อีดิลอัฎฮา
อีดิลอัฎฮา (อาหรับ: عيد الأضحى, อักษรโรมัน: ʿīd al-ʾaḍḥā, แปลตรงตัว 'เทศกาลเชือดพลี', สัทอักษรสากล: [ʕiːd alˈʔadˤħaː]) หรือ อีด กุรบ่าน (เปอร์เซีย: عيد قربان) ภาษามลายูปัตตานีเรียก ฮารีรายอฮัจยี และไทยมุสลิมภาคกลางเรียก วันอีดใหญ่ เป็นวันหยุดอิสลามอันที่สองที่ฉลองทั่วโลก (อีกอันคืออีดิลฟิตรี) เพื่อยกย่องอิบรอฮีมที่จะเชือดพลีลูกชายของท่าน เพื่อทำตามคำสั่งของอัลลอฮ์ แต่ก่อนที่อิบรอฮีมเชือดพลีลูกชายของตนเอง พระองค์ให้ท่านเชือดแกะแทน โดยจะถูกแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งให้คนจนและคนที่ต้องการ อีกส่วนให้เก็บที่บ้าน และส่วนที่สามเอาไปแจกให้กับญาติ ตามปฏิทินอิสลาม อีดิลอัฎฮา อยู่ในวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮ์ และมีระยะเวลาสามวัน
อีดิลอัฎฮา | |
---|---|
อาศิรพจน์ของอีดิลอัฎฮาในภาษาอาหรับ | |
ชื่อทางการ | عيد الأضحى |
จัดขึ้นโดย | มุสลิมกับดรูซ |
ประเภท | อิสลาม |
ความสำคัญ |
|
การถือปฏิบัติ | ละหมาดอีด, เชือดพลีสัตว์, บริจาค, รวมญาติ, กินเลี้ยง, ให้ของขวัญ |
เริ่ม | 10 ซุลฮิจญะฮ์ |
สิ้นสุด | 13 ซุลฮิจญะฮ์ |
วันที่ | 10 Dhu al-Hijjah |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ฮัจญ์; อีดิลฟิฏร์ |
ชื่ออื่น
แก้นี่คือตัวอย่างรายชื่อของอีดิลอัฎฮาในแต่ละภาษา:
- عیدالاضحیٰ (ทับศัพท์จากภาษาอาหรับ)[1] ถูกใช้ในภาษาอุรดู, ฮินดี, อัสสัม, เบงกอล, คุชราต และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนเช่น มาเลย์กับอินโดนีเซีย
- العيد الكبير หมายถึง "อีดใหญ่" ("อีดเล็ก" คืออีดิลฟิฏร์)[2] ถูกใช้ในประเทศเยเมน, ซีเรีย กับแอฟริกาเหนือ
- عید البقرة (อีดิลบะเกาะเราะฮ์) หมายถึง "เทศกาลวัว (และแกะหรือแพะ)" ถูกใช้ในประเทศอียิปต์, ซาอุดีอาระเบีย และตะวันออกกลาง ถึงแม้ว่าคำว่า بقرة แปลว่าวัว แต่สามารถขยายความเป็นปศุสัตว์ทั้งหมด โดยเฉพาะแกะหรือแพะ
- เทศกาลฮัจยี[3][4] ถูกใช้ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
- ซัลลาฮ์ใหญ่ (Big Sallah) ในประเทศไนจีเรีย ซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์กว่าอีดิลฟิฏร์ (ที่เรียกกันว่า "ซัลลาฮ์เล็ก" (Small Sallah)).[5]
ศัพทมูลวิทยา
แก้คำว่า عيد (อีด) หมายถึง 'เทศกาล', 'การฉลอง', 'วันฉลอง' หรือ 'วันหยุด' โดยเป็นรากสามอักษรว่า عيد ซึ่งหมายถึง "เพื่อกลับไป, ยกเลิก, สะสม, คุ้นเคย, นิสัย, ทำซ้ำ, ได้รับประสบการณ์; มอบมายเวลาหรือสถานที่, ครบรอบ, วันฉลอง"[6][7] อาเทอร์ เจฟเฟอรีโต้แย้งศัพทมูลวิทยานี้ และเชื่อว่าคำนี้ยืมมาจากภาษาซีรีแอก หรือภาษาตาร์คุม[8]
คำว่า أضحى (อัฎฮา) กับ قربان (กุรบาน) มีความหมายเดียวกันคือ 'เชือดพลี' (เชือดพลีสัตว์), 'เครื่องบูชา' หรือ 'เครื่องเซ่น' คำแรกมาจากรากสามอักษรว่า ضحى (เฎาะฮ์ฮา) ซึ่งหมายถึง "สังเวย ; ถวาย ; บูชายัญ ; ทำให้เป็นเหยื่อ"[9] ไม่มีการปรากฏของรากนี้ที่ใกล้เคียงกับการบูชายัญในอัลกุรอาน[6] แต่พบได้ในฮะดีษ อาเทอร์ เจฟเฟอรีพบว่าคำนี้มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาฮีบรูเหมือนกัน แต่เชื่อว่าคำนี้อาจนำเข้ามาจากภาษาแอราเมอิก[8] ซึ่งเทียบกับภาษาฮีบรูว่า โกรบาน קָרבן (qorbān).
