อึ่งผี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Anura
วงศ์: Megophryidae
สกุล: Leptobrachium
สปีชีส์: L.  smithi
ชื่อทวินาม
Leptobrachium smithi
Matsui, Nabhitabhata, & Panha, 1999[2]

อึ่งผี หรือ อึ่งกรายลายเลอะ[3] หรือ อึ่งกรายหมอสมิธ (อังกฤษ: Smith's litter frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Leptobrachium smithi) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์อึ่งกราย (Megophryidae)

อาศัยอยู่บริเวณพื้นป่าและบริเวณใกล้ลำธารในป่าดิบแล้งถึงป่าดิบเขา มีลักษณะเด่นคือ ดวงตาด้านบนมีสีแดงหรือส้มเหลืองวาว ตาโปน หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ขาค่อนข้างสั้น ผิวหนังด้านหลังมีลายสีเข้มบนพื้นมีเทา ส่งเสียงร้องดังคล้ายเสียงเป็ดและไม่เกรงกลัวมนุษย์ ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นรู้สึกกลัว จึงเป็นที่มาของชื่อ "อึ่งผี" ส่วนคนท้องถิ่นเรียกชื่อตามเสียงร้องว่า "ย่าก๊าบ" แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่แนวป่าตะวันตกของประเทศไทยจนถึงแหลมมลายู ตั้งแต่ภาคใต้ของไทยลงไป และพบได้จนถึงเกาะลังกาวี ในประเทศมาเลเซีย [4]

อึ่งผีถูกพบครั้งแรกของโลกที่ต้นน้ำตกพลู บนเขาช่อง จังหวัดตรัง เมื่อปี ค.ศ. 1999 ถูกตั้งชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติแก่ มัลคอล์ม อาเธอร์ สมิธ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวอังกฤษที่เข้ามาศึกษาสัตว์ประเภทนี้ในประเทศไทยและคาบสมุทรมลายู[2] ปัจจุบันอึ่งผีได้ลดปริมาณลงมาก สาเหตุเนื่องจากคนท้องถิ่น นิยมบริโภคลูกอ๊อดที่ขายังไม่งอก เนื่องจากลูกอ๊อดของอึ่งผีมีขนาดใหญ่กว่าลูกอ๊อดทั่วไป[5]

อ้างอิง แก้

  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. 2.0 2.1 Matsui, Masafumi; Jarujin Nabhitabhata; Somsak Panha (1999). "On Leptobrachium from Thailand with a description of a new species (Anura: Pelobatidae)" (PDF). Japanese Journal of Herpetology. 18 (1): 19–29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2016-07-24.
  3. "สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ที่พบในจังหวัดสงขลา". sci.psu. สืบค้นเมื่อ July 24, 2016.[ลิงก์เสีย]
  4. ["Leptobrachium smithi (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 2012-10-28. Leptobrachium smithi (อังกฤษ)]
  5. อึ่งผี[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Leptobrachium smithi ที่วิกิสปีชีส์