หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์

หลุยส์ ทอมัส กันนิส ลีโอโนเวนส์ (อังกฤษ: Louis Thomas Gunnis Leonowens; 25 ตุลาคม 1856 – 17 กุมภาพันธ์ 1919) นักธุรกิจชาวอังกฤษผู้เป็นบุตรชายของแอนนา ลีโอโนเวนส์ หรือ แหม่มแอนนา พระอาจารย์สอนภาษาอังกฤษของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทั้งสองเป็นตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม ที่ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1944

หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์
เกิด25 ตุลาคม ค.ศ. 1856
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 (62 ปี 115 วัน)
ลอนดอน
สาเหตุเสียชีวิตไข้หวัดใหญ่สเปน
คู่สมรสแคโรไลน์ น็อกซ์
รีตา เมย์
บุตรโทมัส "จอร์จ" น็อกซ์ ลีโอโนเวนส์
แอนนา แฮร์เรียต ลีโอโนเวนส์
บุพการี
อาคารที่ตั้งของ บริษัท หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ จำกัด
หลุมฝังศพของหลุยส์ที่สุสานบรอมพ์ตัน

เดินทางมาสยามพร้อมมารดาเมื่ออายุ 7 ปี ในเวลาต่อมาหลุยส์ได้เข้ารับราชการเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ก่อนจะลาออกจากราชการมาเปิดบริษัทแลกเปลี่ยนสินค้าที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันคือ บริษัท หลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ จำกัด

อาชีพ แก้

ใน ค.ศ. 1881 ขณะอายุได้ 25 ปี หลุยส์เดินทางกลับมายังสยามอีกครั้งหลังเดินทางออกจากสยามไปหลายปีโดยได้รับตำแหน่งกัปตันในกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาใน ค.ศ. 1884 เขาลาออกจากกองทัพและเริ่มต้นธุรกิจค้าไม้สักกระทั่ง ค.ศ. 1905 หลุยส์ได้ตั้งบริษัท หลุยส์ โทมัส ลีโอโนเวนส์ จำกัดขึ้นก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ จำกัด ในภายหลัง เป็นธุรกิจสัมปทานไม้สัก รับเป็นผู้แทนบริษัทผลิตซีเมนต์ นำเข้าแชมเปญ วิสกี้ เครื่องพิมพ์ดีด ผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรม และธุรกิจประกันภัย[1] และได้เดินทางออกจากสยามเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อ ค.ศ. 1913 โดยมิได้เดินทางกลับมายังสยามอีกเลยจนสิ้นชีวิต

ชีวิตส่วนตัว แก้

หลุยส์ โทมัส กันนิส ลีโอโนเวนส์แต่งงานทั้งหมด 2 ครั้งกับ

  • แคโรไลน์ น็อกซ์ (1856–1893) บุตรสาวคนเล็กของเซอร์โทมัส ยอร์ช น็อกซ์ กงสุลอังกฤษประจำสยามผู้มีชีวิตอยู่ระหว่าง 1824 ถึง 1887 และภรรยา ปราง เย็น สตรีชั้นสูงชาวสยาม[2][3][4][5][6] ทั้งคู่มีบุตรชาย 1 คนคือ โทมัส ("ยอร์ช") น็อกซ์ ลีโอโนเวนส์ (1888–1953) ซึ่งตั้งชื่อตามผู้เป็นตาและบุตรสาว 1 คนคือ แอนนา แฮร์เรียต ลีโอโนเวนส์ (1890–?) ซึ่งตั้งชื่อตามผู้เป็นย่า[7]
  • รีตา เมย์ (1880–1936) แต่งงานเมื่อ ค.ศ. 1900 ทั้งคู่ไม่มีบุตร–ธิดาด้วยกัน[8]

หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษระหว่างเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกของไข้หวัดใหญ่สเปน โดยศพของเขาถูกฝังเคียงข้างกับภรรยาคนที่สองที่สุสานบรอมพ์ตันในกรุงลอนดอน

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติบริษัทหลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ จำกัด
  2. Bradford Smith, "It Was Love, Love, Love", The New York Times, 16 September 1962
  3. R. J. Minney, Fanny and the Regent of Siam (The World Publishing Company, 1962
  4. "A Dark Tragedy in Siam: The Execution of Pra Preecah — A Native Nobleman Beheaded for Marrying A British Officer's Daughter—How a Cruel King Can Retain A Grudge For Years—Medieval Horrors in the Nineteenth Century". The New York Times. 12 April 1880.
  5. W. S. Bristowe, Louis and the King of Siam (Chatto and Windus, 1976)
  6. Alec Waugh, Bangkok: Story of a City (W. H. Allen, 1970), pages 84-85
  7. The Wheaton College Archives & Special Collections: Margaret and Kenneth Landon Papers, 1824–2000, "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  8. W. S. Bristowe, Louis and the King of Siam (Chatto and Windus, 1976), page 101