อมตะ หลูไพบูลย์

อมตะ หลูไพบูลย์ เป็นสถาปนิกชาวไทย ได้รับรางวัลจากการประกวดสถาปัตยกรรมโดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ 3 ปีซ้อน งานออกแบบสถาปัตยกรรมมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่คำนึงถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศ[1]

อมตะ หลูไพบูลย์
เกิด ไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
ผลงานสำคัญ
  • ซิกซ์เซนส์ไฮด์อะเวย์สมุย
  • สถานพักตากอากาศซีโวลา
  • โรงแรม Little Shelter Chiangmai

ประวัติ

แก้

ครอบครัวและการศึกษา

แก้

อมตะ หลูไพบูลย์ เป็นลูกชายคนที่ 2 ในจำนวน 4 คนของชาญศักดิ์ และพรศรี หลูไพบูลย์ จบระดับชั้นประถมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระดับมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สอบเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตั้งแต่เรียนจบมัธยมปีที่ 5 ทว่าเพียง 1 ปีแรก ได้สอบใหม่เข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบโดยได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากนั้นอมตะเลือกไปเรียนต่อระดับปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐ และเรียนต่อปริญญาโทในสาขาการพัฒนาเมืองในประเทศกำลังพัฒนา ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[2]

การงาน

แก้

อมตะกลับมาทำงานเป็นสถาปนิกอาชีพ โดยผลงานการออกแบบชิ้นใหญ่ชิ้นแรกขณะอายุ 31 ปี คือ ศิลาเอวาซอนไฮด์อะเวย์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ซิกซ์เซนส์ไฮด์อะเวย์สมุย)[3] เป็นโรงแรมพักตากอากาศระดับ 6 ดาว บนเกาะสมุย ซึ่งการออกแบบนี้ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นปี 2549 สมาคมสถาปนิกสยามฯ ผลงานถัดมาการออกแบบสถานพักตากอากาศซีโวลา บนเกาะพีพีดอน[4]

พ.ศ. 2547 อมตะเปิดบริษัทของตนเองชื่อ Department of Architecture มีผลงานออกแบบเช่นโรงแรม Little Shelter Chiangmai[5] พ.ศ. 2560 อมตะได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาสถาปัตยกรรม[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Jenchieh Hung และ กุลธิดา ทรงกิตติภักดี. "New Waves of Thai Architects คลื่นระลอกใหม่จากสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในประเทศไทย". สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.
  2. "'อมตะ หลูไพบูลย์' สถาปนิกชื่อดังและบทบาทแกรนด์แอมบาสเดอร์ 'Keep Walking Project'". ไทยรัฐ.
  3. ""เปอร์สเปกทิฟ" เปิดชีวิตที่ออกแบบได้ของ "อมตะ หลูไพบูลย์" สถาปนิกชื่อดังระดับโลก". บ้านเมือง.
  4. "อมตะ หลูไพบูลย์ ชีวิตออกแบบได้". positioningmag.com.
  5. "DEmark Award 2021 เส้นทางความสำเร็จของนักออกแบบไทยสู่สากล".
  6. "ศิลปิน 7 คน 7 สาขา รางวัล "ศิลปาธร" ปี 60". ผู้จัดการออนไลน์.