อาชิตะ, มามะงะอิไน

อาชิตะ, มามะงะอิไน (ญี่ปุ่น: 明日、ママがいない; "พรุ่งนี้จะไม่มีแม่แล้ว") เป็นละครโทรทัศน์ญี่ปุ่น ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์นิปปงทีวี ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม จนถึง 12 มีนาคม ค.ศ. 2014 นำแสดงโดย มานะ อาชิดะ และ ริโอะ ซูซูกิ ที่มีชื่อเสียงจากผลงานการแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง มาเธอร์ (2010) และ วูแมน (2013) ตามลำดับ[1] เล่าเรื่องราวของเด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า[2]

อาชิตะ, มามะงะอิไน
ประเภทครอบครัว
ดราม่า
เขียนโดยซายะ มัตสึดะ
แสดงนำ
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องโยชิฮิโระ อิเกะ
คาซูโยชิ ไซโต
ดนตรีแก่นเรื่องปิด"ดาเระกะวาตาชิ"
โดย โคโทริงโงะ
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศญี่ปุ่น
ภาษาต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น
จำนวนตอน9 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตฮิบิกิ อิโต
ผู้อำนวยการสร้างโชตะ ฟูกูอิ
โทชิอากิ นัมบะ
ผู้กำกับภาพรีวอิจิ อิโนมาตะ
มาโกโตะ นากานูมะ
ผู้ลำดับภาพชินจิ โนจิมะ
ความยาวตอน60 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายนิปปงทีวี
ออกอากาศ15 มกราคม ค.ศ. 2014 (2014-01-15) –
12 มีนาคม ค.ศ. 2014 (2014-03-12)
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
พรุ่งนี้...จะไม่มีแม่แล้ว (ไทย)
Çocukluk (ตุรกี)

ออกอากาศไปทั้งสิ้น 9 ตอน และได้รับเรตติงเฉลี่ยที่ 12.85% ในภูมิภาคคันโต[3] อาชิตะ, มามะงะอิไน ได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์จากการถ่ายทอดชีวิตของเด็กกำพร้าที่ไม่สมควรโดยองค์กรสวัสดิภาพญี่ปุ่น[2]

เรื่องย่อ

แก้

มากิ วาตานาเบะ ขณะอายุ 9 ปีถูกทิ้งอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าชื่อ โคงาโมะโนะอิเอะ (コガモの家, "บ้านเป็ด") หลังแม่ของเธอถูกจับกุมในข้อหาทำร้ายร่างกายโดยไม่มีเจตนา ที่นี่เธอพบกับโพสต์ เด็กหญิงที่ถูกทิ้งตั้งแต่กำเนิดในตู้ทิ้งเด็ก (baby hatch)[โปรดขยายความ] ขณะที่เด็กคนอื่น ๆ ถูกทอดทิ้งโดยผู้ปกครองหรือถูกนำมาพักจากเหตุการกระทำทารุณหรือการทอดทิ้งเด็ก สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าดำเนินการโดยนักสืบเกษียณ โทโมโนริ ซาซากิ ที่ดูผิดปกติเป็นพ่อบ้านด้วยความรุนแรง ทุก ๆ สัปดาห์​ โทโมโนริ จัดให้มีการทดลองอยู่พักอาศัยกับครอบครัวอุปถัมภ์โดยให้เด็ก ๆ เป็นคนตัดสินใจเลือกผู้ปกครองด้วยตนเองตามความชอบของแต่ละคน เด็กในสถานเลี้ยงฯ​ จะใช้ชีวิตกับพวกเขาเป็นระยะเวลา 1–2 วันและตัดสินใจว่าพวกเขาอยากให้ถูกรับเลี้ยงหรือไม่

เด็กที่อาศัยอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าของซาซากิต้องพบเจอกับการถูกเลือกปฏิบัติโดยสังคมและอาการบอบช้ำทางจิตหลังถูกทอดทิ้งไว้ที่สถานเลี้ยงฯ ขณะที่เด็กส่วนใหญ่เฝ้ารอความหวังที่จะได้รับเลี้ยงอยู่ในครอบครัวอันอบอุ่น มากิกลับให้ความหวังกับการที่แม่ของเธอจะมารับเธอกลับจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าสักวันหนึ่ง

