อักษรอะญะมี
อะญะมี (อาหรับ: عجمي, ʿajamī) หรือ อะญะมียะฮ์ (อาหรับ: عجمية, ʿajamiyyah) เป็นชื่อของอักษรชนิดหนึ่งโดยมีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับหมายถึง ต่างชาติ เป็นการนำอักษรอาหรับมาใช้เขียนภาษาในกลุ่มภาษาแอฟริกา โดยเฉพาะภาษาเฮาซาและภาษาสวาฮิลี ภาษากลุ่มแอฟริกามีระบบสัทวิทยาต่างจากภาษาอาหรับทำให้มีการปรับอักษรอาหรับเพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น ด้วยระบบที่ต่างไปจากอักษรอาหรับที่ใช้ในกลุ่มที่ไม่ได้พูดภาษาอาหรับในตะวันออกกลาง [1]
ภาษาเฮาซาในแอฟริกาตะวันตกเป็นตัวอย่างของภาษาที่ใช้อักษรอะญะมี โดยเฉพาะในช่วงก่อนเป็นอาณานิคม เมื่อมีโรงเรียนสอนอัลกุรอ่านให้แก่เยาวชนมุสลิม และได้สอนอักษรอะญะมีด้วย เมื่อเจ้าอาณานิคมตะวันตกได้พัฒนาระบบการเขียนภาษาเฮาซาด้วยอักษระลตินหรือโบโก การใช้อักษรอะญะมีได้ลดลง และปัจจุบันใช้น้อยกว่าอักษรละติน แต่ยังใช้อยู่มากในงานทางด้านศาสนาอิสลาม การใช้อักษรอะญะมีกับภาษาอื่นในประเทศมุสลิมพบได้ทั่วไป[2]
อักษรอะญะมีสำหรับภาษาเฮาซา
แก้ภาษาเฮาซาเขียนด้วยอักษรอะญะมีตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ไม่มีระบบมาตรฐานสำหรับอักษรอะญะมี และผู้เขียนต่างคนกันใช้ตัวอักษรต่างกัน สระเสียงสั้นแสดงด้วยเครื่องหมายสระซึ่งมีใช้น้อยในอักษรอาหรับที่ไม่ได้ใช้เขียนอัลกุรอ่าน เอกสารลายมือเขียนภาษาเฮาซายุคกลางจำนวนมากคล้ายกับเอกสารทิมปุกตูที่เขียนด้วยอักษรอะญะมี[3] ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างอักษรอะญะมีสำหรับภาษาเฮาซา
อักษรละติน | สัทอักษรสากล | อักษรอาหรับ อะญะมี |
---|---|---|
a | /a/ | ـَ |
a | /aː/ | ـَا |
b | /b/ | ب |
ɓ | /ɓ/ | ب (เหมือนกับ b), ٻ (ไม่ใช้ในภาษาอาหรับ) |
c | /tʃ/ | ث |
d | /d/ | د |
ɗ | /ɗ/ | د (เหมือนกับ d), ط (สามารถใช้เป็น ts) |
e | /e/ | تٜ (ไม่ใช้ในภาษาอาหรับ) |
e | /eː/ | تٰٜ (ไม่ใช้ในภาษาอาหรับ) |
f | /ɸ/ | ف |
g | /ɡ/ | غ |
h | /h/ | ه |
i | /i/ | ـِ |
i | /iː/ | ـِى |
j | /(d)ʒ/ | ج |
k | /k/ | ك |
ƙ | /kʼ/ | ك (เหมือนกับ k), ق |
l | /l/ | ل |
m | /m/ | م |
n | /n/ | ن |
o | /o/ | ـُ (เหมือนกับ u) |
o | /oː/ | ـُو (เหมือนกับ u) |
r | /r/, /ɽ/ | ر |
s | /s/ | س |
sh | /ʃ/ | ش |
t | /t/ | ت |
ts | /(t)sʼ/ | ط (สามารถใช้ตัว ɗ), ڟ (ไม่ใช้ในภาษาอาหรับ) |
u | /u/ | ـُ (เหมือนกับ o) |
u | /uː/ | ـُو (เหมือนกับ o) |
w | /w/ | و |
y | /j/ | ی |
z | /z/ | ز ذ |
ʼ | /ʔ/ | ع |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-30. สืบค้นเมื่อ 2014-09-04.
- ↑ Donaldson, Coleman (1 October 2013). "Jula Ajami in Burkina Faso: A Grassroots Literacy in the Former Kong Empire". Working Papers in Educational Linguistics (WPEL). 28 (2): 19–36. ISSN 1548-3134.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-30. สืบค้นเมื่อ 2011-10-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
วรรณกรรม
แก้- Hegyi, O. (1979). "Minority and restricted uses of the Arabic alphabet: the aljamiado phenomenon". Journal of the American Oriental Society. 99 (2): 262–269. doi:10.2307/602662. ISSN 0003-0279. JSTOR 602662. S2CID 163610376. สืบค้นเมื่อ 23 December 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Notes on sub-Saharan languages written in Arabic script". A-label: African Languages Between the Lines.
a research blog associated with the Ajami Lab at the Centre for the Study of Manuscript Cultures at the Universität Hamburg
, a research blog associated with the Ajami Lab at the Centre for the Study of Manuscript Cultures at the Universität Hamburg - PanAfrican L10n page on Arabic script and "Ajami"
- Omniglot page on Hausa Ajami Script