อาร์เอส ฟิล์มเวิร์คส์ (อังกฤษ: RS Filmworks; ชื่อเดิม: อาร์ เอส.ฟิล์ม แอนด์ ดิสทริบิวชั่น หรือ อาร์.เอส.ฟิล์ม) เป็นบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ไทย และเป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ ในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

ประวัติ

แก้

พ.ศ. 2534 บริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น จำกัด (1992) เริ่มดำเนินธุรกิจภาพยนตร์ โดยมีเป้าหมายคือ การขยายรูปแบบความบันเทิง จากธุรกิจหลักคือธุรกิจเพลง ไปสู่งานด้านภาพยนตร์ เพื่อเสริมโครงสร้างทางธุรกิจ (Business Model) ของทางบริษัทฯ ให้เป็นบริษัทบันเทิงครบวงจร โดยส่ง ภาพยนตร์เรื่องแรก รองต๊ะแล่บแปล๊บ ผลงานเรื่องแรกในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ของ ปรัชญา ปิ่นแก้ว เข้าฉายในปี 2535

พ.ศ. 2537 ได้มีการเปิดตัว บริษัท อาร์.เอส.ฟิล์ม ขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อก้าวเข้าสู่ธุรกิจภาพยนตร์อย่างเต็มรูปแบบ โดยอยู่ในการดูแลของ อังเคิล ส่งภาพยนตร์เรื่องแรก โลกทั้งใบให้นายคนเดียว เข้าฉายในปี 2538 ได้รับความสำเร็จเกินความคาดหมายทำรายได้จากการฉาย 2 รอบไปถึง 60 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในยุคนั้น จนทำให้มีการส่งภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ เข้าฉายอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2538 - 2542 อนึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนตัวผู้บริหารจาก อดิเรก วัฏลีลา ไปเป็น ปรัชญา ปิ่นแก้ว ก่อนที่ทางปรัชญาจะลาออกไปเปิดบริษัทค่ายเพลง เมกเกอร์เฮด ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นของตัวเองในปี 2540 จึงมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารอีกครั้งเป็น ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล

พ.ศ. 2543 มีการปรับโครงสร้างการบริหารของบริษัท อาร์เอสฟิล์ม จากการเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย ไปเป็นผู้จัดจำหน่ายอย่างเดียวในชื่อ อาร์ เอส.ฟิล์ม แอนด์ ดิสทริบิวชั่น และโอนส่วนของการผลิตภาพยนตร์ไปให้บริษัทลูกทำหน้าที่ผลิตแทน โดยบริษัทลูก 2 บริษัทแรกคือ Avant (อาวอง) และ Red Rocket (เร็ด ร็อคเค็ท) และส่งภาพยนตร์เรื่องแรกในนามอาวอง เรื่อง มือปืน/โลก/พระ/จัน เข้าฉายในปี 2544

พ.ศ. 2547 ยุบรวมบริษัทย่อยทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นบริษัทเดียวในนาม อาวอง และรวมศูนย์การบริหารไว้ที่ ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล อีกครั้ง ก่อนที่ทางราเชนทร์จะลาออกไปอยู่กับ สหมงคลฟิล์ม ในปี 2550 จึงมีการปรับตัวผู้บริหารอีกครั้ง มาเป็น เอมี่ จันทิมา เลียวศิริกุล, มณฑล อารยางกูร และ พรชัย ว่องศรีอุดมพร โดยในช่วงนี้นอกจากตลาดในประเทศแล้ว บริษัทฯ ยังมุ่งที่จะเปิดตัวออกสู่ตลาดโลก โดยการนำภาพยนตร์ไทยของทางบริษัท ฯ ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเริ่มต้นจากภาพยนตร์เรื่อง “มือปืน/โลก/พระ/จัน” เรื่อยมา

