สุลต่านอาบูบาการ์แห่งยะโฮร์

สุลต่านอาบูบาการ์แห่งยะโฮร์ (อังกฤษ: Abu Bakar, Sultan of Johor; มลายู: Sultan Sir Abu Bakar Al-Khalil ibni Al-Marhum Tun Temenggung Raja Daeng Ibrahim, المرحوم سلطان سير ابو بكر ابن المرحوم تماڠڬوڠ دايڠ إبراهيم سري مهاراج جوهر) พระองค์เป็นผู้สถาปนาราชวงศ์สุลต่านแห่งยะโฮร์ใน พ.ศ. 2428 ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ที่ปกครองยะโฮร์มาจนถึงปัจจุบัน โดยแยกตัวออกมาจากอาณาจักรยะโฮร์-เรียว พระองค์เป็นชาวมลายูหัวสมัยใหม่และสามารถต้านทานการขยายอำนาจของอังกฤษไว้ได้ระยะหนึ่ง พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2438 ด้วยโรคปอดบวมที่ประเทศอังกฤษ[1]

สุลต่านอาบูบาการ์แห่งยะโฮร์
อัล-คะลีล (ผู้เป็นที่รัก)
สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์
สุลต่านอาบูบาการ์
สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์
ครองราชย์13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1895
ราชาภิเษก29 กรกฎาคม ค.ศ. 1886
ก่อนหน้าสุลต่านอาลีแห่งยะโฮร์
ถัดไปสุลต่านอิบราฮิมแห่งรัฐยะโฮร์
มหาราชาแห่งรัฐยะโฮร์
ครองราชย์30 มิถุนายน ค.ศ. 1868 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886
ก่อนหน้าเตอเมิงกง แดง อิบราฮีม
มหาราชาแห่งรัฐยะโฮร์ (โดยพฤตินัย)
ถัดไป(หลังล้มเลิก)
สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์
เตอเมิงกงแห่งรัฐยะโฮร์
ครองราชย์2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1862 – 29 มิถุนายน ค.ศ.1868
ก่อนหน้าเตอเมิงกง แดง อิบราฮีม
ถัดไป(หลังล้มเลิก)
มหาราชาแห่งรัฐยะโฮร์
ประสูติ3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1833(1833-02-03)
อิสตานาลามา, เตอลุกเบอลางา, สิงคโปร์, นิคมช่องแคบ
สวรรคต4 มิถุนายน ค.ศ. 1895(1895-06-04) (62 ปี)
เดอะไบเลย์สโฮเทล, เคนซิงตันใต้, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
ฝังพระศพ7 กันยายน ค.ศ. 1895[1]
มากัมมะฮ์มูดียะฮ์, โจโฮร์บารู, รัฐยะโฮร์
คู่อภิเษกวันจิก บินตี มูฮัมมัด ตาฮิร
ซูบัยดะฮ์ บินตี อับดุลเลาะฮ์
ฟาติมะฮ์ บินตี อับดุลเลาะฮ์
คอดีจะฮ์ คานุม
พระราชบุตร1. อิบราฮีมแห่งรัฐยะโฮร์ (ตุนกู มะฮ์โกตา แห่งรัฐยะโฮร์)
2. ตุนกู มาเรียม
3. ตุนกู เบอซัร ปูตรี
4. ตุนกู อาซีซะฮ์
5. ตุนกู ฟาตีมะฮ์[2][fn 1]
พระนามเต็ม
วันอาบูบาการ์ อิบนี เตอเมิงกง เซอรี มาฮาราจา ตุน แดง อิบราฮีม
พระรัชกาลนาม
สุลต่าน เซอร์ อาบูบาการ์ อิบนี อัลมัรฮูม เตอเมิงกง เซอรี มาฮาราจา ตุน แดง อิบราฮีม
ราชวงศ์เตอเมิงกง
พระราชบิดาเตอเมิงกง แดง อิบราฮีม
พระราชมารดาจิก งะฮ์[3]
ศาสนาซุนนี

