เกลื้อน

โรคผิวหนังRokh p̄hiwh̄nạng

เกลื้อน (อังกฤษ: Tinea versicolor) เป็นอาการทางผิวหนังที่ประกอบด้วยการเกิดรอยบนผิวหนังของลำตัวและปลายแขนขา[1] ต้นเหตุส่วนใหญ่ของเกลื้อนเกิดจากฟังไจ Malassezia globosa ส่วน Malassezia furfur มีในบางกรณี[2][3] ยีสต์ทั้งสองตัวนี้สามารถพบได้ทั่วไปบนผิวหนังและจะเกิดปัญหาในเฉพาะบางกรณีเท่านั้น เช่นในสภาพแวดล้อมที่ร้อนชื้นและอับ อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดการโตของราเหล่านี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจประจักษ์มากนัก[2][4]

เกลื้อน
Tinea versicolor
ชื่ออื่นDermatomycosis furfuracea,[1] pityriasis versicolor,[1] tinea flava,[1] lota
สาขาวิชาตจวิทยา

มีการระบุอาการของเกลื้อนเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1846[5] ชื่อภาษาอังกฤษของเกลื้อนประกอบขึ้นมาจากคำว่า Versicolor ซึ่งมาจาก ละติน: versāre แปลว่าการเปลี่ยน (turn) + สี (color)[6] ในภูมิภาคเอเชียใต้นิยมเรียกชื่อโรคนี้ว่าโรคปีเตอร์ อีแลม (Peter Elam's disease)[7]

อาการและอาการแสดง แก้

 
เกลื้อนโดยปรกติทำให้เกิดผิวสีจางลงในคนที่มีโทนสีผิวเข้ม

อาการแสดงของโรครวมถึง:

ผิวหนังเกิดเกล็ดเป็นครั้งคราวโดยลักษณะเป็นเกล็ดตื้น ๆ คล้ายเถ้า สีผิวซีด, สีแทนเข้ม หรือสีชมพู โดยมีโทนสีรองเป็นสีแดงที่อาจเข้มขึ้นเมื่อผู้ป่วยรู้สึกร้อนเกินไป เช่น ในการอาบน้ำอุ่นหรือระหว่าง/หลังการออกกำลังกาย โดยทั่วไปแล้วการตากแดดจนเกรียมจะทำให้บริเวณที่มีรอยโรคคมชัดมากขึ้นมากกว่าผิวรอบข้าง[8] ขอบของบริเวณรอยโรคมีความคม[9] เกลื้อนพบได้บ่อยในสภาพอากาศร้อนชื้นหรือในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ดังนั้นอาจเกิดขึ้นซ้ำทุกปีในฤดูร้อน[9]

มักจะมองเห็นยีสต์ภายในแผลได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และมักจะมีลักษณะที่เรียกว่า "สปาเก็ตตีและมีตบอล"[10] เนื่องจากยีสต์มีทรงกลมและผลิตเส้นใย

ในคนที่มีโทนสีผิวเข้ม ปรกติจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีโดยเกิดการจางลง (ด่างขาว, hypopigmentation) ในขณะที่ผู้ที่มีสีผิวอ่อนการเปลี่ยนแปลงมีสีเข้มขึ้น (ด่างดำ, hyperpigmentation) จะพบได้บ่อยกว่า การเปลี่ยนสีเหล่านี้ทำให้เกิดคำว่า "เชื้อราแดด (sun fungus)"[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Rapini, Ronald P; Bolognia, Jean L.; Jorizzo, Joseph L (2007). Dermatology: 2-Volume Set. St Louis: Mosby. pp. Chapter 76. ISBN 1-4160-2999-0.
  2. 2.0 2.1 Morishita N; Sei Y. (December 2006). "Microreview of pityriasis versicolor and Malassezia species". Mycopathologia. 162 (6): 373–76. doi:10.1007/s11046-006-0081-2.
  3. Prohic A; Ozegovic L. (January 2007). "Malassezia species isolated from lesional and non-lesional skin in patients with pityriasis versicolor". Mycoses. 50 (1): 58–63. doi:10.1111/j.1439-0507.2006.01310.x. PMID 17302750.
  4. Weedon, D. (2002). Skin pathology (2nd ed.). Churchill Livingstone. ISBN 0-443-07069-5.
  5. Inamadar AC, Palit A (2003). "The genus Malassezia and human disease". Indian J Dermatol Venereol Leprol. 69 (4): 265–70. PMID 17642908.
  6. "versicolor". Collins English Dictionary — Complete & Unabridged 10th Edition. HarperCollins Publishers. สืบค้นเมื่อ March 2, 2013.
  7. Kaushik A, Pinto HP, Bhat RM, Sukumar D, Srinath MK (2014). "A study of the prevalence and precipitating factors of pruritus in pityriasis versicolor". Indian Dermatology Online Journal. 5 (2): 223–224. doi:10.4103/2229-5178.131141. PMC 4030364. PMID 24860771.
  8. "What to Avoid While Treating Tinea Versicolor". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-27. สืบค้นเมื่อ 2013-01-05.
  9. 9.0 9.1 Pityriasis versicolor | DermNet New Zealand. Dermnetnz.org. Retrieved on 2016-10-14.
  10. "Adolescent Health Curriculum - Medical Problems - Dermatology - Papulosquamous Lesions (B4)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-28. สืบค้นเมื่อ 2008-12-10.
  11. "Tioconazole (Topical Route) - MayoClinic.com". สืบค้นเมื่อ 2008-12-10.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เกลื้อน


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก