ศิขร
ศิขร หรือ ศิขระ (Shikhara; Śikhara) หมายถึงหอสูงในโบสถ์พราหมณ์แบบอินเดียเหนือ และบางครั้งก็พบในเชนสถาน ศิขรในฮินดูจะหมายถึงโครงสร้างหอคอยสูงใหญ่เหนือส่วนในของโบสถ์ที่เรียกว่า ครรภคฤห์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์เทพฮินดูประจำวัดนั้น ๆ ศิขรมีลักษณะสำคัญคือเป็นโครงสร้างสำคัญและสูงที่สุดของโบสถ์พราหมณ์แบบอินเดียเหนือ ซึ่งต่างกับแบบอินเดียใต้ที่นิยมสร้างหอทางเข้า "โคปุรัม" ให้สูงที่สุด[1][2] ศิขรมาจากภาษาสันสกฤตแปลว่า "ยอดเขา"
ในอินเดียใต้ โครงสร้างที่เปรียบเปรยได้กับศิขรคือวิมาน ซึ่งในอินเดียใต้ คำว่า "ศิขร" ใช้เรียกโครงสร้างโดมที่ครอบเพื่อตกแต่งวิมานไว้อีกทีหนึ่ง[3]
รูปแบบ
แก้ในปัจจุบันมีศิขรเป็นที่พบมากและโดดเด่นอยู่สามศิลปกรรม คือ[1]
- สถาปัตยกรรมนคร เป็นลักษณะที่พบในอินเดียเหนือ ศิขรแบบนครจะมีลักษณะโค้งสูง ด้านบนประดับด้วยเครื่องตกแต่งลักษณะคล้ายจานที่เรียกว่า "อามลัก"[4][5]
- สถาปัตยกรรมเวสรร มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ได้แก่ โหยสละ และ กรรณาฏกะ มีลักษณะศิขรที่เป็นทรงคล้ายโคน มีการแกะสลักอย่างวิจิตร
- สถาปัตยกรรมทราวิฑ เรียกโครงสร้างนี้ว่า วิมานัม
ในทุกสถาปัตยกรรมทั้งวิมานและศิขรจะสามารถพบ กลัศ คือเครื่องตกแต่งทรหม้อน้ำประดับบนยอดสุด
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2019-02-23.
- ↑ "Shikhara". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 4 August 2015.
- ↑ Harle, 167
- ↑ Harle, 246
- ↑ Harle, 246, 249
บรรณานุกรม
แก้- Hardy, Adam, Indian Temple Architecture: Form and Transformation : the Karṇāṭa Drāviḍa Tradition, 7th to 13th Centuries, 1995, Abhinav Publications, ISBN 8170173124, 9788170173120, google books
- Harle, J.C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press Pelican History of Art, ISBN 0300062176
- Michell, George (1988), The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms, University of Chicago Press, ISBN 978-0226532301