ต้นกำเนิด
แก้หนึ่งในบททดสอบของอิบรอฮีมเพื่อทำตามคำสั่งของอัลลอฮ์คือเชือดพลีลูกชายที่รักของตนเอง[10] ในศาสนาอิสลาม อิบรอฮีมเก็บความฝันของตนเองที่เชือดอิสมาอีล อิบรอฮีมรู้ว่าเป็นคำสั่งจากอัลลอฮ์ และพูดเรื่องนี้กับลูกชายของท่าน ตามที่กุรอานกล่าวไว้ว่า "โอ้ลูกเอ๋ย ! แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า" อิสมาอีลกล่าวว่า " โอ้พ่อจ๋า! พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด" อิบรอฮีมจึงเตรียมของเพื่อเชือดลูกชายของตนเองด้วยความศรัทธาและเชื่อฟังของอัลลอฮ์[11] ในระหว่างที่เตรียมตัวนั้น ชัยฏอนพยายามล่อลวงอิบรอฮีมและครอบครัวของท่านโดยการขัดขวางเขาจากคำสั่งของอัลลอฮ์ และอิบรอฮีมขว้างก้อนกรวดใส่มัน เพื่อระลึกถึงการปฏิเสธชัยฏอน จึงมีการขว้างหินที่เสาหินในช่วงพิธีฮัจญ์[12]
เมื่อรู้ว่าอิบรอฮีมจะเชือดพลีในสิ่งที่ตนรักแล้ว อัลลอฮ์ทรงยกย่องทั้งอิบรอฮีมและอิสมาอีล ญิบรีลเรียกอิบรอฮีมว่า "โอ้ อิบรอฮีมเอ๋ย! “แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว" และส่งแกะตัวผู้จากสวรรค์มาเชือดแทนอิสมาอีล มุสลิมทั่วโลกฉลองอีดิลอัฎฮาเพื่อรำลึกถึงความจงรักภักดีของอิบรอฮีมและการรอดพ้นของอิสมาอีล[13][14][15]
เรื่องราวนี้เป็นที่รู้จักในศาสนายูดายว่าการมัดอิสอัคซึ่งพบในคัมภีร์โทราห์[16]หนังสือเล่มแรกของโมเสส (ปฐมกาล, ตอน 22) ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงการมัดอิสมาอีลไว้ว่า:[17]
100 "ข้าแต่พรเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงประทานบุตรที่มาจากหมู่คนดีให้แก่ข้าพระองค์ด้วย!"
101 ดังนั้น เราจึงแจ้งข่าวดีแก่เขา (ว่าจะได้) ลูกคนหนึ่ง ที่มีความอดทนขันติ (คือ อิสมาอีล)
102 ครั้นเมื่อเขา (อิสมาอีล) เติบโตขึ้นไปไหนมาไหนกับเขา (อิบรอฮีม) ได้แล้ว อิบรอฮีมได้กล่าวขึ้นว่า “โอ้ลูกเอ๋ย ! แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า จงคิดดูซิว่าเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไร? “ เขากล่าวว่า “โอ้พ่อจ๋า! พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ พ่อจะเห็นฉันว่า ฉันอยู่ในหมู่ผู้มีความอดทน”
103 ครั้นเมื่อทั้งสอง (พ่อและลูก) ได้ยอมมอบตน (แด่อัลลอฮฺ) อิบรอฮีมได้ให้อีสมาอีลคว่ำหน้าลงกับพื้น
104 และเราได้เรียกเขาว่า “โอ้ อิบรอฮีม” เอ๋ย!
105 “แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว” แท้จริง เช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย
106 แท้จริง นั่นคือ การทดสอบที่ชัดแจ้งแน่นอน
107 และเราได้ให้ค่าไถ่ตัวเขาด้วยสัตว์เชือดพลีอันใหญ่หลวง
108 และเราได้ปล่อยทิ้งไว้ (เกียรติคุณ) แก่เขาในกลุ่มชนรุ่นหลัง ๆ
109 "ศานติจงมีแต่อิบรอฮีม!"
