หน่วยคำควบ (อังกฤษ: portmanteau) ตามความหมายทั่วไปคือการหลอมคำอย่างหนึ่ง[1] ซึ่งนำบางส่วนของคำหลายคำมาประกอบรวมกันเป็นคำใหม่[1][2][3] เช่น ในภาษาอังกฤษ คำ smog ประกอบขึ้นจากการหลอมคำ smoke เข้ากับคำ fog[2][4] หรือคำ motel ประกอบขึ้นจากการหลอมคำ motor เข้ากับคำ hotel[5] เป็นต้น การควบหน่วยคำมีลักษณะคล้ายกับการหดตัวหรือการลดรูปทางเสียง (contraction) แต่รูปหดตัวประกอบขึ้นจากคำที่อาจปรากฏแยกและเรียงกันก็ได้ เช่น ในภาษาอังกฤษ คำ I และคำ have หลอมรวมและหดตัวเป็น I've เป็นต้น ในขณะที่หน่วยคำควบเกิดจากการประกอบรวมคำที่มีอยู่เดิมตั้งแต่สองคำขึ้นไปโดยเชื่อมโยงเข้าหามโนทัศน์เดียว หน่วยคำควบยังแตกต่างจากคำประสม (compound) ตรงที่คำประสมไม่ได้ตัดทอนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นเค้าศัพท์ของคำที่จะมาประกอบรวมกัน เช่น ในภาษาอังกฤษ คำ starfish ถือเป็นคำประสมเนื่องจากประกอบรวมรูปคำดั้งเดิมไว้ทั้งหมด กล่าวคือ คำ star และคำ fish

ในทางภาษาศาสตร์ หน่วยคำควบคือรูปหน่วยคำเดียวที่ได้รับการวิเคราะห์ว่ามาจากหน่วยคำชั้นใต้ตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป[6][7][8][9] เช่น ในภาษาฝรั่งเศส รูปหน่วยคำ au /o/ ประกอบขึ้นจากหน่วยคำ à ควบกับหน่วยคำ le หรือรูปหน่วยคำ du /dy/ ประกอบขึ้นจากหน่วยคำ de ควบกับหน่วยคำ le[6] เป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Garner's Modern American Usage เก็บถาวร 27 กุมภาพันธ์ 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 644.
  2. 2.0 2.1 "Portmanteau". Merriam-Webster Offline Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2008.
  3. "Portmanteau word". The American Heritage Dictionary of the English Language: Fourth Edition. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2008.
  4. "portmanteau word". Webster's New World College Dictionary. Cleveland: Wiley. 2010. ISBN 978-0-7645-7125-1.
  5. "Portmanteau word". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2013. สืบค้นเมื่อ 23 August 2013.
  6. 6.0 6.1 "What is a portmanteau morph?". LinguaLinks Library. 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มิถุนายน 2008.
  7. Thomas, David (1983). "An invitation to grammar". Summer Institute of Linguistics. Bangkok: Mahidol University: 9. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  8. Crystal, David (1985). "A dictionary of linguistics and phonetics" (2nd ed.). New York: Basil Blackwell: 237. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. Hartmann, R.R.K.; Stork, F.C. (1972). "Dictionary of language and linguistics". London: Applied Science: 180. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)