รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย

รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย (อังกฤษ: Thai Film Director Award) เป็นรางวัลภาพยนตร์ประจำปี ที่จัดโดยสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย เพื่อมอบรางวัลให้กับบุคคลที่สร้างผลงานภาพยนตร์ได้อย่างยอดเยี่ยม มีการตัดสินโดยใช้ระบบหนึ่งคนหนึ่งเสียง (One man, one vote) จากสมาชิกซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ทั้งหมด[1] ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะได้รับรางวัลชนะเลิศ ส่วนผู้ที่ได้คะแนนรองลงมาจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2554 มีทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และรางวัลเชิดชูเกียรติผู้กำกับผู้มีคุณูปการต่อวงการภาพยนตร์ไทย[2] ต่อมาในงานประกาศรางวัล ครั้งที่ 5 ใน พ.ศ. 2558 จึงมีการมอบรางวัลให้กับนักแสดงด้วย[3]

รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
รางวัลสำหรับบุคคลที่สร้างผลงานภาพยนตร์ได้อย่างยอดเยี่ยม
ประเทศไทย
จัดโดยสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
รางวัลแรก26 กุมภาพันธ์ 2011; 12 ปีก่อน (2011-02-26)
ผู้ชนะรางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยล่าสุด
← 2563 2564 2565 →
รางวัล นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
ผู้ชนะ จิรายุ ตันตระกูล
(คืนยุติ–ธรรม)
ราณี แคมเปน
(อีเรียมซิ่ง)
รางวัล นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
ผู้ชนะ พงศธร จงวิลาส
(อ้าย..คนหล่อลวง)
คัทลียา แมคอินทอช
(อ้าย..คนหล่อลวง)
รางวัล ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้ชนะ วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย
(School Town King แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน)
กัณฑ์ปวิตร ภูวดลวิศิษฏ์
(คืนยุติ–ธรรม)

ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

School Town King แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน

รางวัล แก้

รางวัลในปัจจุบันมีทั้งหมด 12 สาขา ดังนี้

  • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2554
  • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2554
  • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2560
  • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2558
  • นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2558
  • นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2558
  • นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2558
  • กำกับภาพยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2563
  • ลำดับภาพยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2563
  • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2563
  • ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม: ตั้งแต่ พ.ศ. 2564
รางวัลพิเศษ
  • เชิดชูเกียรติผู้กำกับผู้มีคุณูปการต่อวงการภาพยนตร์ไทย: ตั้งแต่ พ.ศ. 2554
  • The Most Promising Filmmaker: เฉพาะ พ.ศ. 2563

ลำดับงาน แก้

ครั้งและปีที่จัด วันที่ประกาศผล สถานที่ประกาศผลและมอบรางวัล
ครั้งที่ 1 (2553) 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย
ครั้งที่ 2 (2554) 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 โรงภาพยนตร์เมเจอร์ รัชโยธิน
ครั้งที่ 3 (2555) 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 โรงแรมคราวน์พลาซ่า ลุมพินี
ครั้งที่ 4 (2556) 28 เมษายน พ.ศ. 2557 แอมอินบาร์แอนด์เรสเตอรองท์
ครั้งที่ 5 (2557) 24 เมษายน พ.ศ. 2558 ร้อยเอ็ด พหลโยธิน 19/1
ครั้งที่ 6 (2558) 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เดอะสเตตัสผับแอนด์เรสเตอรองท์
ครั้งที่ 7 (2559) 28 เมษายน พ.ศ. 2560 โรงแรม เอส 31 สุขุมวิท
ครั้งที่ 8 (2560) 4 เมษายน พ.ศ. 2561 โรงแรมทาวน์อินทาวน์
ครั้งที่ 9 (2561) 4 เมษายน พ.ศ. 2562 ห้องกมลทิพย์บอลรูม
ครั้งที่ 10 (2562) 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563 โรงแรม เดอะ สุโกศล
ครั้งที่ 11 (2563) 4 เมษายน พ.ศ. 2564

อ้างอิง แก้

  1. ""ย้ง" เผยโผรางวัลสมาคมผู้กำกับหนังไทยปี 2". ดาราเดลี. 25 กุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ""เจ้ย" คว้าผกก.ยอดเยี่ยม ด้าน "เปี๊ยก โปสเตอร์" ยิ้มรับรางวัลเกียรติยศ จากสมาคมผกก.ภาพยนตร์ไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 27 กุมภาพันธ์ 2554. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิง รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 5". mthai.com. Bangkok: mthai. 2015-04-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-08-15.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้