สิทธิวินายกมนเทียร (สิทธเฏก)

สิทธิวินายกมนเทียร (Siddhivinayak Temple) แห่งสิทธเตก (Siddhatek) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระพิฆเนศ มนเทียรนี้เป็นหนึ่งในอัษฏวินายก หรือมนเทียรแห่งพระคเณศ 8 แห่งที่ได้รับการเคารพบูชาสูงในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย มนเทียรนี้เป็นแห่งเดียวในแปดแห่งที่ตั้งอยู่ในอำเภออะห์เมดนคร[1] มนเทียรตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทางเหนือของแม่น้ำภิมา (Bhima) ในสิทธเตก แขวง (ตลุกะ-taluka) กรชัต (Karjat taluka) ในอำเภออะห์เมดนคร (Ahmednagar district)[2] สถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุดคือดาอุนทด์ (Daund) ห่างออกไป 19 กิโลเมตร มนเทียรนี้เข้าถึงได้จากหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อศิรปุระ (Shirapur) ในอำเภอปูเน บนฝั่งแม่น้ำทางใต้ แล้วจึงนั่งเรือหรือข้ามสะพานที่พึ่งสร้างใหม่ไปยังมนเทียร[2][3] และยังมีเส้นทางอื่น ๆ ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากมนเทียรอีก[2][4]

สิทธิวินายกมนเทียร
ทางเข้ามนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภออะห์เมดนคร
เทพพระพิฆเนศ “สิทธิวินายก” (Siddhivinayak)
เทศกาลคเณศจตุรถี, คเณศชยันตี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งสิทธเตกะ (Siddhatek; सिद्धटेक)
รัฐรัฐมหาราษฏระ
ประเทศประเทศอินเดีย
สิทธิวินายกมนเทียร (สิทธเฏก)ตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ
สิทธิวินายกมนเทียร (สิทธเฏก)
ที่ตั้งในรัฐมหาราษฏระ
พิกัดภูมิศาสตร์18°26′38.81″N 74°43′34.53″E / 18.4441139°N 74.7262583°E / 18.4441139; 74.7262583
สถาปัตยกรรม
ผู้สร้างอหิลยาไภ โหลการ์ (Ahilyabai Holkar)
เริ่มก่อตั้งก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 17
เสร็จสมบูรณ์คริสต์ศตวรรษที่ 18

มนเทียรนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยต้น Babul หนาแน่น อยู่ห่างไปราว 1 กิโลเมตรจากใจกลางหมู่บ้านสิทธเตก[5] การประกอบพิธีจำสำเร็จได้ต้องเดินเวียนเทียน (ปรทักษิณา - pradakshina) รอบเนินเขานี้เจ็ดรอบ โดยที่ทางนั้นยังคงไม่ได้มีการทำถนนและอาจมีพุ่มไม้แหลม ๆ อยู่บนทางเดิน[3]

ความสำคัญทางศาสนา แก้

ตามเส้นทางของอัษฏวินายกยาตรา สิทธเตกเป็นมนเทียรลำดับที่สองถัดจากโมรคาว (Morgaon) ซึ่งเป็นที่แรก แต่ผู้แสวงบุญมักเดินทางไปที่เถอูร์ (Theur) ถัดจากโมรคาวก่อนที่จะมายังสิทธเตกนี้ เนื่องจากเดินทางได้สะดวกกว่า.[1]

มูรติของพระคเณศที่ประดิษฐานที่นี่ทรงมีงวงที่หันไปทางขวา ต่างจากเทวรูปทั่วไปวึ่งนิยมทำโดยให้งวงไปทางซ้าย เชื่อกันว่าพระคเณศที่ทรงมีงวงหัวไปทางขวาแบบนี้นั้นทรงกำลังอย่างมากและโปรดได้ยากกว่า[5][6] ในบรรดาอัษฏวินายกทั้งแปด มีเพียงที่นี่ที่พระคเณศทรงหันงวงไปทางขวา[6] ดั้งเดิมแล้วยึดถือว่าลักษณะที่ทรงมีงวงไปทางขวานี้เรัยกว่า “สิทธิวินายก” คือผู้ประทาน “สิทธิ” ("ความสำเร็จ, มีชัย", "พลังอำนาจเหนือธรรมชาติ")[6] มนเทียรนี้จึงเรียกว่าเป็น “ชครุตเกษตร(jagrut kshetra) ที่ซึ่งเทพประธานทรงมีพละกำลังสูงมากเป็นพิเศษ[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Anne Feldhaus. "Connected places: region, pilgrimage, and geographical imagination in India". Palgrave Macmillan. pp. 142, 145–6. ISBN 978-1-4039-6324-6.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Siddhatek". The Official Website of Ahmednagar District. National Informatics Centre, District –Ahmednagar. 2009. สืบค้นเมื่อ 26 August 2011.
  3. 3.0 3.1 Subramuniya (2000). Loving Ganesa: Hinduism's Endearing Elephant-Faced God. The Morgaon Temple. Himalayan Academy Publications. pp. 279–80. ISBN 9780945497776.
  4. "SHREE SIDDHIVINAYAK - SIDDHATEK". Ashtavinayaka Darshan Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-04.
  5. 5.0 5.1 Gunaji, Milind (2003). "Siddhatek". Offbeat tracks in Maharashtra. Popular Prakashan. pp. 104–5. ISBN 9788171546695.
  6. 6.0 6.1 6.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ grimes117