หลุมพี
Eleiodoxa conferta
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
วงศ์ย่อย: Calamoideae
เผ่า: Calameae
สกุล: Eleiodoxa
(Becc.) Burret[1]
สปีชีส์: E.  conferta
ชื่อทวินาม
Eleiodoxa conferta
(Griff.) Burret

หลุมพี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr. ) เป็นปาล์มชนิดหนึ่ง พวกปาล์มลำต้นสั้นแตกหน่อเป็นกอใหญ่ออกดอกผลแล้วตายไป ขึ้นในที่ลุ่มน้ำขังและป่าพรุ ออกดอกตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน ออกผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - มีนาคม ตั้งแต่เริ่มออกช่อดอกจนถึงผลสุก ใช้ระยะเวลา ประมาณ 18 - 20 เดือน

หลุมพี เป็นพืชที่มีความสัมพันธ์ กับระบบนิเวศ ในป่าพรุอย่างเหนียวแน่น โดยสภาพทางธรรมชาติเป็นไม้ชั้นล่างในป่าพรุขึ้นได้และเจริญเติบโตได้ดีในที่มีร่มเงา และต้องมีน้ำขังตลอดปี ลักษณะของต้นหลุมพีออกเป็นกอใหญ่ แต่ละต้นออกผล แต่ละต้นออกผลครั้งเดียวแล้วตาย ต้นอื่นซึ่งเป็นหน่อในกอเดียวกัน จะออกผลหมุนเวียน กันต่อไป ทำให้พื้นที่ยึดครองของหลุมพี ขยายกว้างขึ้นตลอด สามารถเก็บความชื้นและน้ำไว้ได้ ซึ่งเอื้อต่อการดำรงชีวิต ของพืชและสัตว์ชนิดอื่นๆในป่าพรุ ที่ผูกพันเป็น ห่วงโซ่อาหาร เกิดผลดี ต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมโดยรวม อันเป็นปัจจัยหลักในการ ดำรงชีวิตของชุมชนรอบป่าพรุ

ลักษณะ

แก้
  • ใบ ประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ ยาว300 - 500 ซม. กว้าง 100 - 200 ซม. ก้านใบและกาบใบมีหนามยาวแหลม เรียงเป็นแผง มีใบย่อยมาก ใบย่อยเรียวยาว ปลายแหลม เรียงเป็นระเบียบสองข้างก้านช่อใบ
  • ดอก เล็กสีแดง ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายลำ ยาว 50 -100 ซม. มีกาบหุ้มช่อหลายกาบ
  • ผล รูปไข่กลับ ปลายตัด กว้าง ยาวประมาณ 2.5 ซม. เปลือกเป็นเกล็ดเล็กๆ เรียงเกยซับกัน มีรสเปรี้ยว นิยมนำมาดอง

อ้างอิง

แก้
  1. Burret, Notizblatt des Botanischen Gartens und Museums zu Berlin-Dahlem 15:733. 1942