110 เช่นนั้นแหละ เราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย
111 แท้จริง เขา (อิบรอฮีม) เป็นคนหนึ่งในปวงบ่าวของเราผู้ศรัทธา
112 เราได้แจ้งข่าวดีแก่เขาว่า จะได้ (ลูกคนหนึ่ง) อิสฮาก เป็นนะบี (จะเป็นหนึ่ง) ในหมู่คนดีทั้งหลาย
คำว่า "อีด" พบในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ ซึ่งหมายถึง "วันรื่นเริง"[19]
จุดประสงค์
แก้จุดประสงค์ของกุรบ่านหรือเชือดพลีไม่ได้เป็นการทำให้เลือดไหลเพื่อให้อัลลอฮ์พอใจ แต่เป็นการเชือดพลีสิ่งที่ผู้มีใจศรัทธารักมากที่สุด เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์[20] เป็นข้อบังคับที่จะต้องแบ่งเนื้อที่ผ่านการเชือดพลีไปเป็นสามส่วน - สำหรับครอบครัว, สำหรับญาติกับผองเพื่อน และสำหรับคนยากจน
ละหมาดอีด
แก้การละหมาดอีดจะเริ่มขึ้นตอนดวงอาทิตย์พ้นขอบฟ้าในวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮ์ ถ้ามี เหตุสุดวิสัย (เช่นภัยพิบัติธรรมชาติ) การละหมาดอาจจะเลี่อนไปเป็นวันที่ 11 และ 12 ซุลฮิจญะฮ์[21]
ในช่วงเวลาละหมาด จะมี 2 เราะกะอัต และ 7 ตักบีร ในเราะกะอัตแรกกับ 5 ตักบีรในเราะกะอัตที่สอง สำหรับชีอะฮ์แล้ว การละหมาดอีดจะไม่มีการ อะซาน หรือ อิกอมะฮ์[22][23] หลัง ละหมาด เสร็จแล้ว ก็ตามมาด้วยคุตบะฮ์โดยอิหม่าม
หลังละหมาดหรือเทศนาเสร็จแล้ว มุสลิมจะโอบกอดและกล่าวทักทายซึ่งกันและกัน (อีดมุบาร็อก) ให้ของขวัญ และเยี่ยมญาติ มุสลิมหลายคนใช้โอกาสนี้ในการเชิญชวนเพื่อน, เพื่อนบ้าน, เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนร่วมห้องในเทศกาลอีด เพื่อให้พวกเขารู้จักอิสลามและวัฒนธรรมมุสลิมได้ดีกว่าเดิม[24]
ธรรมเนียม
แก้ในช่วงอีดิลอัฎฮา จะมีการกล่าว ตักบีร อย่างเสียงดังก่อนละหมาดอีด และหลังละหมาดอีกสามวัน โดยถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากในเทศกาลอิสลาม[25] และจะกล่าว ตักบีร แบบนี้:[26]
الله أكبر الله أكبر الله أكبر |
อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร |
ชายหญิง และเด็ก ๆ จะใส่เสื้อที่ดูดีเพื่อไปละหมาดอีดกลุ่มในลานกว้างหรือมัสยิด มุสลิมที่มีฐานะมั่งคั่งพอที่จะซื้อสัตว์ที่ฮะลาลมาเชือดพลี (ส่วนใหญ่เป็นวัว และก็มีสัตว์ตัวอื่นขึ้นอยู่กับประเทศ เช่นอูฐ, แพะ หรือแกะ) เป็นสัญลักษณ์ของความเต็มใจของอิบรอฮีมในการเชือดลูกชายคนเดียวของตนเอง[27] การเชือดพลีสัตว์ เรียกว่า อัฎฮียะฮ์ (อาหรับ: أضحية) ที่มาจากคำภาษาอาหรับ-เปอร์เซียว่า กุรบานี ตัวสัตว์จะต้องมีอายุและคุณภาพตามมาตรฐาน ไม่เช่นนั้น การเชือดพลีจะไม่เป็นผล[28] ที่ประเทศปากีสถาน มีสัตว์ถูกเชือดเกือบ 10 ล้านตัวในวันอีด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมกว่า 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[29]
เนื้อจากการเชือดพลีจะถูกแบ่งเป็นสามส่วน โดยส่วนหนึ่งถูกแบ่งให้ครอบครัว อีกส่วนแบ่งให้ญาติ, เพื่อน และเพื่อนบ้าน และส่วนที่เหลือแบ่งให้กับคนจนและคนที่ต้องการ[27]
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Eid Al Adha (Sacrifice Feast of Muslims)". Prayer Times NYC. 8 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2017. สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
- ↑ Noakes, Greg (April–May 1992). "Issues in Islam, All About Eid". Washington Report on Middle East Affairs. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
- ↑ Bianchi, Robert R. (11 August 2004). Guests of God: Pilgrimage and Politics in the Islamic World. Oxford University Press. p. 398. ISBN 978-0-19-029107-5.
