หม่อมราชวงศ์จันทร์แรมศิริโชค จันทรทัต
หม่อมราชวงศ์จันทร์แรมศิริโชค จันทรทัต (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 - 25 มกราคม พ.ศ. 2553) เป็นผู้อำนวยการธนาคารออมสินคนที่ 7 ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2533[1]
หม่อมราชวงศ์จันทร์แรมศิริโชค จันทรทัต | |
---|---|
เกิด | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 |
เสียชีวิต | 25 มกราคม พ.ศ. 2553 (79 ปี) |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน |
คู่สมรส | โอนอ่อน จันทรทัต ณ อยุธยา |
บุตร | 2 คน |
บิดามารดา | หม่อมเจ้าจันทรศิริปริวัตร จันทรทัต หม่อมจรูญ จันทรทัต ณ อยุธยา |
ประวัติ
แก้หม่อมราชวงศ์จันทร์แรมศิริโชค จันทรทัต เป็นโอรสของหม่อมเจ้าจันทรศิริปริวัตร จันทรทัตกับหม่อมจรูญ จันทรทัต ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 ในวัยเด็กท่านอยู่กับคุณตาคุณยายที่กรุงเทพฯ เรียนโรงเรียนประจำ มีโอกาสสอบชิงทุนได้ไปเรียนที่อังกฤษ[2]
การทำงาน
แก้หม่อมราชวงศ์จันทร์แรมศิริโชค จันทรทัต เริ่มรับราชการที่กระทรวงการคลัง ประจำกองเงินตราต่างประเทศ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498[3] และรับราชการมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 ได้เลื่อนเป็นหัวหน้าแผนกรัฐวิสาหกิจ กองควบคุมรายได้ ในปี พ.ศ. 2528 ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสินคนที่ 7 ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2533 ต่อจากนายดุษฎี สวัสดิ์–ชูโต
ครอบครัว
แก้หม่อมราชวงศ์จันทร์แรมศิริโชค จันทรทัต สมรสกับ โอนอ่อน จันทรทัต ณ อยุธยา (สกุลเดิม:ศิริวรรณ)
- หม่อมหลวงจันทรจุฑา จันทรทัต สมรสกับ ศกลวรรณ ค้าเจริญ
- ปิ่นจันทรา จันทรทัต ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงจันทรขจร จันทรทัต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2514 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[4]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมราชวงศ์จันทร์แรมศิริโชค จันทรทัต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน เก็บถาวร 2015-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ gsb.or.th สืบค้นเมื่อ 17-04-57.
- ↑ หม่อมราชวงศ์ จันทรแรมศิริโชค – หม่อมหลวง จันทรจุฑา จันทรทัต จากเว็บไซต์ hiclasssociety.com สืบค้นเมื่อ 17-04-57.
- ↑ หม่อมหลวงจันทรจุฑา จันทรทัต. อนุสรณ์ หม่อมราชวงศ์จันทร์แรมศิริโชค จันทรทัต. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2554. 280 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