หลวงพ่อดำ วัดสระทะเล

พระพุทธใบกริชจักราฟ้า สุริยะนาท มหาพุฒาจารย์เจ้า ผ่องอรุณอรุโณทัย ดาระดาษน้ำฟ้า บวรนาทธิราชเจ้า หรือ "หลวงพ่อดำ วัดสระทะเล" เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวอำเภอไพศาลี ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารจักราฟ้า อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่า หลวงพ่อดำ วัดสระทะเล น่าจะสร้างขึ้นในสมัย กรุงสุโขทัย และมีอายุประมาณ 700 ปีเลยมาแล้ว และด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อดำทำให้เป็นที่กล่าวขานไปทั่ว

หลวงพ่อดำ
ชื่อเต็มพระพุทธใบกริชจักราฟ้า สุริยะนาท มหาพุฒาจารย์เจ้า ผ่องอรุณอรุโณทัย ดาระดาษน้ำฟ้า บวรนาทธิราชเจ้า
ชื่อสามัญหลวงพ่อดำ
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางขัดสมาธิ ศิลปะสุโขทัย
ความกว้าง2 เมตร 24 เซนติเมตร
ความสูง2 เมตร 70 เซนติเมตร
วัสดุปูนปั้น ก่ออิฐและศิลาแลง
สถานที่ประดิษฐานวิหารจักราฟ้า ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
ความสำคัญพระพุทธรูปสำคัญของอำเภอไพศาลี
หมายเหตุเปิดให้สักการะทุกวัน
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ชาวบ้านในชุมชนให้ความศรัทธาหลวงพ่อดำอย่างเต็มเปี่ยมในความศักดิ์สิทธิ์ ใครมากราบไหว้ขออะไรก็จะได้สิ่งนั้นสมความปรารถนา ทุกวันจึงมีชาวบ้านพากันมารำวงแก้บนรอบพระพุทธรูปหลวงพ่อดำอยู่เป็นประจำ วัดสระทะเลก็มีโรงละครรับจ้างรำถวายแก้บนด้วยเช่นกันสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อดำ มิได้เป็นอุโบสถเหมือนวัดอื่น เป็นเพียงอาคารสีขาวเปิดโล่ง มีชื่อว่า "จักราฟ้าวรวิหาร"

ประวัติ แก้

ประวัติการสร้าง แก้

สร้างในสมัยใดไม่เป็นที่ปรากฏชัด แต่ทราบตามคำสันนิษฐานของกรมศิลปากรว่า สร้างในสมัยกรุงสุโขทัย มีอายุประมาณ 700 ปีเศษ ไม่ทราบเดิมชื่อวัดอะไร เมื่อแรกชาวบ้านค้นพบนั้น เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ดำทมึนกลางป่ารกชัฏอยู่สามองค์ แต่ปัจจุบันเหลืองเพียงองค์เดียว จึงเรียกขานตามกันว่า หลวงพ่อดำ วัดสระทะเล ตลอดมาจนทุกวันนี้ สมภารผู้ครองวัดนี้ ทั้งยุคต้นและยุคกลางไม่มีใครทราบ แต่พระครูนิมิตรพุทธิสาร (โอน ฐิตปัญโญ) ศิษย์เอกพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) อดีตเจ้าคณะอำเภอไพศาลี/อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกเดื่อ กล่าวว่า มีผู้เล่าขานบอกต่อกันมาว่า ในยุคท้ายก่อนจะเป็นวัดร้างนั้น มีสมภารองค์หนึ่ง ชื่อ"หลวงตาเจ๊าะ"ผิวดำร่างสูงใหญ่คล้ายคนโบราณทั่วไป และเรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง

พ.ศ. 2498 ในสมัยกำนันพูน แก้วคง ได้ชักชวนชาวบ้านนำสังกะสีมายกมุงคลุมองค์ พระให้ แต่ก็เสื่อมโทรมไปตามสภาพกาล

