อังกาบหนู

สมุนไพรในวงศ์เหงือกปลาหมอ
อังกาบหนู
Barleria pronitis ในไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Acanthaceae
สกุล: Barleria
สปีชีส์: B.  prionitis
ชื่อทวินาม
Barleria prionitis
L.

อังกาบหนู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Barleria prionitis)[1] เป็นพืชในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) ที่เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศอินเดีย เป็นพืชสมุนไพรในตำรับยาอายุรเวท น้ำคั้นจากใบใช้ป้องกันเท้าเปื่อยและแตกในฤดูมรสุม [2] ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้ใบบดแล้วพอกบริเวณที่อักเสบ[3]

อังกาบหนูมักเป็นอาศัยของหนอนของ en:Phalanta phalantha และ en:Junonia lemonias ในใบมี en:6-Hydroxyflavone ซึ่งเป็นตัวยับยั้งแบบไม่แข่งขันของcytochrome P450 2C9[4]

1. ดอกอังกาบนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก (ราก, ดอก)

2. รากหรือใบใช้เป็นยาลดไข้ (ราก, ใบ) ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน (ใบ)

3. ช่วยขับเสมหะด้วยการใช้รากของดอกอังกาบสีเหลืองที่ตากแห้งแล้วนำมาต้มเป็นยาดื่ม (ราก)

4. ใบอังกาบหนูใช้เคี้ยวแก้อาการปวดฟันได้ (ใบ)

5. ใบใช้ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)

6. น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหู แก้หูอักเสบได้ (ใบ)

7. ช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูก (ใบ)

8. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (ราก)

9. ใช้แก้พิษงู (ใบ)

10.ช่วยรักษาโรคคัน (ใบ)

11.รากหรือใบใช้ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน (ใบ, ราก)

12.รากใช้เป็นยาแก้ฝี (ราก)

13.ทั้ง 5 ส่วนของต้นอังกาบหนูใช้เป็นยาแก้ไข้ข้ออักเสบ (ทั้ง 5 ส่วน)

14. ช่วยแก้อัมพาต รักษาโรคปวดตามข้อ โรครูมาติซั่ม หรือใช้ทาแก้อาการปวดหลัง แก้ปวดบวม (ใบ)

15. มีคนเคยใช้อังกาบเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง เนื้องอกในสมอง และเบาหวาน แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษาได้จริง (ราก)

16.  สารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง โดยสารสกัดจากอังกาบหนูนั้นส่งผลต่อการสร้างสเปิร์ม ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป (ราก)


อ้างอิง แก้

  1. Various Indian names in Pharmacographia Indica. A history of the principal drugs of vegetable origin met with in British India, Willliam Dymock, C. J. H. Warden & David Hooper, 1893.
  2. Pharmacographia Indica. A history of the principal drugs of vegetable origin met with in British India, Willliam Dymock, C. J. H. Warden & David Hooper, 1893.
  3. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
  4. Medicinal plants. Chemistry and properties, Dr. M. Daniel, 2005.

รวมภาพ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้