ประวัติ

แก้

พระองค์ประสูติในตระกูลขุนนางตำแหน่งเตเมิงกุงแห่งอาณาจักรยะโฮร์-เรียวเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2375 ปู่ของพระองค์คือเตเมิงกุงอับดุลระห์มานซึ่งเป็นผู้ยินยอมให้อังกฤษเข้ามาตั้งศูนย์การค้าที่สิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2361 และสนับสนุนให้เจ้าชายฮุสเซนขึ้นเป็นสุลต่านแห่งยะโฮร์-เรียว พระองค์ได้ตำแหน่งเตเมิงกุงแห่งยะโฮร์ใน พ.ศ. 2405 ซึ่งเป็นช่วงที่อังกฤษขยายอำนาจเข้ามาในคาบสมุทรมลายูอย่างจริงจัง พระองค์เปิดกว้างให้กับการค้ากับต่างชาติ และเดินทางไปต่างประเทศหลายครั้ง และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียใน พ.ศ. 2409 พระองค์ได้พยายามที่จะปฏิรูประบบการปกครองและพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ โดยจัดตั้งสภาที่ปรึกษา แบ่งหน่วยงานเป็นกระทรวง ทบวง กรม สนับสนุนการลงทุนของพ่อค้าชาวจีนและสามารถควบคุมไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมลายูกับชาวจีนที่จะเป็นข้ออ้างให้อังกฤษเข้ามาแทรกแซงได้ ต่อมา พระองค์ได้เป็นมหาราชาแห่งยะโฮร์และได้เป็นที่ปรึกษาของกลุ่มผู้ครองแคว้นชาวมลายูเชื้อสายมีนังกาเบาใน พ.ศ. 2421 แต่บทบาทของพระองค์ก็ถูกลดทอนลงหลังพ.ศ. 2423 เพราะอังกฤษตั้งเป็นรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันขึ้นแทน

ใน พ.ศ. 2428 พระองค์ได้สถาปนาราชวงศ์สุลต่านแห่งยะโฮร์ขึ้นหลังจากที่สุลต่านอาลีแห่งอาณาจักรยะโฮร์-เรียวสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2420 โดยสถาปนาเมืองท่าในแคว้นยะโฮร์ขึ้นเป็นเมืองหลวงชื่อโจโฮร์บะฮ์รูแปลว่ายะโฮร์ใหม่ ต่อมา ใน พ.ศ. 2433 อังกฤษสามารถเข้ามาปกครองรัฐเปรัก เซอลาโงร์ เนอเกอรีเซิมบีลัน และปะหังได้ และพยายามบีบให้ยะโฮร์เข้ามาเป็นรัฐในอารักขาเช่นเดียวกับรัฐอื่น ๆ พระองค์ได้พยายามที่จะรักษาสถานภาพของยะโฮร์ และได้เดินทางไปยังลอนดอนใน พ.ศ. 2428 เพื่อทำสนธิสัญญารับประกันความเป็นอิสระของยะโฮร์และยอมรับว่าพระองค์เป็นสุลต่าน ทำให้การขยายตัวของอาณานิคมช่องแคบหยุดชะงักตลอดรัชสมัยของพระองค์

ในช่วงท้ายของพระชนม์ชีพ พระองค์พยายามวางรากฐานให้ยะโฮร์เป็นรัฐอิสระต่อไป โดยตั้งสภาที่ปรึกษาแห่งยะโฮร์ในกรุงลอนดอนโดยมีสมาชิกเป็นชาวอังกฤษที่สนับสนุนยะโฮร์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2438 ทรงประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งยะโฮร์ ซึ่งกำหนดให้ยะโฮร์เป็นรัฐเอกราช มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ห้ามยกดินแดนของรัฐให้ชาติตะวันตก แต่พระองค์ก็เสด็จสวรรคตหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญได้เพียง 2 เดือน แต่ก็สามารถวางรากฐานให้ยะโฮร์รักษาอำนาจการบริหารภายในไว้ได้จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Winstedt, A History of Johore (1365–1941), pg 137
  2. Dewan Bahasa dan Pustaka, Kementerian Pelajaran, Dewan Sastera, pg 14
  3. Christopher Buyers, Johor10. Retrieved 20 April 2009
  • ชุลีพร พงศ์สุพัฒน์. สุลต่านอาบูบาการ์แห่งยะโฮร์ ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 33-36


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "fn" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="fn"/> ที่สอดคล้องกัน