.ศ. 1987 ตามรูปแบบที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสำหรับเกมยิงระบบอาเขดซึ่งเป็นเกมบุกเบิกที่สำคัญอย่างอิคาริวอริเออส์ (ค.ศ. 1986) โดยใช้จอยสติ๊กแบบหมุนแปดทิศทาง เกมให้ผู้เล่นสามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับจอยสติ๊กพร้อมกับการยิงโจมตีเหล่าศัตรู เกมนี้นับว่าประสบความสำเร็จพอสมควร และแปลงพอร์ตสู่วิดีโอเกมระบบบ้าน ใน ค.ศ. 1988 บริษัทเอสเอ็นเคได้เปิดตัวในระบบบ้านบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, อัมส์ตราดซีพีซี, คอมโมดอร์ 64 และแซดเอ็กซ์สเปกตรัม ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำบ้าน รวมถึงเครื่องเล่นเกมแฟมิคอม 8 บิต แต่ก็มีข้อจำกัดของแพลตฟอร์มประจำบ้าน ที่ไม่ได้มีจอยสติ๊กแบบหมุน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่เหมือนกับอิคาริวอริเออส์ รุ่นแฟมิคอมก็ได้แสดงให้เห็นว่ามีการปรับแต่งได้เป็นอย่างดีสำหรับระบบดังกล่าวและได้รับความนิยมมากกว่าเวอร์ชันอาเขด โดยรุ่นแฟมิคอมสามารถเล่นได้สองคนพร้อมกัน, ไม่จำกัดจำนวนคอนตินิว และภาพฉากแอ็คชันที่มีความเฉียบคมมากกว่ารุ่นอาเขดที่มีอยู่เดิม[5] ภาพกล่องบรรจุเกมยังมีความโดดเด่นโดยฝีมือของ มาร์ค อีริคเซน ผู้ซึ่งมีส่วนในการรับผิดชอบภาพปกประกอบเกมอิคาริวอริเออส์ III: เดอะเรสคิว และ พ.า.ว. ของบริษัทเอสเอ็นเค ซึ่งปัจจุบันยังคงหาได้ในระบบเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์กแพลตฟอร์ม
ส่วนเกี่ยวข้องกับเช เกบารา
แก้ตามชื่อเดิมที่บ่งบอก เกมจะอิงถึงการปฏิวัติของเช เกบารา และความพ่ายแพ้ของระบอบการปกครองแห่งบาติสตาในประเทศคิวบาช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 นอกจากนี้ ผู้เล่นคนที่สองยังเป็นฟิเดล กัสโตร โดยกัสโตรยังได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับห้าของหนึ่งในสิบสุดยอดนักการเมืองประจำนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันธ์ลี[6] แต่กระนั้น ความกลัวถึงการต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศตะวันตก ทางบริษัทได้จำกัดบทสนทนารวมถึงคู่มือการเล่นของเกมดังกล่าวสำหรับการเปิดตัวในทวีปอเมริกาและยุโรป ส่วนเวอร์ชันเกบารา ที่ได้รับการเปิดตัวในระบบแฟมิคอมที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้กลายเป็นที่ถวิลหาสำหรับนักสะสมเกมอย่างมาก
อ้างอิง
แก้- ↑ แม่แบบ:System16
- ↑ แม่แบบ:MAWS
- ↑ แม่แบบ:TAFA
- ↑ (อังกฤษ) Guerrilla War sur Games Database
- ↑ "Guerrilla War - Hardcore Gaming 101". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-30. สืบค้นเมื่อ 2014-07-16.
- ↑ Scott Sharkey, “EGM’s Top Ten Videogame Politicians: Election time puts us in a voting mood,” Electronic Gaming Monthly 234 (November 2008): 97.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Guerrilla War at Neo-Geo.com (review) 1
- C64 Guerrilla War
- แม่แบบ:WoS game