สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล

สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล เป็นละครเวทีความยาว 2 องก์ โดยซีเนริโอ ดัดแปลงจากบทประพันธ์เรื่องสี่แผ่นดิน ของ ฯพณฯ ศาสตราจารย์พิเศษ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของราชอาณาจักรไทย และ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2528 จัดแสดงที่เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ภายในศูนย์การค้าดิ เอสพละนาด รัชดาภิเษก ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง 100 ปี ชาตกาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และเป็นส่วนหนึ่งของผลงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 กำกับการแสดงโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ[1]

สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล
กำกับถกลเกียรติ วีรวรรณ
บทภาพยนตร์ชยากร สุทินศักดิ์
พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์
วรรณถวิล สุขน้อย
พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข
พฤกษ์ เอมะรุจิ
สร้างจากบทประพันธ์เรื่อง สี่แผ่นดิน
ของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
อำนวยการสร้างถกลเกียรติ วีรวรรณ
นักแสดงนำสินจัย เปล่งพานิช
นภัทร อินทร์ใจเอื้อ
เกรียงไกร อุณหะนันทน์
รัดเกล้า อามระดิษ
อาณัตพล ศิริชุมแสง
ตี๋ ดอกสะเดา
ดนตรีประกอบสราวุธ เลิศปัญญานุช
บริษัทผู้สร้าง
วันฉายพ.ศ. 2554:
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ถึง 24 มีนาคม พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2557:
17 กรกฎาคม ถึง 13 กันยายน
พ.ศ. 2560:
8 สิงหาคม ถึง 10 ธันวาคม (พักการแสดงตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน เพื่อถวายความอาลัย และงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)

รอบการจัดแสดง เดิมกำหนดไว้ทั้งสิ้น 67 รอบ ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 แต่เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ทำให้ต้องเลื่อนการแสดงจากเป็นตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ถึง 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยมีรอบพิเศษงานกาลาแชริตี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในการทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555[2]

หลังจากได้รับการตอบรับอย่างสูงในด้านยอดผู้ชม ทางทีมงานจึงได้มีการตัดสินใจเพิ่มรอบการแสดงจนครบ 100 รอบ ให้ตรงกับ 100 ปี ชาตกาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยรอบสุดท้ายมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555 ถือว่าเป็นละครเวทีที่มีการแสดงต่อเนื่องด้วยจำนวนรอบมากที่สุดที่ซีเนริโอเคยสร้างมา

ในปี พ.ศ. 2557 ซีเนริโอได้นำละครเรื่องนี้กลับมาจัดแสดงอีกครั้งที่เดิม เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง พร้อมเปลี่ยนนักแสดงใหม่เพื่อต้องการความแปลกใหม่ เปิดแสดงระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม ถึง 13 กันยายน พ.ศ. 2557[3] รวม 50 รอบ

ในปี พ.ศ. 2560 ซีเนริโอได้นำละครเรื่องนี้กลับมาแสดงอีกครั้งที่เดิม โดยตีความใหม่เพิ่มในฉากแรกและฉากสุดท้ายให้เชื่อมโยงกับเหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[4] เริ่มแสดงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ถึง 10 ธันวาคม 2560 รวม 63 รอบ โดยไม่รวมรอบกาล่า (พักการแสดงตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม - 10 พฤศจิกายน 2560 เพื่อแสดงความความอาลัยในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จแทนพระองค์ทอดพระเนตรละครเวที "สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล" รอบปฐมทัศน์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560

นักแสดง

แก้

ทีมงานเบื้องหลัง

แก้

ดนตรีประกอบการแสดง ประพันธ์โดย สราวุธ เลิศปัญญานุช คำร้องโดย วิเชียร ตันติพิมลพันธ์ บทละครโดย ชยากร สุทินศักดิ์, พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, วรรณถวิล สุขน้อย, พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข และ พฤกษ์ เอมะรุจิ [5] มีเพลงเอกของการแสดง คือเพลง ในหลวงของแผ่นดิน ขับร้องโดย ณัฐนิช รัตนเสรีเกียรติ (พลอย วัยเด็ก) [6]

