อาโป้ง มาจากภาษามลายูถิ่นคำว่า อาปม (Apom), อาปง Apong, อาปัมมานิซ (มลายู: Apam manis อักษรยาวี: اڤم مانيس) เป็นที่รู้จักในฐานะอาหารพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต ได้รับอิทธิพลจากประเทศมาเลเซีย โดยมีแป้งข้าวเจ้าหมักและกะทิเป็นผสมหลัก มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียใต้ พบได้ทั่วไปในรัฐเกรละ และรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกา[1][2] ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศมาเลเซีย[3] นิยมรับประทานในมื้อเช้าหรือมื้อเย็น

อาโป้ง
อาโป้ง
ชื่ออื่นทมิฬ: ஆப்பம், อักษรโรมัน: Āppam
มลายู: Apom, Apong
จีน: 阿榜糕; เป่อ่วยยี: A pńg ko (ฮกเกี้ยน)
มื้ออาหารว่าง:ขนม
แหล่งกำเนิดประเทศมาเลเซีย
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักแป้งข้าวเจ้า:กะทิ

ที่มา

แก้
 
อาโป้งในปีนัง

คำว่า อาโป้ง ที่ชาวภูเก็ตใช้เรียกชื่อขนม มีที่มาจากภาษามลายู Apom หรือ Apong โดยภาษามลายูรับมาจากภาษาทมิฬ: ஆப்பம் (Āppam) ผ่านชาวอินเดียที่อพยพมาใช้แรงงานในคาบสมุทรมลายูในอดีต เดิมที่อาโป้งในแบบฉบับดังเดิมของอินเดียเป็นอาหารคาว มีส่วนผสมของนมข้าวและกะทิผสมกัน ทิ้งให้ยีสต์ขึ้นแล้วจึงนำไปใส่หลุมกระทะ รับประทานคู่กับแกงกะหรี่ เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมทานเป็นมื้อเช้าอย่างมากในอินเดียใต้ เมื่อขนมชนิดนี้ได้ถูกเผยแพร่มาสู่คาบสมุทรมลายู ได้มีการปรับเปลี่ยนรสชาติให้ถูกปากคนท้องถิ่นได้การผสมน้ำตาลลงไป ทำให้อาโป้งกลายเป็นขนมหวานที่นิยมรับประทานในภาคใต้ของประเทศไทย, ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์[4]

อ้างอิง

แก้
  1. K.T. Achaya (1997). Indian Food: A Historical Companion. Oxford University Press. ISBN 0195644166.
  2. "12 Sri Lanka foods visitors have to try". CNN.
  3. "炭燒紅了‧Apong烘香了". 光明日報 Guang Ming Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24.
  4. 林金城 (2009-11-03). "玻璃池滑Apom Manis". 知食份子.