อามลัก
อามลัก หรือ อามลกะ (เทวนาครี: आमलक) คือจานหินที่มีรอบแบ่งหรือขัดเป็นเฟือง ใช้ประดับบนยอดศิขรหรือหอคอยหลักในโบสถ์พราหมณ์ มีการตีความไว้ว่าอามลักสื่อถึงดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ถึงการเป็นที่สถิตของเทพเจ้าซึ่งประดิษฐานอยู่ในห้องภายใต้อามลัก บ้างตีความว่าสื่อถึงดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทางสู่โลกสวรรค์[1] ลักษณะและชื่อของอามลักมาจากผลมะขามป้อมหรือมะขามอินเดีย[2] ซึ่งมีขื่อในภาษาสันสกฤตว่าผล “อามลกี” (สันสกฤต: āmalaki) ผลอามลกีนั้นมีความเป็นชั้น ๆ และแบ่งส่วน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้โดดเด่นมากเท่าในอามลักก็ตาม[3] บนยอดของอามลักจะประดับด้วยกลศะอีกชั้นหนึ่งเป็นยอดบนสุด[4]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- Harle, J.C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press Pelican History of Art, ISBN 0300062176
- Kramrisch, Stella, The Hindu Temple, Volume 2, 1996 (originally 1946), ISBN 8120802225, 9788120802223, google books