อย่างนี้ต้องพิสูจน์ Q.E.D.

(เปลี่ยนทางจาก อย่างนี้ต้องพิสูจน์)

อย่างนี้ต้องพิสูจน์ Q.E.D.[1] (ญี่ปุ่น: Q.E.D. 証明終了โรมาจิQ.E.D - Quod Erat Demonstrandum) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของ โมโตฮิโร่ คาโต้ ผู้เขียนร็อกเก็ตแมน และล่าสุดเขาได้เขียนผลงานเรื่อง พิพิธภัณฑ์พิศวง ขึ้น ทั้งหมดตีพิมพ์และจัดจำหน่ายในประเทศไทยโดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ

อย่างนี้ต้องพิสูจน์ Q.E.D.
Q.E.D. 証明終了
ชื่อภาษาอังกฤษQ.E.D. ~Shomei Shuryo~
แนวลึกลับ
มังงะ
เขียนโดยโมโตฮิโร่ คาโต้
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น โคดันฉะ
ไทย วิบูลย์กิจ
อนิเมะ
ญี่ปุ่น Q.E.D. 証明終了
กำกับโดยอิเซดะ มาซายะ
อิโนะคิโดะ ทาคายาสึ

เนื้อเรื่อง แก้

เรื่องราวของหนุ่มน้อย โทมะ โซ เด็กอัจฉริยะที่เรียนจบจาก MIT ด้วยวัยเพียง 15 ปี แต่กลับอยากใช้ชีวิตแบบนักเรียน ม.ปลาย ธรรมดา ๆ ที่ญี่ปุ่น ทว่า เรื่องราวรอบตัวเขาไม่ยอมให้เขาเก็บงำความสามารถเอาไว้ เขามักได้ไปเกี่ยวข้องกับปริศนาทั้งเล็กและใหญ่อยู่เสมอ โดยมากก็จะเกิดจากการชักนำของเพื่อนร่วมห้องสาวน้อยผู้แข็งแรง น้ำใจงาม และชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน ที่ชื่อ มิสุฮาระ คานะ ลูกสาวตำรวจนักสืบ และในช่วงหลัง โทมะก็ได้ช่วยงานตำรวจหลายเรื่อง นอกจากคานะแล้ว ก็ยังมีบรรดาเพื่อนเก่าที่ MIT ที่มักจะนำพาเรื่องราวต่าง ๆ มาให้โทมะอยู่เสมอ เช่น โลกิ เป็นต้น

'อย่างนี้ต้องพิสูจน์' ไม่เหมือนกับการ์ตูนแนวสืบสวนทั่วไป ที่แฝงไปด้วยเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่พบเห็นได้ ไปถึงเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับประเทศ ไม่จำเป็นต้องมีห้องปิดตาย ไม่มีฉากไล่ล่าคนร้าย ไม่มีองค์กรอาชญากรรมดำมืด ไม่ได้มีความฝันมุ่งมั่นเป็นนักสืบที่เก่งที่สุด โทมะและมิสุฮาระ เพียงแต่พบเห็นปริศนา แล้วก็คลี่คลายมันโดยใช้การคิดตามหลักเหตุผล และใช้ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ (ซึ่งบางครั้งเป็นความรู้ที่เด็กอัจฉริยะอย่างโทมะเท่านั้นจึงจะมีได้)

การดำเนินเรื่องของ Q.E.D. มีโครงสร้างเหมือนกับการ์ตูนแนวสืบสวนเรื่องอื่น ๆ เริ่มจากเกิดคดี กลุ่มตัวละครเอกรับทราบข้อมูล และเมื่อตัวละครทำการไขปริศนาของคดีนั้น ๆ ได้แล้ว ก็จะประกาศข้อความบ่งบอกให้ผู้อ่านได้ทราบโดยการเขียนคำว่า Q.E.D. (มาจากภาษาละตินว่า quod erat demonstrandum หรือในภาษาไทยคือ ซ.ต.พ. - ซึ่งต้องพิสูจน์) หรือมีการเล่นเทคนิคการนำเสนอคำว่า Q.E.D. อีกหลายรูปแบบ เช่นแสดงในรูปของป้ายบอกทาง เศษกระดาษ เป็นต้น

ตัวละคร แก้

  • โทมะ โซ: เด็กหนุ่มอัจฉริยะ จบมหาวิทยาลัยจาก MIT ด้วยวัยเพียง 15 ปีแต่กลับมาเรียนม.ปลายอีกครั้ง ดูเป็นคนนิ่ง ๆ
  • มิสุฮาระ คานะ: เด้กสาวผู้ร่าเริง ห้าวหาญ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มุทะลุ เข้ากับคนได้ง่ายมาก มักจะลากตัวเองและโทมะเข้าไปหาปัญหาเสมอ
  • โลกิ: เพื่อนสนิทของโทมะที่มหาวิทยาลัย MIT
  • ผู้กองมิสุฮาระ: พ่อของ มิสุฮาระ คานะ
  • เอบะ : เป็นทั้งเพื่อนและผู้ช่วยของโลกิ
  • โทมะ ยู:น้องสาวของโทมะโซ ความสามารถพิเศษประสาทหูแยกแยะภาษาได้ดีเยี่ยม

ละครโทรทัศน์ แก้

  • ผู้กำกับ อิเซดะ มาซายะ, Iseda Masaya (伊勢田雅也) และ อิโนะคิโดะ ทาคายา, Enokido Takayasu (榎戸崇泰)
รายชื่อนักแสดง ตัวละครในเรื่อง
นากามูระ อาโออิ โทมะ โซ
ทาคาฮาชิ ไอ มิสุฮาระ คานะ
อิชิกุโระ เคน นักสืบโคทาโร่

รางวัล แก้

Q.E.D. ได้รับ รางวัล Kodansha Manga Award ครั้งที่ 33 ในประเภท โชเน็ง ในปี 2552

อ้างอิง แก้

  1. โมะโตะฮิระ คะโต. (2544, 30 พฤษภาคม). อย่างนี้ต้องพิสูจน์ Q.E.D., เล่ม 3. ทีป์ปทีป, แปล. กรุงเทพฯ: วิบูลย์กิจ. ISBN 974-218-017-2. หน้า 184 (หน้ารองจากปกหลัง).

ดูเพิ่ม แก้

C.M.B. พิพิธภัณฑ์พิศวง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้