พ.ศ. 2552 3 ผู้บริหาร เอมี่ จันทิมา, อ๊อฟ มณฑล และ หว่อง พรชัย ได้ลาออกจากอาวอง ไปตั้งบริษัทของตัวเองในนาม M ๓๙ (เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์) จึงได้มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารใหม่มาเป็น คมสันต์ เชษฐโชติศักดิ์ และ องอาจ สิงห์ลำพอง และ ปิยะพันธุ์ ชูเพ็ชร์ โดยได้มีการปรับรูปแบบการบริหารงานใหม่เหมือนรูปแบบสตูดิโอภาพยนตร์ต่างประเทศ และรีแบรนด์ชื่อ อาวอง ใหม่มาเป็น Film R Us (ฟิล์ม อาร์ อัส) เพื่อแสดงถึงภาพลักษณ์ใหม่ของบริษัทและส่งภาพยนตร์เรื่องแรกในนาม ฟิล์ม อาร์ อัส เรื่อง สามย่าน เข้าฉายในเดือนพฤษภาคม ปี 2553

พ.ศ. 2554 หลังจากภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย บางกอกกังฟู เข้าฉายในช่วงกลางปี ทางบริษัทก็ได้เริ่มถอนตัวออกจากวงการภาพยนตร์ โดยทาง อาร์เอส บริษัทแม่ ได้โยกบุคลากรของฟิล์ม อาร์ อัส ไปอยู่ในส่วนของทีวีดาวเทียมแทน

ผลงานภาพยนตร์

แก้
ปี เรื่อง รายได้
2535 รองต๊ะแล่บแปล๊บ 15 ล้านบาท
2538 โลกทั้งใบให้นายคนเดียว 55 ล้านบาท
2538 เกิดอีกทีต้องมีเธอ 40 ล้านบาท
2539 เด็กระเบิด ยืดแล้วยึด
เจนนี่ กลางวันครับกลางคืนค่ะ
ล่องจุ๊น ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน
2540 18-80 เพื่อนซี้ไม่มีซั้ว
ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน
2541 ปาฏิหาริย์ โอมสมหวัง
2542 แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว
โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน
2544 มือปืน/โลก/พระ/จัน 123 ล้าน
๙ พระคุ้มครอง
ผีสามบาท 90 ล้าน
2545 ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน
2546 พันธุ์ร็อกหน้าย่น
สังหรณ์
Sex Phone คลื่นเหงา สาวข้างบ้าน
จ. เจี๊ยวจ๊าว
คลับซ่า ปิดตำราแซบ
สวนสนุกผี
2547 ปล้นนะยะ 42.5 ล้าน
ปักษาวายุ
ชู้
ทวารยังหวานอยู่
ซาไกยูไนเต็ด
2548 จอมขมังเวทย์ 39.9 ล้าน
เดอะเมีย 11.5 ล้าน
พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า 72.5 ล้าน
อหิงสา จิ๊กโก๋มีกรรม 11 ล้าน
เพราะรักครับผม 3 ล้าน
2549 ผีเสื้อสมุทร 3.5 ล้าน
ไทยถีบ 4.3 ล้าน
รักจัง 55.7 ล้าน
ผีคนเป็น 38.88 ล้าน
แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า 99 ล้าน
2550 ผีไม้จิ้มฟัน 20.20 ล้าน
เมล์นรก หมวยยกล้อ 85 ล้าน
รักนะ 24 ชั่วโมง 19.8 ล้าน
บ้านผีสิง 40 ล้าน
โปงลางสะดิ้ง ลำซิ่งส่ายหน้า 75 ล้าน
2551 รักสยามเท่าฟ้า 5 ล้าน
ดรีมทีม 35 ล้าน
เทวดาตกมันส์ 38 ล้านบาท
Super แหบ-แสบ-สะบัด 21.4 ล้านบาท
2552 โหดหน้าเหี่ยว 966 51.2 ล้านบาท
ม.3 ปี 4 เรารักนาย 19.3 ล้านบาท
แฟนเก่า 104.1 ล้านบาท

(ทั่วประเทศ)

2553 สามย่าน 25.55 ล้านบาท
แฟนใหม่ 21.22 ล้านบาท
2554 บางกอกกังฟู 14 ล้านบาท
2555 เพลงของพ่อ 1-7 ธันวาคม 2555 (ผลิตในโครงการภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ "เทิดเกล้า") จากคำสอนของพ่อ -

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้