ตัวละคร

แก้

ผลตอบรับ

แก้

อาชิมะ, มามะงะอิไน ได้รับเรตติงในตอนแรกที่ 14% ในภูมิภาคคันโต[4] อย่างไรก็ตาม จากข้อโต้เถียงและข้อวิพากษ์วิจารณ์ เรตติงของตอนที่ 2 ตกลงมาที่ 13.5%[5] สำหรับเรตติงเฉลี่ยของอาชิตะ, มามะงะอิไน อยู่ที่ 12.85% ในภูมิภาคคันโต[3]

การแสดงของนักแสดงได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ชม จากการสำรวจโดยออริคอน 50.8% ของผู้ชมแสดงความพึงพอใจสูงในการแสดงของนักแสดงหลักในตอนแรกของละครโทรทัศน์[6]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์​

แก้

หลังการออกอากาศตอนแรกของอาชิตะ, มามะงะอิไน ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2014 ได้มีการแสดงความไม่พอใจจากสมาคมครอบครัวอุปถัมภ์, สมาคมสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าต่าง ๆ และโรงพยาบาลจิเก (慈恵病院) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวในประเทศญี่ปุ่นที่รับเด็กที่ถูกทอดทิ้งผ่านตู้ทิ้งเด็ก (baby hatch) [7] โรงพยาบาลฯ​ ที่วิจารณ์การถ่ายทอดชีวิตของเด็กที่ถูกทอดทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งชื่อเล่นของตัวละครเด็กที่ทอดทิ้งว่า "โพสต์" เพราะเป็นการก่อให้เกิด "การทำร้ายทางจิตใจ" ต่อเด็กที่ถูกทิ้งผ่านตู้ทิ้งเด็กจริง ๆ[7] การวิพากษ์วิจารณ์นั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันที่ 21 มกราคม เมื่อสมาคมสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งชาติและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร้องขอให้นิปปงทีวียกเลิกการออกอากาศอาชิตะ, มามะงะอิไน ต่อไป[2] ละครโทรทัศน์เรื่องนี้ยังได้รับการกล่าวถึงในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[8] โดยว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการฯ โนริฮิซะ ทามูระ กล่าวว่า "มีรายงานเกี่ยวกับเด็กผู้หญิงในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าทำร้ายตนเอง (หลังชมละครโทรทัศน์เรื่องนี้)"[2]

จากข้อวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว บริษัทโฆษณาญี่ปุ่น เช่น มิตซูบิชิเอสเตท และ คาโอ ประกาศว่าพวกเขาจะยกเลิกการให้การสนับสนุนอาชิตะ, มามะงะอิไน[9] ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 22 มกราคม ตอนที่สอง ของละครโทรทัศน์ถูกออกอากาศโดยไม่มีการขึ้นเครดิตผู้สนับสนุนรายการ[10] ขณะที่ตอนที่สามมีการแสดงประกาศโฆษณาในบริการสาธารณะ (public service announcement) แทนโฆษณา[9]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์สิ้นสุดลงเมื่อนิปปงทีวีกล่าวแถลงต่อสภาสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 ว่า "จะพิจารณาอย่างที่ถ้วนต่อเด็กให้มากยิ่งขึ้น" โดยการแก้ไขบางส่วนของบทละครโทรทัศน์อย่างไม่เจาะจง โคอิจิ ฟูจิโนะ ประธานสภาฯ ตอบรับคำแถลงของสถานีและบอกเป็นนัยว่าเขาจะชมอาชิตะ, มามะงะอิไน จนถึงตอนสุดท้าย[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 芦田愛菜、鈴木梨央と初共演で“泣ける”母なき子ドラマ主演. ออริคอน (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-11-29. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "NTV drama controversy represents conflict between delicate issue and freedom of expression". Mainichi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-02-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-07. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  3. 3.0 3.1 明日、ママがいない <日本テレビ>. Audience Rating TV (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  4. 芦田愛菜主演『明日、ママがいない』初回14.0%. Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  5. 芦田愛菜主演『明日、ママがいない』2話は13.5%. Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  6. 芦田愛菜の演技に好評価『明日、ママがいない』. Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  7. 7.0 7.1 日テレのドラマ「明日、ママがいない」への抗議問題。施設の子どもに対する「想像力の欠如」と「加害性」. The Huffington Post Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-18. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  8. 明日ママ、影響調査へ 厚労相「全国協議会に確認したい」. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-02-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  9. 9.0 9.1 日テレ「明日、ママがいない」スポンサー全社がCM見合わせ. Sanpo (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-30. สืบค้นเมื่อ 2014-01-28.
  10. 「明日ママ」提供表示なし…一部CMがAC広告に差し替え. Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2014-01-22. สืบค้นเมื่อ 2014-01-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้