เกอร์ตี เทเรซา คอรี (เช็ก: Gerty Theresa Cori; นามสกุลเดิม: แรดนิตซ์ (Radnitz); 15 สิงหาคม ค.ศ. 189626 ตุลาคม ค.ศ. 1957) เป็นนักชีวเคมีชาวเช็ก/อเมริกัน เกิดที่เมืองปราก จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) เป็นบุตรสาวของออตโตและมาร์ธา แรดนิตซ์ เรียนที่โรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยชาลส์ ปราก ขณะเรียนอยู่ที่นั่น เกอร์ตีพบกับคาร์ล คอรี ทั้งคู่แต่งงานกันหลังเรียนจบในปี ค.ศ. 1920 และย้ายไปอยู่ที่เมืองเวียนนา โดยเกอร์ตีทำงานที่โรงพยาบาลเด็ก ส่วนคาร์ลทำงานที่ห้องปฏิบัติการ[1] สองปีต่อมา เกอร์ตีและคาร์ลย้ายไปที่สหรัฐอเมริกาและทำงานที่สถาบันมะเร็งรอสเวลล์พาร์กในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ทั้งคู่ร่วมกันศึกษากระบวนการเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตและค้นพบวัฏจักรคอรี[2] ซึ่งเป็นการสร้างแลคเตตจากกระบวนการไกลโคไลซิสแบบไม่ใช้ออกซิเจน ต่อมาในปี ค.ศ. 1931 เกอร์ตีและคาร์ลย้ายไปที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี คาร์ลได้รับตำแหน่งนักวิจัย ส่วนเกอร์ตีรับตำแหน่งผู้ร่วมวิจัยที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ทั้งคู่ค้นพบกลูโคส 1-ฟอสเฟตและอธิบายโครงสร้างของเอนไซม์ ฟอสโฟรีเลส ในปี ค.ศ. 1947 สามี-ภรรยาคอรีและเบอร์นาโด ฮูสเซย์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์[3] เกอร์ตีเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสตรีคนที่สามที่ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาวิทยาศาสตร์[4]

เกอร์ตี คอรี
เกอร์ตี คอรีในปี ค.ศ. 1947
เกิดเกอร์ตี เทเรซา แรดนิตซ์
15 สิงหาคม ค.ศ. 1896(1896-08-15)
ปราก จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต26 ตุลาคม ค.ศ. 1957(1957-10-26) (61 ปี)
เกลนเดล รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา
สัญชาติเช็ก/อเมริกัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยชาลส์-เฟอร์ดินานด์แห่งเยอรมนี
มีชื่อเสียงจากเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี

ในปี ค.ศ. 1953 เกอร์ตีได้รับเลือกเป็นภาคีสมาชิกสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกา[5] เกอร์ตีเสียชีวิตด้วยโรคเกี่ยวกับไขกระดูกในปี ค.ศ. 1957 ต่อมานามสกุลของเกอร์ตีได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อของแอ่งดวงจันทร์[6] และแอ่งดาวศุกร์[7]

อ้างอิง แก้

  1. Larner, Joseph (1992). "Gerty Theresa Cori". National Academy of Sciences. pp. 113, 124, 125. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  2. A to Z of Biologists by Lisa Yount
  3. The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1947
  4. "Facts on the Nobel Prize in Physiology or Medicine". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
  5. "Book of Members, 1780–2010: Chapter C" (PDF). American Academy of Arts and Sciences. สืบค้นเมื่อ July 29, 2014.
  6. "Gazetteer of Planetary Nomenclature". usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  7. "Cori House - Cori Crater - Extraterrestrial Locations on Waymarking.com". Waymarking.com. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้