อักษรตังกุต

(เปลี่ยนทางจาก อักษรตันกัท)

อักษรตังกุต (ตังกุต: 𗼇𘝞; จีน: 西夏文; พินอิน: Xī Xià Wén; แปลตรงตัว: "อักษรเซี่ยตะวันตก") เป็นระบบการเขียนตัวหนังสือคำที่ใช้สำหรับภาษาตังกุตในราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ตามรายงานล่าสุด มีอักษรตังกุตเท่าที่รู้จัก (ไม่รวมรูปแบบอื่น ๆ) 5,863 ตัว[1] อักษรตังกุตมีความคล้ายกับอักษรจีน[2] โดยมีวิธีขีดเส้นคล้ายกัน แต่วิธีการเขียนตัวอักษรในระบบการเขียนตังกุตมีความแตกต่างจากรูปแบบการเขียนของอักษรจีนอย่างมาก

ตังกุต
พิชัยสงครามซุนจื่อ เขียนในอักษรตังกุต
ชนิดตัวหนังสือคำ
ภาษาพูดภาษาตังกุต
ผู้ประดิษฐ์野利仁榮 (Yeli Renrong)
ช่วงยุคค.ศ. 1036–1502
ระบบแม่
อักษรประดิษฐ์ที่ได้แรงบันดาลใจจากอักษรจีน
  • ตังกุต
ช่วงยูนิโคด
ISO 15924Tang

ประวัติ แก้

 
อักษรตังกุตที่หมายถึง "มนุษย์" เป็นอักษรที่ดูเรียบง่าย

พงศาวดารซ่ง ซ่งฉื่อ (ค.ศ. 1346) ระบุว่าอักษรนี้ได้รับการคิดค้นโดย เหย่ลี่เหรินหรง (ตังกุต: 𘘥𗎁𗸯𘄊;[3] จีน: 野利仁榮) เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในปี ค.ศ. 1036[4][5] หลังคิดค้นอักษรนี้ในเวลาไม่นานก็มีการใช้งานทันที โดยการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐ, เอกสารของทางการใช้อักษรนี้ (เอกสารสองภาษามีเฉพาะทางการทูต) มีคัมภีร์ศาสนาพุทธจำนวนมากที่แปลจากภาษาทิเบตและภาษาจีนมาเป็นอักษรนี้ และมีภาพพิมพ์แกะไม้ที่สลักด้วยอักษรนี้[6] ถึงแม้ว่าราชวงศ์เซี่ยตะวันตกล่มสลายในปี ค.ศ. 1227 แต่อักษรนี้ยังคงมีการใช้งานต่อมาอีกหลายศตวรรษ ตัวอย่างสุดท้ายที่พบจารึกด้วยอักษรนี้ปรากฏบนเสาตังกุตธารณีคู่ ซึ่งสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1502 ที่เมืองเป่าติ้ง ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอเป่ย์[7]

 
การถอดอักษรตังกุต 37 ตัวของ Stephen Wootton Bushell
 
อักษรตังกุตที่หมายถึง "โคลน" มาจากส่วนของคำว่า "น้ำ" (ซ้ายสุด) และทั้งหมดของคำว่า "ดิน"

อ้างอิง แก้

  1. 《西夏文字共有5863个正字》 (ภาษาจีนตัวย่อ). Ningxia News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มีนาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006.
  2. Frederick W. Mote (2003). Imperial China 900-1800. Harvard University Press. pp. 395–. ISBN 978-0-674-01212-7.
  3. 李范文 (1999) [พฤศจิกายน 1984]. 西夏陵墓出土残碑粹编 (ภาษาจีน). 文物出版社. p. 17. 统一书号: 11068-1200. ISBN 978-7-8060-8372-7.
  4. 《宋史‧卷四百八十五‧列传第二百四十四‧外国一‧夏国上》 (ภาษาจีนตัวย่อ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2022.
  5. Heming Yong; Jing Peng (14 สิงหาคม 2008). Chinese Lexicography : A History from 1046 BC to AD 1911. OUP Oxford. pp. 377–. ISBN 978-0-19-156167-2.
  6. Xu Zhuang (徐庄. 《略谈西夏雕版印刷在中国出版史中的地位》 (ภาษาจีนตัวย่อ). 出版学术网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มีนาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2007.
  7. Nishida, Tatsuo (2010). translated by Noriyoshi Mizujulle, Anthony George and Hamaki Kotsuki. "Xixia Language Studies and the Lotus Sutra (II)" (PDF). The Journal of Oriental Studies. 20: 222–251.

ข้อมูล แก้

  • Grinstead, Eric (1972). Analysis of the Tangut Script. Scandinavian Institute of Asian Studies Monograph Series. Lund: Studentlitteratur.
  • Kychanov, Evgenij Ivanovich Kychanov (1996). "Tangut". ใน Daniels, Peter T.; Bright, William (บ.ก.). The World's Writing Systems. New York: Oxford University Press. pp. 228–9. ISBN 0-19-507993-0.
  • Tatsuo, Nishida 西田龍雄 (1994). Seika moji: sono kaidoku no purosesu 西夏文字: その解讀のプロセス [Xixia script: the process of its decipherment] (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Kinokuniya shoten. ISBN 4-314-00632-3.
  • Shi, Jinbo 史金波 (1981). "Lüelun Xixia wenzi de gouzao" 略论西夏文字的构造 [A sketch of the structure of the Tangut script]. Minzu yuwen lunji 民族语文论集 [A collection of essays concerning the languages of the ethnic minorities] (ภาษาจีน). Beijing: Zhongguo shehui kexue chubanshe. pp. 192–226.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้