อาซาอี
ต้นอาซาอีในเมืองเบเลง ประเทศบราซิล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
สกุล: Euterpe
สปีชีส์: E.  oleracea
ชื่อทวินาม
Euterpe oleracea
Mart.
ชื่อพ้อง[1]
  • Euterpe brasiliana Oken
  • Catis martiana O.F.Cook
  • Euterpe badiocarpa Barb.Rodr.
  • Euterpe beardii L.H.Bailey
  • Euterpe cuatrecasana Dugand

อาซาอี (โปรตุเกส: açaí, จากคำภาษาเญเองาตูว่า asai;[2] ชื่อวิทยาศาสตร์: Euterpe oleracea) เป็นปาล์มชนิดหนึ่งในสกุล Euterpe นิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากผล (เรียกว่า "อาซาอีเบอร์รี" หรือ "อาซาอี") ยอดอ่อน (เป็นผัก) ใบ และลำต้น ความต้องการผลอาซาอีทั่วโลกขยายตัวอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ดังนั้นจึงมีการปลูกปาล์มชนิดนี้เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวเป็นหลัก

อาซาอีมีถิ่นกำเนิดในบราซิล, เปรู, เวเนซุเอลา, ตรินิแดดและโตเบโก, กายอานา, ซูรินาม และเฟรนช์เกียนา ส่วนใหญ่เติบโตในที่ลุ่มน้ำขังและที่ราบน้ำท่วมถึง ลำต้นเรียว สูงกว่า 25 เมตร (82 ฟุต) ใบเป็นแบบขนนก ยาวได้ถึง 3 เมตร (9.8 ฟุต)[3] ผลมีขนาดเล็ก กลม และมีสีดำอมม่วง ผลของอาซาอีเคยเป็นอาหารหลักในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18[4][5] แต่การบริโภคในเขตเมืองและการส่งเสริมให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเริ่มขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 พร้อมกับกระแสความนิยมผลไม้แอมะซอนอื่น ๆ นอกภูมิภาค[5]

อ้างอิง แก้

  1. "Synonyms for Euterpe oleracea Mart., Hist. Nat. Palm. 2: 29 (1824)". Royal Botanic Gardens, Kew, UK. 2017.
  2. "acai". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
  3. "Palm trees" (PDF). The Food and Agriculture Organization of the United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 May 2019.
  4. Zarin, Daniel; Alavalapati, Janaki R. R.; Schmink, Marianne; Putz, Frances E. (2004). Working Forests in the Neotropics: Conservation Through Sustainable Management? (ภาษาอังกฤษ). Columbia University Press. ISBN 9780231129077.
  5. 5.0 5.1 Brondízio, Eduardo S.; Safar, Carolina A.M.; Siqueira, Andréa D. (2002-03-01). "The urban market of Açaí fruit (Euterpe oleracea Mart.) and rural land use change: Ethnographic insights into the role of price and land tenure constraining agricultural choices in the Amazon estuary". Urban Ecosystems (ภาษาอังกฤษ). 6 (1): 67–97. doi:10.1023/A:1025966613562. ISSN 1573-1642.