หนาด

สปีชีส์ของพืช
หนาด
Sambong (Blumea balsamifera)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
อาณาจักรย่อย: Tracheobionta
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
ชั้นย่อย: Asteridae
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
วงศ์ย่อย: Asteroideae
เผ่า: Inuleae
สกุล: Blumea
สปีชีส์: B.  balsamifera
ชื่อทวินาม
Blumea balsamifera
(L.) DC.

หนาด หรือ หนาดใหญ่ หรือ หนาดหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์: Blumea balsamifera (L.) DC. ชื่ออื่นๆ คือ คำพอง (เหนือ) ผักชีช้าง พิมเสน (กลาง) ใบหรม (ใต้) เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Compositae ใบรูปวงรีแกมขอบขนานผิวใบทั้งสองด้าน มีขนละเอียดหนาแน่นคล้ายเส้นไหม ปลายใบและโคนใบแหลมขอบใบหยักแบบซี่ฟันหรือฟันเลื่อย ใบมีกลิ่นหอมฉุน ดอกช่อ ดอกย่อยสีเหลืองมีริ้วประดับสีเขียวหลายชั้น ผลเดี่ยวเป็นเส้นยาวสีน้ำตาลมีขนสีขาวปลิวตามลมได้[1]

ในใบพบสาร cryptomeridion มีฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหลอดลม ถ้านำไปกลั่นด้วยไอน้ำจะได้สารระเหยง่ายและสารกลุ่มฟลาโวนอยด์[2]

หนาดเป็นพืชสมุนไพร ใบ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นยาห้ามเลือด ยาเจริญอาหาร แก้โรคไขข้ออักเสบ เป็นยาบำรุงหลังคลอด แก้ไข้ ลดความดันโลหิต ขับพยาธิ ระงับประสาท ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้มุตกิด ใบสด หั่นเป็นฝอยมวนกับยาฉุน สูบแก้ริดสีดวงจมูก ยาชงจากใบ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ขับเหงื่อ ขับเสมหะ และระดู ใช้ผสมในน้ำอาบสมุนไพรหลังคลอด บำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื้น แก้หิด ทั้งต้น แก้ไข้ แก้เจ็บหน้าอก แก้ปวดท้อง แก้อหิวาตกโรค ขับพยาธิ ลดความดันเลือด ระงับประสาท ใบและยอดอ่อน ต้มกินเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงจมูก ขับลมในลำไส้ ขับพยาธิ แก้บิด บำรุงกำลัง หรือบดเป็นผงผสมสุรา ใช้พอกหรือทาแผลฟกช้ำ ฝี บาดแผลสด ห้ามเลือด แก้ปวดหลังเอว ปวดข้อ และแก้กลากเกลื้อน นำมากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำมาทำเป็นยากิน แก้ปวดท้อง ท้องร่วง หรือขับลม ใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ[2] นอกจากนั้น ในจีนและฟิลิปปินส์ใช้พืชชนิดนี้เป็นยาสมุนไพรเช่นกัน

อ้างอิง แก้

  1. มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 165
  2. 2.0 2.1 หนาด-ฐานข้อมูลเครื่องยา