สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์
สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์ (อังกฤษ: Space Jam) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวตลกกีฬาในรูปแบบคนแสดงผสมกับแอนิเมชัน ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1996 กำกับโดย โจ พิตกา และแสดงนำโดย ไมเคิล จอร์แดน นักกีฬาบาสเกตบอล[5] ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวสมมติเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการเลิกเล่นครั้งแรกของจอร์แดนกับเอ็นบีเอ ในปี ค.ศ. 1993 และการกลับมาของเขาในปี ค.ศ. 1995 ซึ่งเขาถูกเกณฑ์โดย ลูนีย์ตูนส์ เพื่อช่วยเหลือพวกเขาชนะการแข่งขันบาสเก็ตบอลกับกลุ่มเอเลียนที่ตั้งใจจะจับพวกเขาไปเป็นทาส เพื่อเป็นเครื่องเล่นในสวนสนุกของพวกเขา เวย์น ไนต์และเทเรซา แรนเดิล ปรากฏตัวในบทบาทสมทบ ขณะที่ บิลลี เวตส์, ดี แบรดลีย์ เบเกอร์, แคท ซูซีและแดนนี เดวิโต มีชื่อเป็นผู้ให้เสียงตัวละคร
สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์ | |
---|---|
ไฟล์:Handbill Space jam.jpg | |
กำกับ | โจ พิตกา |
เขียนบท | |
สร้างจาก | ลูนีย์ตูนส์ โดย วอร์เนอร์บราเธอส์ |
อำนวยการสร้าง | |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | ไมเคิล แชปแมน |
ตัดต่อ | เชลดอน คาห์น |
ดนตรีประกอบ | เจมส์ นิวตัน ฮาวเวิร์ด |
บริษัทผู้สร้าง |
|
ผู้จัดจำหน่าย | วอร์เนอร์บราเธอร์ส[1] |
วันฉาย |
|
ความยาว | 88 นาที |
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
ทำเงิน | 250.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] |
ต่อจากนี้ | สเปซแจม สืบทอดตำนานใหม่ (2021) |
สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างโดย วอร์เนอร์บราเธอร์สฟีเจอร์แอนิเมชัน ฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 จัดจำหน่ายโดย วอร์เนอร์บราเธอร์ส ภายใต้แบนเนอร์ แฟมิลีเอนเทอร์เทนเมนต์[1] ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศ โดยทำเงินมากกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก กลายเป็นภาพยนตร์บาสเกตบอลที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลและเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่สิบในปี ค.ศ. 1996 ภาพยนตร์ได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลายจากนักวิจารณ์ ซึ่งถูกแบ่งเป็นการรวมจอร์แดนและอาชีพของเขาเข้ากับตัวละคร ลูนีย์ตูนส์ แม้ว่าความสำเร็จทางเทคนิคของการผสมผสานระหว่างคนแสดงและแอนิเมชันนั้นได้รับการยกย่อง เช่น ฉากบาสเก็ตบอล[6]
ภาพยนตร์แอนิเมชันข้ามฝั่งกับแอนิเมชันชุด ทีนไททันโก! ชื่อว่า ทีนไททันโก! ซีสเปซแจม ออกอากาศทางช่อง การ์ตูนเน็ตเวิร์ค เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2021[7] ขณะที่ภาพยนตร์ภาคต่อยืนเดี่ยวชื่อว่า สเปซแจม สืบทอดตำนานใหม่ แสดงนำโดย เลอบรอน เจมส์ ฉายเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2021[8]
