อิกอมะฮ์ หรือ อิกอมัต (อาหรับ: إِقَامَة) เป็นการเรียกละหมาดครั้งที่สอง ซึ่งจะกล่าวก่อนละหมาดทันที[1] โดยทั่วไป เมื่อเทียบกับอะซานแล้ว อิกอมะฮ์มักอ่านเร็วและมีการซ้ำมากกว่า เพราะเป็นการกล่าวถึงคนที่อยู่ในมัสยิด มากกว่าเตือนคนที่อยู่ด้านนอกให้เข้ามัสยิด[2]

ข้อความ แก้

รายละเอียดของคำนั้นว่าอ่านกี่ครั้ง
บทอ่าน ภาษาอาหรับ
ภาษาอาหรับคลาสสิก
คำอ่าน แปล
แบบซุนนี แบบชีอะฮ์
2x 2x ٱللَّٰهُ أَكْبَرُ ʾAllāhu ʾakbaru อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร [เหนือสิ่งอื่นใด]
1x 2x أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَٰهَ إِلَّا ٱللَّٰهُ ʾašhadu ʾan lā ʾilāha ʾillā -llāhu ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์
1x 2x أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ ٱللَّٰهِ ʾašhadu ʾanna Muḥammadan rasūlu -llāhi ฉันขอปฏิญาณว่า มุฮัมมัดเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์
ไม่มี 2x[a] أَشْهَدُ أَنَّ عَلِيًّا وَلِيُّ ٱللَّٰهِ ʾašhadu ʾanna ʿAlīyan walīyu -llāhi ฉันขอปฏิญาณว่า อะลีเป็นวะลีของอัลลอฮ์
1x 2x حَيَّ عَلَىٰ ٱلصَّلَاةِ
حَيَّ عَلَىٰ ٱلصَّلَوٰةِ
ḥayya ʿalā ṣ-ṣalāhti ท่านทั้งหลาย จงมาละหมาดเถิด
1x 2x حَيَّ عَلَىٰ ٱلْفَلَاحِ
حَيَّ عَلَىٰ ٱلْفَلَٰحِ
ḥayya ʿalā l-falāḥi ท่านทั้งหลาย จงมาสู่ชัยชนะเถิด
ไม่มี 2x حَيَّ عَلَىٰ خَيْرِ ٱلْعَمَلِ ḥayya ʿalā khayri l-ʿamali ท่านทั้งหลาย จงมาสู่การงานที่ดีเถิด
2x 2x قَدْ قَامَتِ ٱلصَّلَاةُ
قَدْ قَامَتِ ٱلصَّلَوٰةُ
qad qāmati ṣ-ṣalāhtu การละหมาดกำลังจะเริ่ม
2x 2x ٱللَّٰهُ أَكْبَرُ ʾAllāhu ʾakbaru อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร [เหนือสิ่งอื่นใด]
1x 1x لَا إِلَٰهَ إِلَّا ٱللَّٰهُ lā ʾilāha ʾillā -llāhu ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์
  1. รายงานจากนักวิชาการชีอะฮ์สิบสองอิมามกลุ่มอุศูลี ประโยคนั้นไม่จำเป็นต้องกล่าวในอะซานกับอิกอมะฮ์ แต่แนะนำให้อ่าน (มุสตะฮับบ์) อย่างไรก็ตาม ชีอะฮ์สิบสองอิมามกลุ่มอิคบารี ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในอะซานกับอิกอมะฮ์[3] ฟาฏิมียะฮ์, อิสมาอีลียะฮ์, อะละวีโบะฮ์ราส และดะวูดีโบะฮ์ราสเชื่อ รวมและอ่านเหมือนกัน โดยอ่านในอะซานสองครั้ง แต่ไม่อ่านในอิกอมะฮ์ พวกเขาได้เพิ่มคำว่า Muḥammadun wa ʿAlīyun khayru l-basar wa itaratu huma khayru l-itar (มุฮัมมัดและอะลีเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดและลูกหลานของพวกท่านคือลูกหลานที่ดีที่สุด) สองครั้งหลังท่อนที่ 6 (Ḥayya ʿala-khayri l-ʿamal) ธรรมเนียมนี้ทำตามมาตั้งแต่ซุอัยบ์ อิบน์ มูซา (ค.ศ. 1132) ดาอิลมุฏลักคนแรก หลังจากอัฏฏ็อยยิบ อบูกอซิม อิหม่ามคนที่ 21 และอ้างว่าเป็นธรรมเนียมฟาฏิมียะฮ์ที่แท้จริง[4][5][6]

ตรงกันข้ามกับสำนักอื่นในศาสนาอิสลามทั้งหมด สำนักฮะนะฟีกับชีอะฮ์กล่าวอะซานและอิกอมะฮ์เหมือนกัน[1][7] อย่างไรก็ตาม สำนักของซุนนีสามารถอ่านได้ทั้งสองแบบ ตามหลักฐานจากฮะดีษ[1][2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Th.W., Juynboll. "Iḳāma" (ภาษาอังกฤษ). {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) Encyclopaedia of Islam, 2nd Edition Online. Edited by P. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel, W.P. Heinrichs
  2. "How the iqaamah is done". Islam QA. Shaykh Muhammad Saalih al-Munajjid. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
  3. "Akhbari". Akhbari. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
  4. Islamic Laws : Rules of Namaz » Adhan and Iqamah เก็บถาวร กันยายน 14, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Importance and Conditions of Prayers - Question #466 เก็บถาวร กรกฎาคม 8, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "Adhan Call to Prayer". duas.org. Retrieved on 25 August 2016.
  7. Howard, IKA, “The development of the “adhan” and “iqama” of the salat” in early Islam.” Journal of Semitic Studies (Manchester University Press) 26 (1981), p. 227.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้