คเนศจตุรถี (ไอเอเอสที: Gaṇēśa Chaturthī), หรือ วินายกะจตุรถี (Vināyaka Chaturthī) เป็นเทศกาลในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองการประสูติของพระพิฆเนศ ตรงกับช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน พิธีกรรมเด่นของคเณศจตุรถีคือการสร้างเทวรูปพระพิฆเนศด้วยดินเหนียวแล้วประดิษฐานในบ้านเรือน อาคาร องค์กร หรือในสถานที่สาธารณะ บนฐาน pandal (ฐานเวทีชั่วคราว) ที่สูงใหญ่ พิธีกรรมประกอบด้วยการสวดบทสวดในพระเวทหรือคัมภีร์ฮินดูอื่น ๆ และการ vrata (อดอาหาร)[2] การแจกจ่ายประสาทะ (Prasāda) จากพิธีสวดจากบน pandal สู่ชุมชน รวมถึงขนมอย่าง ขนมโมทกะ ซึ่งเชื่อว่าเป็นขนมทรงโปรดของพระพิฆเนศ[3][4] เทศกาลสิ้นสุดในวันที่ 10 นับจากวันที่เริ่มเทศกาล ซึ่งศาสนิกชนจะนำเทวรูปพระพิฆเนศที่ปั้นจากดินมาตั้งในสถานที่สาธารณะ โดยมีขบวนดนตรีและขับสวดกันไปยังแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเล ก่อจะทำพิธีนำเทวรูปดินนั้นแช่หรือละลายลงแม่น้ำ เทศกาลคเนศจตุรถีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจัดในเมืองมุมไบ ซึ่งมีการนำเทวรูปแช่ละลายลงน้ำมากถึง 150,000 องค์ในมุมไบทุก ๆ ปี[5] เชื่อกันว่าเทวรูปดินและพระพิฆเนศที่ได้ละลายไปในสายน้ำนั้นจะกลับไปยังเขาไกรลาศ เคียงคู่กับพระศิวะ และ พระปารวตี[2][6] เทศกาลนี้ถือเป็นการเฉลิมฉลองพระพิฆเนศซึ่งชาวฮินดูเชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ และการขจัดอุปสรรค รวมทั้งเป็นเทพเจ้าแห่งปัญญาและความฉลาดเฉลียว[7][8] เทศกาลนี้มีการเฉลิมฉลองทั่วอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐมหาราษฏระ, รัฐมัธยประเทศ, รัฐกรณาฏกะ, รัฐกัว, รัฐเตลังคานา, รัฐคุชราต และ รัฐฉัตตีสครห์[2][9] และพบฉลองกันภายในบ้านเรือนส่วนบุคคลในรัฐทมิฬนาฑู, รัฐอานธรประเทศ[10] ส่วนในบรรดาชาวฮินดูโพ้นทะเลก็มีการจัดในประเทศต่าง ๆ ทั้งเนปาล ออสเตรเลีย, แคนาดา, มาเลเซีย, ตรินิแดดและโตเบโก, กายอานา, สุริเนม, ส่วนอื่น ๆ ของแคริบเบียน, ฟิจิ, มอริเชียส, แอฟริกาใต้,[11] สหรัฐ, และในทวีปยุโรป[6][12] (ในเกาะเตเนริเฟ)[13]

คเณศจตุรถี
พิธีกรรมอัญเชิญเทวรูปดินเหนียวของพระพิฆเนศลงละลายในอ่าวมุมไบ ส่วนหนึ่งของเทศกาลจตุรถีในมุมไบ ประเทศอินเดีย
ชื่อทางการจตุรถี/วิไนยกะ จตุรถี
ชื่ออื่นจวัตถี, Chouthi, Ganeshotsav
จัดขึ้นโดยศาสนิกชนฮินดู
ประเภทศาสนาฮินดู
การเฉลิมฉลองการขับบทสวดฮินดู และพิธีนำเทวรูปพระพิฆเนศละลายลงแหล่งน้ำ
เริ่มภัทรบท Shukla จตุรถี
สิ้นสุด11 วันหลังการเริ่มเทศกาล
วันที่ภัทรบท (Bhadrapada) คือช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
วันที่ในปี 202319 กันยายน[1]
ความถี่รายปี

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tad
  2. 2.0 2.1 2.2 Ganesh Chaturthi: Hindu Festival, Encyclopædia Britannica (2014)
  3. Darra Goldstein (2015). The Oxford Companion to Sugar and Sweets. Oxford University Press. pp. 82, 254, 458. ISBN 978-0-19-931361-7.
  4. K. T. Achaya (2001). A Historical Dictionary of Indian Food. Oxford University Press. pp. 68–69, 132. ISBN 978-0-19-565868-2.
  5. "Ganesh Chaturthi".
  6. 6.0 6.1 Patrick Taylor; Frederick I. Case (2013). The Encyclopedia of Caribbean Religions. University of Illinois Press. p. 332. ISBN 978-0-252-09433-0.
  7. Heras 1972, p. 58.
  8. Getty 1936, p. 5.
  9. Lawrence A. Babb (1975). The Divine Hierarchy: Popular Hinduism in Central India. Columbia University Press. pp. 62–63. ISBN 978-0-231-08387-4.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Roy2005p178
  11. Ramesh Dutt Ramdoyal (1990). Festivals of Mauritius. Editions de l'Océan Indien. pp. 21–22.
  12. "Festivals, Cultural Events and Public Holidays in Mauritius". Mauritius Tourism Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2012. สืบค้นเมื่อ 28 January 2012.
  13. "Ganesh Chaturthi - CONCURSO FOTOGRÁFICO: MIGRACIONES INTERNACIONALES Y FRONTERAS". investigacion.cchs.csic.es.