โครงเรื่อง
แก้ในปี ค.ศ. 1973 เด็กชายไมเคิล จอร์แดน ที่ชื่นชอบกีฬาบาสเกตบอล ตั้งแต่ในสมัยวัยเด็ก จอร์แดนใฝ่ฝันอยากเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลและเล่นให้กับทีมนอร์ธแคโรไลน่าและเอ็นบีเอ จากชีวิตในวัยเด็กที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักกีฬาบาสเกตบอล ทำให้จอร์แดนประสบความสำเร็จกับกีฬาชนิดนี้กับการเล่นในลีกเอ็นบีเอ สังกัดทีมชิคาโก บูลส์จนถึงจุดอิ่มตัวของการเป็นนักกีฬาบาสเกตบอล จอร์แดนประกาศเลิกเล่นบาสเกตบอลอาชีพและหันไปเล่นกีฬาเบสบอลเหมือนกับพ่อของเขาแทน
ิและตัดภาพมายังสวนสนุกโมรอนในห้วงอวกาศ ไม่ประสบความสำเร็จกับการเปิดเครื่องเล่นในสวนสนุกให้ชาวเอเลี่ยนทั้งหลายเข้าเที่ยวชม บอสใหญ่ของสวนสนุกต้องการหาเครื่องเล่นชิ้นใหม่ที่สามารถดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ที่มีความบ๊องส์และเพี้ยนอย่างถึงขีดสุด และได้พบกับพวกบั๊กส์ บันนี่และลูนีย์ทูนส์ จึงอยากได้มาไว้ในครอบครองสำหรับเป็นของเล่นชิ้นใหม่และเป็นตัวดึงดูดแก่สวนสนุก จึงมอบหมายให้เอเลี่ยนแคระจำนวน 5 ตัวที่ประกอบไปด้วยเอเลี่ยนสีส้มซึ่งเป็นตัวหัวหน้า เอเลี่ยนสีม่วง เอเลี่ยนสีแดง เอเลี่ยนสีเขียวและเอเลี่ยนสีน้ำเงินมายังโลกแห่งลูนีย์ทูนส์ ในการนำกลับไปยังสวนสนุกโมรอน
หลังจากหันหลังให้กับกีฬาเบลบอลและมาเริ่มต้นกับกีฬาเบลบอล แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จอร์แดนทำแต้มได้ไม่ดีนักจากการแข่งขัน จอร์แดนตีไม่โดนลูกเลยสักครั้ง จนสไตรค์ 3 ครั้งและออกจากการแข่งขัน และได้พบกับสแตน โพโดแล็ค ที่เป็นประชาสัมพันธ์คนใหม่ของสนามกีฬาบารอนที่จะคอยดูแลจอร์แดนทุกอย่างตามที่เขาต้องการ แต่กลับกลายเป็นสร้างความวุ่นวายและรำคาญให้กับจอร์แดนเป็นอย่างมาก
เอเลี่ยนแคระทั้ง 5 พายานอวกาศจากสวนสนุกโมรอนมายังโลกของลูนีย์ทูนส์ตามคำสั่งของบอสใหญ่ที่อยู่ใต้ดิน และเมื่อยานอวกาศลงจอดเอเลี่ยนแคระทั้ง 5 ก็พบกับบั๊กส์ บันนี่และนายพรานที่ไล่กวดกันเป็นกิจวัตร เอเลี่ยนสีส้มแจ้งถึงสาเหตุของการมาแก่บั๊กส์ บันนี่ ที่ต้องการได้ตัวบั๊กส์ บันนี่และเพื่อน ๆ ไปยังสวนสนุกโมรอน
ผลงานด้านเบสบอลของจอร์แดนที่ทำสถิติเฉลี่ยต่ำสุดที่ 214 คะแนน ทำให้เจฟ ลูกชายของเขาถูกเพื่อน ๆ ล้อเลียนถึงฝีมือด้านเบสบอลของจอร์แดน สถานีโทรทัศน์ออกข่าวกีฬาผลงานด้านเบสบอลของเขาและแนะนำให้เลิกเล่นเบสบอลและไปเล่นกีฬากอล์ฟแทน เจฟและลูก ๆ อีก 2 คนดูข่าวกีฬาในโทรทัศน์และให้คำแนะนำด้านทักษะการเล่นเบสบอลแก่จอร์แดนก่อนจะเปลี่ยนมาดูการ์ตูนของลูนีย์ทูนส์แทน แต่ภาพการ์ตูนในโทรทัศน์กลับไม่มีตัวการ์ตูนแสดง กลายเป็นภาพว่างเปล่าแทน