รายชื่อเพลง

แก้

องก์1

แก้
  • 1.บทนำ
  • 2.บ้านของฉัน
  • 3.วังหลวง
  • 4.ถึงคราวต้องจาก
  • 5.วันที่ไร้แม่
  • 6.ชาววัง
  • 7.ใต่ร่มพระบารมี
  • 8.ในหลวงของแผ่นดิน
  • 9.แม่ช่างหอม
  • 10.ขนมจีนแห่งบางปะอิน
  • 11.พลอย
  • 12.สายธารชีวิต
  • 12.1 ฝากใจ (2560 โดยตัดเพลง "สายธารชีวิต" ให้เหลือเพียงส่วนของเสด็จสั่งสอนพลอย)
  • 13.พลอย (Reprise)
  • 14.อาจเคยเป็นคนไม่ดี
  • 15.ดาวหางมาเยือน
  • 16.สราญรมย์
  • 17.ภาพ
  • 18.คนรุ่นใหม่
  • 19.สายธารที่ต่างกัน

องก์ 2

แก้
  • 1.Congratulations (ปี 2557 เปลี่ยนเป็นเพลง "มากมาย")
  • 2.ผิดหวัง
  • 3.ปฏิญาณ
  • 4.อาจเคยเป็นคนไม่ดี (Reprise)
  • 5.ภาพ (Reprise)
  • 6.แตกแยก
  • 7.ฉันจะอยู่เคียงข้างเธอ
  • 8.ผิดคำสาบาน
  • 9.แผ่นดินลุกเป็นไฟ
  • 10.ต้องทำทุกสิ่ง
  • 11.แม่จ๋า...อย่าร้องไห้
  • 12.เลือกใครหนอ
  • 13.รอดไหม
  • 14.แผ่นดินร้อน
  • 15.พวกขายชาติ
  • 16.บ้านของความทรงจำ
  • 17.บ้านของฉัน (Reprise)
  • 18.ฉันจะอยู่เคียงข้างเธอ (Reprise)
  • 19.แสงที่เธอศรัทธา
  • 20.ความหวังคืนมายังแผ่นดิน
  • 21.บทสรุป

ตัวละครที่ถูกตัดออก

แก้
  • คุณเชย...พี่สาวต่างแม่ของพลอย
  • คุณชิด...พี่ชายต่างแม่ของพลอย
  • พระยาพิพิธ...พ่อของพลอย
  • พี่เนื่อง...พี่ชายของช้อย รักแรกของพลอย
  • หลวงนพ,แม่ชั้น...พ่อแม่ของช้อย
  • คุณนุ้ย,คุณเนี่ยน...อาคุณเปรม
  • สมบุญ...เมียพี่เนื่อง
  • สมใจ...เมียใหม่ตาอั้น
  • คุณพระสรรค์...เพื่อนคุณเปรม
  • หลวงโอสถ...สามีคุณเชย
  • หวาน...น้องแม่พลอย
  • พ่อฉิม...ผัวใหม่แม่แช่ม

เหตุการณ์ที่ถูกตัดออก

แก้
  • ฉากโกนจุกของพลอยกับช้อย
  • ฉากช้อยปะทะคารมกับคุณสาย
  • ฉากอ้นบวช
  • ฉากที่เกี่ยวเนื่องกับคุณเชย

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล" มุมมองรักชาติ แบบ "บอย ถกลเกียรติ" มติชน, 6 ธันวาคม 2554
  2. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรการแสดงละครเพลงสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล รอบการกุศล[ลิงก์เสีย] ข่าวในพระราชสำนัก 11 มกราคม 2555
  3. ""บิ๊กบอย" แจงรื้อ "สี่แผ่นดินฯ" มาเปิดแสดงอีกครั้งเพราะเข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-28.
  4. เชื้อสาวะถี, เจนวิทย์ (2017-11-06). "บันเทิงไทยใต้ร่มพระบารมี (2) – "แม่พลอย 6 แผ่นดิน"". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 2023-10-13.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. booklet ซีดี ดนตรีประกอบ สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล
  6. ในหลวงของแผ่นดิน - สี่แผ่นดิน The Musical