อาปัติ
อาปัติ หรือชื่อเดิม อาบัติ (อังกฤษ: Arbat) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญ เขียนบทและกำกับโดย ขนิษฐา ขวัญอยู่ ผลิตโดยบาแรมยู และจัดจำหน่ายโดยสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558 นอกจากนี้อาปัติยังได้รับการคัดเลือกในฐานะภาพยนตร์ของประเทศไทยให้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film) ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 89 (89th Academy Awards) แต่ไม่ผ่านการคัดเลือก[1][2][3]
อาปัติ | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | ขนิษฐา ขวัญอยู่ |
เขียนบท | ขนิษฐา ขวัญอยู่ |
นักแสดงนำ | ชาลี ไตรรัตน์ พลอย ศรนรินทร์ ดนัย จารุจินดา อรรถพร ธีมากร พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ สรพงษ์ ชาตรี |
กำกับภาพ | กิตติพัฒน์ จินะทอง |
ตัดต่อ | ฐิติพันธ์ มหากิจกำพล |
ดนตรีประกอบ | ออริจิน มิวสิค |
บริษัทผู้สร้าง | บาแรมยู |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล |
วันฉาย | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558 |
ความยาว | 86 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจากสยามโซน |
เรื่องย่อ
แก้ซัน (ชาลี ไตรรัตน์) เด็กหนุ่มวัย 19 ปีผู้เอาแต่ใจตนเอง ไม่สนใจใคร และใช้ชีวิตคึกคะนองอย่างสุดขั้ว เขาจึงถูกพ่อบังคับให้มาบวชเณรเพื่อดัดนิสัย การบวชอย่างไม่เต็มใจ ไร้ศรัทธา และด้วยความรู้สึกที่ไม่เข้าใจว่าตนเองทำผิดอะไรนักหนา จึงทำให้ซันยังคงใช้ชีวิตเหมือนปกติทั่วไปแม้จะอยู่ในผ้าเหลืองแล้วก็ตาม รวมถึงการแอบคบหากับ ฝ้าย (พลอย ศรนรินทร์) สาววัยรุ่นท้องถิ่นผู้โหยหาในความรักซึ่งเหมือนเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวเดียวที่ทั้งคู่มีให้แก่กันและเชื่อมั่นว่าไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด
ทุกการกระทำที่ท้าทายการอาบัตินี้ ทำให้เณรซันต้องเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์ลึกลับชวนขนหัวลุกที่ถูกปกปิดไว้ภายในวัด ทั้งเรื่องราวความสัมพันธ์ของสีกากับพระ การเผชิญหน้ากับผีเปรตที่ตามมาขอส่วนบุญและทวงคืนชีวิตที่ต่างเชื่อมโยงกันอย่างคาดไม่ถึงรวมทั้งความผิดที่เขากำลังวิ่งหนี ก็เข้ามาตอกย้ำให้เขาต้องชดใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การตอบรับ
แก้การประกาศห้าม
แก้เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558 อาบัติไม่ผ่านการพิจารณาให้เข้าฉายจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เนื่องจากมีภาพที่รุนแรงและไม่เหมาะสม เชิงดูหมิ่นศาสนาพุทธ โดยมีภาพสามเณรในขณะเสพของมึนเมา, สามเณรจับเศียรพระพุทธรูปในลักษณะไม่ให้ความเคารพ ฯลฯ[4] จึงทำให้กำหนดฉายเดิมในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ต้องถูกเลื่อนไปจนกว่าจะผ่านการพิจารณาอีกครั้ง
การจัดฉาย
แก้ต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558 สหมงคลฟิล์มได้ทำการส่งภาพยนตร์ไปยังสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์เพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้งโดยครั้งนี้ได้มีการแก้ไขชื่อจาก "อาบัติ" เป็น "อาปัติ" ซึ่งเป็นภาษาบาลีแต่มีความหมายคงเดิม และปรับปรุงแก้ไขฉากบางส่วนออกไป จนได้ผ่านการพิจารณาและได้เรตภาพยนตร์ 18+ โดยจะเริ่มฉายทันทีทางโรงภาพยนตร์ในวันเดียวกัน[5]
คำวิจารณ์
แก้จากการห้ามฉายครั้งนี้ แต่ต่อมาก็ได้อนุญาตให้กลับมาฉายใหม่ ในระยะเวลาห่างกันเพียง 2 วัน ทำให้มีเสียงวิจารณ์ในทำนองว่า เป็นเจตนาของบริษัทผู้สร้างที่หวังผลในการประชาสัมพันธ์หรือไม่ เนื่องจากการที่จะทำการโฆษณาภาพยนตร์ที่จะเข้าฉาย ต้องกระทำกันหลังการได้รับอนุญาตให้ฉายทางทางคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์แล้ว แต่ในเรื่องนี้กลับทำการเผยแพร่การโฆษณาก่อน และในส่วนของเนื้อเรื่องมีผู้ได้ชมแล้ว วิจารณ์ว่าเป็นเพียงภาพยนตร์สยองขวัญทั่วไปเรื่องหนึ่ง โดยมีเรื่องของการประพฤติผิดพระธรรมวินัยเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเรื่องเท่านั้น[6]
รางวัลที่ได้รับ
แก้ปี พ.ศ. | รางวัล | สาขา | ผล |
---|---|---|---|
2559 | รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 6 | รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ชาลี ปอทเจส) | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (พลอย ศรนรินทร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ดนัย จารุจินดา) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สรพงษ์ ชาตรี) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (พลอย ศรนรินทร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
2559 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 25 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (พลอย ศรนรินทร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลบันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลเทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
2559 | รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 24 | รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ดนัย จารุจินดา) | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สรพงษ์ ชาตรี) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (พลอย ศรนรินทร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนักทำหนังหน้าใหม่ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
2559 | Starpics Awards ครั้งที่ 13 | รางวัลนักแสดงสมทบชายชายยอดเยี่ยม (ดนัย จารุจินดา) | ได้รับรางวัล |
รางวัลนักแสดงสมทบชายชายยอดเยี่ยม (สรพงษ์ ชาตรี) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนักแสดงสมทบหญิงหญิงยอดเยี่ยม (พลอย ศรนรินทร์) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนักแสดงสมทบหญิงหญิงยอดเยี่ยม (พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
2559 | คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 13 | รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ชาลี ปอทเจส) | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ดนัย จารุจินดา) | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (พลอย ศรนรินทร์) | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
แก้- ↑ "ไทยส่ง 'อาปัติ' เข้าชิงออสการ์ 2017". MThai. 19 September 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-19. สืบค้นเมื่อ 19 September 2016.
- ↑ "'Apatti' nominated for Oscar". The Nation. 20 September 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 20 September 2016.
- ↑ Rithdee, Kong (20 September 2016). "Thai film 'Apatti' entered for an Oscar". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 20 September 2016.
- ↑ "ห้ามฉาย'อาบัติ' ส่อไม่เคารพศาสนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15. สืบค้นเมื่อ 2015-10-14.
- ↑ ฉายแล้ววันนี้! หนัง อาปัติ ผ่านการพิจารณาด้วยเรท 18+
- ↑ "ฟ้าวันใหม่สุดสัปดาห์ 17 10 58 เบรก 3". ฟ้าวันใหม่. 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.