เหล่าตัวการ์ตูนลูนีย์ทูนส์ที่หายไปจากจอโทรทัศน์ กำลังประชุมเกี่ยวกับการกลายเป็นนักโทษของเหล่าเอเลี่ยนแคระ ที่จะพาทั้งหมดไปยังสวนสนุกโมรอน บั๊กส์ บันนี่ขอต่อรองเหล่าเอเลี่ยนแคระด้วยการแข่งขันบาสเกตบอล ถ้าผลการแข่งขันออกมาแพ้ ลูนีย์ทูนส์ทั้งหลายจะต้องกลายเป็นนักโทษและของเล่นชิ้นใหม่ของสวนสนุกโมรอน แต่เหตุการณ์กลับกลายเป็นพวกเอเลี่ยนแคระทั้งหมด แย่งชิงเอาพรสวรรค์ด้านบาสเกตบอลจากนักกีฬาบาสเกตบอลเอ็นบีเอทั้ง 5 คนในการแข่งขันลีกเอ็นบีเอ
หลังจากแย่งชิงเอาพรสวรรค์มาจากนักบาสเกตบอลเอ็นบีเอ เอเลี่ยนแคระทั้ง 5 ก็กลายสภาพจากเอเลี่ยนตัวเล็ก ๆ กลายเป็นมอนสเตอร์ยักษ์ ที่มีพลังและพรสวรรค์เต็มเปี่ยม ทำให้บั๊กส์ บันนี่และลูนีย์ทูนส์ต้องหาผู้ช่วยในการแข่งขันบาสเกตบอลกับเอเลี่ยนแคระ และไมเคิล จอร์แดนก็คือบุคคลที่จะมาช่วยเหลือเหล่าลูนีย์ทูนส์
จอร์แดนและสแตน มาออกรอบตีกอล์ฟพร้อมกับแลร์รี่ หลังจากตีกอล์ฟจนได้โฮลอินวันแรกในชีวิต แต่ภายหลังจากล้วงลูกกอล์ฟจากหลุม จอร์แดนกลับถูกดูดหายลงไปในหลุมแทนและไปโผล่ที่โลกของลูนีย์ทูนส์ จอร์แดนเผชิญหน้ากับเหล่าตัวการ์ตูนและบั๊กส์ บันนี่ และถูกขอร้องให้ช่วยเหลือในการแข่งบาสเกตบอลกับเอเลี่ยนแคระ
รายชื่อนักแสดง
แก้นักแสดงหลัก
แก้- ไมเคิล จอร์แดน แสดงเป็นตัวของตัวเอง
- เวย์น ไนต์ แสดงเป็น สแตน โพโดแลค
- เทเรซ่า รัลดิล แสดงเป็น จูนิต้า จอร์แดน
- แมนเนอร์ วอร์ชิงตัน แสดงเป็น เจฟฟี่ จอร์แดน
- อิริค กอร์ดอร์น แสดงเป็น มาร์คัส จอร์แดน
- เพนนี เบ บริดจ์ แสดงเป็น จัสมิส จอร์แดน
- บิล เมอร์รี่ แสดงเป็นตัวของตัวเอง
- ทอม เบอร์รี่ แสดงเป็น เจมส์ จอร์แดน
- แลร์รี่ เบิร์ด แสดงเป็นตัวของตัวเอง
- ชาร์ลส์ บาร์คลี แสดงเป็นตัวของตัวเอง
- แพททริก อิววิง แสดงเป็นตัวของตัวเอง
- แลร์รี จอห์นสัน แสดงเป็นตัวของตัวเอง
- มักซี โบกส์ แสดงเป็นตัวของตัวเอง
- ชอน แบรดลี แสดงเป็นตัวของตัวเอง
นักแสดงทีมลูนีย์ทูนส์
แก้- บั๊กส์ บันนี่
- โลล่า บันนี่
- แดฟฟี่ ดั๊ก
- ทวิสตี้
- แทสเมเนี่ยน เดวิล
- ซิลเวสเตอร์
- ซิลเวสเตอร์ จูเนียร์
- โรด รันเนอร์
- พอร์คกี้ พิก
- ไวลี อี ไคโยตี้
- ไมเคิล จอร์แดน ผู้เล่นสังกัดทีม ชิคาโก บูลส์
- ชาร์ลส์ บาร์คลี ผู้เล่นทีม ฟีนิกส์ ซันส์
- แพททริก อิววิง ผู้เล่นทีม นิวยอร์ก นิกส์
- แลร์รี จอห์นสัน ผู้เล่นทีม ชาล็อต ฮอร์เนตส์ (ปัจจุบันคือ นิวออลีนส์ / โอคลาโฮมา ฮอร์เนตส์)
- มักซี โบกส์ ผู้เล่นทีม ชาล็อต ฮอร์เนตส์ (ปัจจุบันคือ นิวออลีนส์ / โอคลาโฮมา ฮอร์เนตส์)
- ชอน แบรดลี ผู้เล่นทีม ฟิลลาเดลเฟีย เซเว่นตี้ซิกเซอรส์
- แลร์รี เบิร์ด อดีตผู้เล่นทีม บอสตัน เซลติกส์
ทีมพากย์เสียง
แก้- บิลลี่ เวตส์ พากย์เสียง บั๊กส์ บันนี่
- ดี บาร์คเล่ บาร์คเกอร์ พากย์เสียง แดฟฟี่ ดั๊ก, แทสมาเนี่ยน เดวิล, บลู
- แดลเนียน ดีวีโต พากย์เสียง มิสเตอร์แฮมเมอร์
- บ๊อบ เบอร์จิน พากย์เสียง พอร์คกี้ พิก, มาร์วิน เดอะ มาร์ติน, ทวิสตี้, เบอร์ตี้
- บิล ฟาร์เมอร์ พากย์เสียง ซิลเวสเตอร์
เพลงประกอบภาพยนตร์
