หมู่บ้านเมืองราม

หมู่บ้านในตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ประเทศไทย

บ้านเมืองราม หมู่ที่ 4 ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ที่สำคัญของอำเภอ เพราะอยู่ตอนกลางของตำบลจึงเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการศึกษาระดับประถมศึกษา แต่เดิมก็เคยเป็นที่ตั้งอบต.นาเหลืองอีกด้วย

ตำนาน แก้

ตามตำนานที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมานั้นมี 2 ตำนาน

  • ตำนานที่ 1

บ้านเมืองรามเดิมทีนั้นมีชื่อว่า บ้านเก๊า ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านนาเหลืองไชยรามในปัจจุบัน ต่อมา เจ้าเมืองน่านได้มาเห็นไชยภูมิที่เหมาะ จึงคิดจะตั้งเมืองแห่งใหม่ไว้ที่นี่ แต่หลังจากที่สั่งให้ทหารไปลาดตระเวนดูพื้นที่ ก็พบว่าพื้นที่บางส่วนเป็นภูเขา อาจจะไม่สามารถรองรับการขยายตัวของเมืองได้ จึงให้เป็นเพียงแค่ด่านหน้าก่อนที่จะถึงเขตเวียง แล้วย้ายผู้คนมาตั้งอยู่บริเวณที่ตั้งอยู่ ณ ปัจจุบัน

  • ตำนานที่ 2

เมื่อประมาณเกือบ 200 ปีที่แล้ว ชาวบ้านเมืองรามได้อพยพมาจากเมืองเชียงแสน โดยการนำของเจ้าชีวิตเมืองน่าน แล้วเรียกที่อยู่ใหม่นี้ว่า บ้านเมืองฮาม เพราะมีครูบาฮาม เป็นผู้นำชาวบ้านอพยพมา ซึ่งหมู่บ้านใกล้ๆ คือ บ้านน้ำครกใหม่ ก็อพยพมาจากเชียงแสนเช่นกัน แต่เป็นคนลาว ตามคำเครือผู้เฒ่าในบ้านเมืองรามที่กล่าวเชิงตำหนิ นิสัยปลิ้นปล้อนของชาวบ้านน้ำครกใหม่ว่า "ลาวเจียงแสน อู้หลายลิ้น ปี้นหลายเสียง" ซึ่งปัจจุบันผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านน้ำครกใหม่ยังคงพูดสำเนียง คล้ายภาษาลาวอยู่

สถานที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตั้งอยู่ทางตอนกลางของตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

เป็นที่ราบลุ่มลำน้ำแม่น้ำน่าน ลาดเอียงจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก

ศาสนา แก้

ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา มีวัดประจำหมู่บ้าน คือ วัดเมืองราม

ประเพณีที่สำคัญ แก้

แหล่งน้ำสำคัญ แก้

แหล่งน้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำน่าน โดยไหลผ่านทางตะวันตกของหมู่บ้าน นำน้ำมาใช้อุปโภคบริโภคโดยการใช้โรงสูบน้ำ

อาชีพ แก้

ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน และข้าราชการเป็นส่วนน้อย

เหตุการณ์ที่สำคัญ แก้

ในเวลา 12.00น. วันจันทร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ เสด็จมาตรวจดูการดำเนินงานของโรงเรียนพระปริยัติศาสนภิพัฒน์วัดเมืองราม[1]

สถานที่สำคัญภายในหมู่บ้าน แก้

บุคคลสำคัญของหมู่บ้าน แก้

อ้างอิง แก้