พ.ศ. 2518 ได้มีเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรออกมาสำรวจ สันนิษฐานว่า เป็นประติมากรรมโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย มีอายุราว 700 ปีเศษ ชาวบ้านเล่าขานบอกต่อกันมาว่า นอกจากพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้แล้ว ยังมีองค์เล็กนั่งข้างองค์ใหญ่อีก 2 องค์ คงเป็น อัครสาวกซ้ายขวา คือ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร แต่ทั้งสององค์เล็กนั้น ได้ถูกโจรกรรมหายไป นานแล้ว แม้แต่พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เหลืออยู่นี้ ก็เคยถูกบาปชน เจาะเข้าที่พระนาภี ค้นหาทองคำแล้วใช้ของแข็ง ตีที่พระกรข้างขวา หักหลุดขึ้นไปเกือบถึงช่องพระกัจฉะ แล้วตีเลยขึ้นไป ถึงพระพักตร์ ถูกบริเวณพระนาสิกและพระโอษฐ์แตกหลุดออกมา จนเห็นพระนาสิกและพระโอษฐ์ชั้นในจนถึงทุกวันนี้ สวนเดนทรชนที่ทำร้ายพระพุทธรูปนั้น หลบหนีไปที่"บ้านดอนคา" อำเภอท่าตะโก แต่ยังไม่ทันเข้าหมู่บ้าน กรรมก็ตามสนองถูกลอบทำร้ายด้วยอาวุธปืนตายอย่างอนาถ ส่วนองค์พระที่ชำรุดนั้นได้มีพ่อค้าชาวจีน ชื่อนายพันเล้ง ค้าขายอยู่ในตลาดบ้านพังม่วง หรือตลาดโคกเดื่อปัจจุบัน บริจาคปูนให้ช่างซ่อมพระกรขวา และพระนาภีสมบูรณ์ดีดังเดิม ส่วนพระพักตร์นั้นช่างไม่กล้าซ่อม จึงเป็นรอยบากแตกให้เห็นถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2522-2525 ได้มีกลุ่มผู้ศรัทธา ประกอบด้วย 1.นายซ้ง พัฒนวสันต์พร 2.นายมาก เงินงาม 3.นายฟ้อน จิตรทรัพย์ และ4.นายผล เติมทรัพย์ พร้อมชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างอาคารยกมุงครอบองค์พระไว้ และได้ช่วยกันต่อเติมโดยรอบองค์พระเป็นอาคารมุงกระเบื้อง และบางส่วนมุงสังกะสีเวลาฝนตกเกิดการรั่วซึม

และพ.ศ. 2553 มีสามีและภรรยา ชื่อนายฏรงค์กร สมตน และนางทิพารัตน์ สมตน รวมทั้งผู้มีจิตศรัทธาได้ ร่วมมือร่วมใจกันสร้างวิหารหลังใหม่ถวาย แทนศาลาหลังเก่าซึ่งผุพังไปตามกาลเวลา วิหารหลังใหม่ออกแบบโดย นายฎรงศ์กร สมตน ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 12 มูลค่าในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน5.000.000 บาท(ห้าล้านบาทถ้วน) และได้มีการทำพิธีถวายวิหาร แด่หลวงพ่อดำ พร้อมงานฉลองสมโภชน์ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พุทธลักษณะ แก้

หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปประติมากรรมปูนปั้นขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2 เมตร 20 เซนติเมตร สูง 2 เมตร 70 เซนติเมตร ปางขัดสมาธิ หันพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา มีลักษณะใบหน้าเป็นรอยบาก เชื่อว่าสมัยที่เกิดสงครามรบกับพม่า ทหารพม่าคาดว่าข้างในองค์หลวงพ่อดำมีทองคำ จึงใช้มีดดาบฟันไปที่ใบหน้าของท่าน ทำให้หน้าหลวงพ่อดำ เป็นรอยบากหลายแห่ง รูปหน้าจึงไม่สมบูรณ์เหมือนพระพุทธรูปองค์อื่น ประดิษฐานอยู่ในวิหารจักราฟ้า วัดสระทะเล อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

รูปภาพ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้