แก้เพลงประกอบภาพยนตร์ สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์ ประพันธ์โดยเจมส์ นิวตัน ฮาร์วาร์ด รวมทั้งสิ้น 14 เพลง ซึ่งเพลงที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในภาพยนตร์เรื่องนี้มีทั้งหมด 4 เพลง ได้แก่ Fly Like an Eagle, The Winner, Space Jam และ I Believe I Can Fly ซึ่งสำหรับ Space Jam นั้น ถูกนำมาเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เปิดตัวไตเติลของภาพยนตร์เรื่องนี้ และเพลงอื่น ๆ อีกภายในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ สเปซแจม ทะลุมิติมหัศจรรย์ ดังนี้
- Fly Like an Eagle โดย Seal
- The Winner โดย Coolio
- Space Jam โดย Quad City DJ's
- I Believe I Can Fly โดย R. Kelly
- Hit'em High (the Monstar's Anthem) โดย Busta Rhymes, Coolio, LL Cool J, Method Man และ B Real
- I Found My Smile Again โดย D'angelo
- For You I Will โดย Monica
- Upside Down (Round and Round) โดย Salt-N-Pepa
- Givin' U All That I've Got โดย Robin S.
- Basketball Jones โดย Barry White & Chris Rock
- I Turn to You - โดย All-4-One
- All of My Days โดย Changing Faces ร่วมกับ R. Kelly และ Jay-Z
- That's the Way โดย Spin Doctors ร่วมกับ Biz Markie
- Buggin โดย Bugs Bunny
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Space Jam". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2019. สืบค้นเมื่อ December 12, 2016.
- ↑ Thomas, Bob (November 26, 1996). "What's Up, Doc? Warner Bros. Animation Thanks to 'Space Jam'". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2021. สืบค้นเมื่อ April 30, 2021.
Max Howard, president of Warner Bros. Feature Animation, admitted he didn't expect the impressive showing of Space Jam:
- ↑ Twenty years later, ‘Space Jam’ is the movie we never knew we needed. เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 18, 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Washington Post. Retrieved January 20, 2019.
- ↑ "Space Jam (1997)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2021. สืบค้นเมื่อ April 4, 2021.
- ↑ "Belize has new Films Commissioner". channel5belize.com. กุมภาพันธ์ 11, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 4, 2014.
- ↑ Space Jam (1996) (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-07-11
- ↑ Liu, Narayan (May 27, 2021). "Cartoon Network Goes Meta with Teen Titans Go! See Space Jam Movie". Comic Book Resources. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2021. สืบค้นเมื่อ May 27, 2021.
- ↑ Pedersen, Erik (February 21, 2019). "Warner Bros Dates 'Space Jam 2', Shifts 'Annabelle' Sequel & 'Godzilla Vs. Kong'". Deadline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2019. สืบค้นเมื่อ February 21, 2019.