หลุยส์ จอย บราวน์ (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2521) เป็นหญิงชาวอังกฤษซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกที่เกิดจากการทดลองการปฏิสนธินอกร่างกาย การเกิดของเธอซึ่งปฏิบัติตามขั้นตอนที่ริเริ่มในอังกฤษได้รับการยกว่าเป็นหนึ่งใน "ความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่น่าทึ่งที่สุดในศตวรรษที่ 20"[1][2][3][4]

หลุยส์ บราวน์
เกิดหลุยส์ จอย บราวน์
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 (46 ปี)
โรงพยาบาลทั่วไปโอลด์ดัม [en] เกรตเทอร์แมนเชสเตอร์ [en] อังกฤษ
มีชื่อเสียงจากบุคคลคนแรกที่เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกาย
คู่สมรสเวสลีย์ มัลลินเดอร์ (สมรส 2547)
บุตร2
บิดามารดาเลสลีย์ บราวน์
จอห์น บราวน์
ญาตินาทาลี บราวน์ (น้องสาว)

การเกิดและชีวิตช่วงต้น

แก้

หลุยส์ จอย บราวน์เกิดที่โรงพยาบาลทั่วไปโอลด์ดัม [en] ในแลงคาเชอร์ โดยการผ่าท้องทำคลอดตามที่วางแผนโดยแพทย์เฉพาะทาง [en]จอห์น เว็บสเตอร์ [en][5] มีน้ำหนักแรกคลอด 5 ปอนด์ 12 ออนซ์ (2.608 กก.)[6] พ่อแม่ของเธอ เลสลีย์และจอห์น บราวน์ พยายามตั้งครรภ์ตามธรรมชาติมาเป็นเวลาเก้าปี แต่เลสลีย์พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากท่อนำไข่อุดตัน [en][6]

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 เลสลีย์ บราวน์ได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่ต่อมารู้จักกันในชื่อการปฏิสนธินอกร่างกาย ที่พัฒนาโดยแพทริก สเทปโท [en], โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ [en] และฌอง เพอร์ดี [en] เพอร์ดีเป็นคนแรกที่เห็นเซลล์ตัวอ่อนของบราวน์แบ่งตัว[7] เอ็ดเวิร์ดส์ซึ่งเป็นเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่เข้ารับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ใน พ.ศ. 2553 จากผลงานนี้[8] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 มีการติดตั้งแผ่นป้ายที่โรงพยาบาลรอแยลโอล์ดดัมเพื่อบันทึกความสำคัญของผลงานจากมูเรียล แฮร์ริส และฌอน เพอร์ดี[9] แม้ว่าสื่อกล่าวถึงบราวน์ว่าเป็น "เด็กหลอดแก้ว"[10] แต่การปฏิสนธิของเธอเกิดขึ้นในจานเพาะเชื้อ ส่วนนาตาลี บราวน์ น้องสาวของเธอเกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายเช่นกันในสี่ปีต่อมา เป็นคนที่ 40 ของโลกที่เกิดจากการปฏิสนธิด้วยวิธีนี้ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 นาตาลีเป็นมนุษย์คนแรกที่เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายที่ให้กำเนิดบุตรของตนตามธรรมชาติ

การงานและชีวิตครอบครัว

แก้

เมื่อ พ.ศ. 2547 บราวน์แต่งงานกับเวสลีย์ มัลลินเดอร์ พนักงานเฝ้าประตูไนท์คลับ โดยเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมงานแต่งงานของพวกเขา ลูกชายคนแรกของพวกเขาเกิดจากการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ[10]เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549[11][12]

พ่อของบราวน์เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2549[13] ส่วนแม่ของเธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ที่โรงพยาบาลรอยัลบริสตอลอินเฟอร์มรี่ [en] ในวัย 64 ปี[14] จากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในถุงน้ำดี[13]

ประเด็นด้านจริยธรรมและศาสนา

แก้

แม้ว่าครอบครัวบราวน์จะทราบว่ากระบวนการดังกล่าวยังเป็นการทดลอง แต่แพทย์ไม่ได้แจ้งว่ายังไม่มีทารกที่เกิดจากกระบวนการนี้ เรื่องนี้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับกระบวนการขอความยินยอม[15]

ในปี พ.ศ. 2521 เมื่อมีผู้ถามถึงปฏิกิริยาต่อการเกิดของบราวน์ พระคาดินัลคาร์ดินัลอัลบิโน ลูเชียนี อัครบิดรแห่งเวนิส (ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 1) แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่การผสมเทียมอาจทำให้ผู้หญิงถูกใช้เป็น "โรงงานผลิตเด็ก" แต่ปฏิเสธที่จะประณามพ่อแม่ของเด็ก[16] โดยระบุว่าพวกเขาเพียงแค่ต้องการมีบุตรเท่านั้น[17]

สิ่งตีพิมพ์

แก้
  • Brown, Louise; Powell, Martin (2015). Louise Brown: My Life As the World's First Test-Tube Baby (ภาษาอังกฤษ). Wraxall: Bristol Books CIC. ISBN 978-1-909446-08-3. OCLC 1023273709. Bristol Archives Bk/2552.

อ้างอิง

แก้
  1. Walsh, Fergus (14 July 2008). "30th birthday for first IVF baby". BBC News. สืบค้นเมื่อ 9 August 2020.
  2. "Louise Brown and Her Parents | Encyclopedia.com". encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
  3. "Louise Brown: World's first IVF baby's family archive unveiled". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 24 July 2018. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
  4. "'I was the world's first IVF baby, and this is my story'". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 25 July 2018. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
  5. Hutchinson, Martin (24 July 2003). "I helped deliver Louise". BBC News. สืบค้นเมื่อ 9 August 2020.
  6. 6.0 6.1 "World's first IVF baby marks 30th birthday", เก็บถาวร 26 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Agence France-Presse, 23 July 2008. Retrieved 24 July 2008.
  7. Weule, Genelle (25 July 2018). "The first IVF baby was born 40 years ago today". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
  8. Wade, Nicholas (4 October 2010). "Pioneer of in Vitro Fertilisation Wins Nobel Prize". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 October 2010.
  9. "Unsung heroine who saved refugees from Nazis honoured in Leeds". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 8 March 2022. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
  10. 10.0 10.1 Hall, Sarah (11 July 2006). "Louise Brown, first test tube baby, is pregnant". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 9 August 2020.
  11. "Baby son joy for test-tube mother". BBC News. 14 January 2007.
  12. "The first IVF baby, Louise Brown, was born in 1978 in the United Kingdom". KrishnaIVF News. 14 January 2007.
  13. 13.0 13.1 Grady, Denise (23 June 2012). "Lesley Brown, Mother of World's First 'Test-Tube Baby,' Dies at 64", The New York Times. Retrieved 8 August 2020.
  14. "First test tube baby mother Lesley Brown dies". BBC News. 20 June 2012. สืบค้นเมื่อ 20 June 2012.
  15. Marantz Henig, Robin. Pandora's Baby, Houghton Mifflin, 2004, p 134
  16. Prospettive nel Mondo,1 August 1978; Luciani, Opera Omnia, vol. 8, pp. 571–72.
  17. Eley, Adam (23 July 2015). "How has IVF developed since the first 'test-tube baby'?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 9 August 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้