อาจริยวาท
(เปลี่ยนทางจาก อาจาริยวาท)
อาจริยวาท แปลว่า วาทะของอาจารย์ เป็นคำที่คณาจารย์พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทใช้เรียกพุทธศาสนานิกายใด ๆ ที่ไม่ยอมรับมติของพระเถระผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 1 แต่ถือตามคำสอนของอาจารย์ของตน จึงเรียกว่า อาจริยวาท
ตามที่ปรากฏในคัมภีร์มหาวงศ์และทีปวงศ์ นิกายที่ถือเป็นอาจริยวาทมี 17 นิกาย[1] ได้แก่
- 1. มหาสังฆิกะ แยกตัวออกจากเถรวาทราว พ.ศ. 100 หลังการสังคายนาครั้งที่สองในศาสนาพุทธ
- 2. โคกุลิกะ แยกออกมาจากมหาสังฆิกะ
- 3. เอกัพยาวหาริกะ แยกออกมาจากมหาสังฆิกะ
- 4. ปรัชญัปติวาท แยกออกมาจากโคกุลิกะ
- 5. พหุศรุตียะ แยกออกมาจากโคกุลิกะ
- 6. ไจติกะ แยกออกมาจากพหุศรุตียะ
- 7. มหีศาสกะ แยกออกมาจากเถรวาท
- 8. วาตสีปุตรียะ แยกออกมาจากเถรวาท
- 9. ธรรโมตตรียะ แยกออกมาจากวาตสีปุตรียะ
- 10. ภัทรยานียะ แยกออกมาจากวาตสีปุตรียะ
- 11. สันนาคริกะ แยกออกมาจากวาตสีปุตรียะ
- 12. สางมิตียะ แยกออกมาจากวาตสีปุตรียะ
- 13. สรวาสติวาท แยกออกมาจากมหีศาสกะ
- 14. ธรรมคุปต์ แยกออกมาจากมหีศาสกะ
- 15. กาศยปียะ แยกออกมาจากสรวาสติวาท
- 16. สังกันติกะ แยกออกมาจากกาศยปียะ
- 17. เสาตรานติกะ แยกออกมาจากสังกรานติกะ
ปัจจุบันอาจริยวาททั้ง 17 นิกายนี้เสื่อมไปหมดแล้ว คงเหลือแต่นิกายมหายาน ซึ่งเกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยพัฒนาต่อมาจากมหาสังฆิกะ[2]