- ↑ Ramzy, Sheikh (2012). The Complete Guide to Islamic Prayer (Salāh) (ภาษาอังกฤษ). ISBN 978-1477215302.
- ↑ "Eid-el-Kabir All you need to know about Sallah – Pulse Nigeria".
- ↑ 6.0 6.1 Oxford Arabic Dictionary. Oxford: Oxford University Press. 2014. ISBN 978-0-19-958033-0.
- ↑ Badawi, Elsaid M.; Abdel Haleem, Muhammad (2008). Arabic–English Dictionary of Qur'anic Usage. Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-14948-9.
- ↑ 8.0 8.1 Jeffery, Arthur (2007). The Foreign Vocabulary of the Qur'ān. Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-15352-3.
- ↑ Team, Almaany. "Translation and Meaning of ضحى In English, English Arabic Dictionary of terms Page 1". almaany.com. สืบค้นเมื่อ 26 August 2019.
- ↑ Staff, Writer. "Abraham". Encyclopædia Britannica.
- ↑ Bate, John Drew (1884). An Examination of the Claims of Ishmael as Viewed by Muḥammadans. BiblioBazaar. p. 2. ISBN 978-1117148366.
Ishmael sacrifice.
- ↑ Firestone, Reuven (1990). Journeys in Holy Lands: The Evolution of the -Ishmael Legends in Islamic Exegesis. SUNY Press. p. 98. ISBN 978-0791403310.
- ↑ "The Significance of Hari Raya Aidiladha". muslim.sg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-14. สืบค้นเมื่อ 17 October 2019.
- ↑ Elias, Jamal J. (1999). Islam. Routledge. p. 75. ISBN 978-0-415-21165-9. สืบค้นเมื่อ 24 October 2012.
- ↑ Muslim Information Service of Australia. "Eid al – Adha Festival of Sacrifice". Missionislam.com. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
- ↑ Stephan Huller, Stephan (2011). The Real Messiah: The Throne of St. Mark and the True Origins of Christianity. Watkins; Reprint edition. ISBN 978-1907486647.
- ↑ Fasching, Darrell J.; deChant, Dell (2011). Comparative Religious Ethics: A Narrative Approach to Global Ethics. Wiley-Blackwell. ISBN 978-1444331332.
- ↑ อัลกุรอาน 37:100–112 แปลโดยอับดุลละฮ์ ยูซุฟ อาลี
- ↑ อัลกุรอาน 5:114. "อีซาบุตรของมัรยัม ได้กล่าวว่า: ‘ข้าแต่อัลลอฮ์! ผู้เป้นพระเจ้าของข้าพระองค์! โปรดได้ทรงประทานลงมาแก่พวกข้าพระองค์ ซึ่งสำรับอาหารจากฟากฟ้าด้วยเถิด จะได้เป็นวันรื่นเริงแก่พวกข้าพระองค์ ทั้งแก่คนแรกของพวกข้าพระองค์และแก่คนสุดท้ายของพวกข้าพระองค์ และจะได้เป็นสัญญาณหนึ่ง จากพระองค์ และโปรดได้ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด และพระองค์นั้น คือผู้ที่ดีเยี่ยมในหมู่ผู้ประทานปัจจัยยังชีพทั้งหลาย’"
- ↑ "Why do Muslims sacrifice animals on Eid-al-Adha or Baqreid". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-03.
- ↑ 21.0 21.1 H. X. Lee, Jonathan (2015). Asian American Religious Cultures [2 volumes]. ABC-CLIO. p. 357. ISBN 978-1598843309.
- ↑ "Sunnah during Eid ul Adha according to Authentic Hadith". 13 November 2010. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011 – โดยทาง Scribd.
- ↑ حجم الحروف – Islamic Laws : Rules of Namaz » Adhan and Iqamah. Retrieved 10 August 2014
- ↑ "The Significance of Eid". Isna.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
- ↑ McKernan, Bethan (29 August 2017). "Eid al-Adha 2017: When is it? Everything you need to know about the Muslim holiday". .independent.
- ↑ "Eid Takbeers – Takbir of Id". Islamawareness.net. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
- ↑ 27.0 27.1 Buğra Ekinci, Ekrem. "Qurban Bayram: How do Muslims celebrate a holy feast?". dailysabah.
- ↑ Cussen, V.; Garces, L. (2008). Long Distance Transport and Welfare of Farm Animals. CABI. p. 35. ISBN 978-1845934033.
- ↑ "Bakra Eid: The cost of sacrifice". Asian Correspondent. 16 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-28. สืบค้นเมื่อ 28 December 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Muttaqi, Shahid ‘Ali. "The Sacrifice of "Eid al-Adha"".