สาธุ (สันสกฤต: साधु) เป็นนักพรต นักบวชภิกขาจาร หรือบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ที่สละชีวิตทางโลกมาออกบวชตามคติศาสนาฮินดูและศาสนาเชน[1][2][3] มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น โยคี สันนยาสี หรือ ไวราคี[1]

คำว่าสาธุในที่นี้ มีความหมายตามตัวอักษรว่า ผู้บำเพ็ญสาธนา หรือปฏิบัติตามแนวทางวินัยของศาสนา[4] แม้ว่าสาธุส่วนใหญ่จะเป็นโยคี แต่ไม่ใช่โยคีทุกรูปจะเป็นสาธุ สาธุเน้นอุทิศตนฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงพรหมัน แล้วบรรลุโมกษะตามเป้าหมายสุดท้ายของอาศรม 4 สาธุนุ่งห่มผ้าอย่างเรียบง่าย สาธุฮินดูนุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ส่วนสาธุเชนไม่นุ่งผ้าหรือนุ่งผ้าขาว เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการสละโลก สาธุเพศหญิงเรียกว่าสาธวี หรือ อารยิกา[5][3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Brian Duignan, Sadhu and swami, Encyclopædia Britannica
  2. Jaini, Padmanabh S. (1991), Gender and Salvation: Jaina Debates on the Spiritual Liberation of Women, University of California Press, ISBN 0-520-06820-3
  3. 3.0 3.1 Klaus K. Klostermaier (2007). A Survey of Hinduism: Third Edition. State University of New York Press. p. 299. ISBN 978-0-7914-7082-4.
  4. ″Autobiography of an Yogi″, Yogananda, Paramhamsa,Jaico Publishing House, 127, Mahatma Gandhi Road, Bombay Fort Road, Bombay (Mumbai) - 400 0023 (ed.1997) p.16
  5. Jaini 1991, p. xxviii, 180.