สีลัพพตปรามาส
สีลัพพตปรามาส (บาลี: สีลพฺพตปรามาส) มาจากการสมาสคำว่า สีล (แปลว่า ศีล) + วต (แปลว่า พรต) + ปรามาส (อ่านว่า ปะ-รา-มาด, แปลว่า การจับต้อง, การลูบคลำ[1] (ใช้ในความหมายใกล้เคียงกับคำว่ายึดมั่น )
สีลัพพตปรามาส คือการยึดมั่นในข้อห้าม(ศีล)และข้อปฏิบัติ(วัตรหรือพรต) มีความเห็นว่าเราเป็นผู้ครอบครองศีล วัตร หรือความบริสุทธิ์ มีลักษณะถือศีลเหมือนคนแบกศีล จัดเป็นความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง
ผู้ที่ละสีลัพพัตปรามาสได้ คือ พระอริยบุคคล ก็จะเป็นผู้รักษาศีลในลักษณะศีลช่วยให้วาง ช่วยให้เบาสบาย เหมือนคนทิ้งของหนัก เดินตัวเปล่าอย่างสบายตัว ฉะนั้น เพราะเห็นประโยชน์ของศีลอย่างเต็มที่ เป็นการรักษาศีลด้วยปัญญา แต่ผู้ยังเป็นปุถุชนย่อมต้องเป็นผู้ที่ต้องถือศีลด้วยการแบกไปก่อน เป็นการถือศีลด้วยศรัทธาไปก่อน จนกว่าจะเป็นพระอริยบุคคล จึงละสีลัพพัตปรามาสลงเสียได้ [2] สีลัพพัตปรามาส จัดเข้าในกลุ่มสังโยชน์ขั้นต้นที่พระอริยบุคคลระดับโสดาบันละได้ [3]
อ้างอิง
แก้- ↑ พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 26-8-52
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ ติกะ. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 26-8-52