สำนักรินไซ
สำนักรินไซ (ญี่ปุ่น: 臨済宗; โรมาจิ: รินไซ-ชู) เป็นหนึ่งในสามสำนักของศาสนาพุทธนิกายเซน ของญี่ปุ่น (อีกสองสำนักคือ สำนักโซโต และ สำนักโอบะกุ)
ประวัติแก้ไข
สำนักรินไซ เป็นสำนักที่แตกออกมาจาก สำนักหลินจี้ ของจีนซึ่งก่อตั้งในสมัยราชวงศ์ถัง
ยุคคะมะกุระ (ค.ศ. 1185–1333)แก้ไข
ในยุคคะมะกุระ ได้มีความพยายามที่จะตั้งสำนักรินไซในแผ่นดินญี่ปุ่นโดยความพยายามของภิกษุนามว่า เมียวอัง เอไซ ที่ก่อนหน้าในปี 1168 ภิกษุเอไซได้เดินทางไปยังแผ่นดินจีนเพื่อศึกษาเท็นไดเป็นระยะเวลากว่ายี่สิบปี[1] และในปี 1187 ภิกษุเอไซก็ได้เดินทางไปยังจีนอีกครั้ง และเมื่อกลับมายังญี่ปุ่น เขาได้ตั้งสำนักสาขาหลินจิ้ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "รินไซ"[2] ทั้งนี้ ในหลายสิบปีต่อมา ภิกษุนาม นัมโป โชเมียว ก็ได้เดินทางไปยังจีนเพื่อศึกษาวิถีหลินจี้เช่นเดียวกัน และเมื่อภิกษุโชเมียวกลับมายังญี่ปุ่นก็ได้มาก่อตั้งสำนักรินไซสายโอโตกัง
ยุคมุโระมะชิ (ค.ศ. 1336–1573)แก้ไข
ในยุคมุโระมะชิ ด้วยการเป็นที่นับถือและสนับสนุนจากโชกุน ทำให้สำนักรินไซกลายเป็นสำนักที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ตลอดจนเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ของศาสนาจารย์เซนที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ มุโซ โซะเซะกิ
ระบบห้าขุนเขาแก้ไข
ในยุคมุโระมะชิตอนต้น ได้มีการนำ "ระบบห้าขุนเขา" (โกะซัน) มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ วัดสมาชิกมีสถานะเป็นวัดหลวง การสังคายนาระบบครั้งสุดท้ายประกอบด้วยวัดแต่ละห้าแห่งทั้งในเคียวโตะและคะมะกุระ ระบบนี้ได้แพร่หลายไปทั้งแผ่นดินญี่ปุ่น มีการกำกับโดยรัฐบาลโชกุน[3] ภิกษุที่มีความรู้ความสามารถจะได้รับการว่าจ้างโดยโชกุนเพื่อช่วยในการปกครองและบริหารราชการแผ่นดิน
ระบบห้าขุนเขา | ||
เคียวโตะ | คะมะกุระ | |
---|---|---|
ชั้นเอก | วัดเท็นรีว | วัดเค็นโช |
ชั้นโท | วัดโชโกะกุ | วัดเอ็งงะกุ |
ชั้นตรี | วัดเค็นนิง | วัดจุฟุกุ |
ชั้นจัตวา | วัดโทฟุกุ | วัดโจชิ |
ชั้นเบญจ | วัดมันจุ | วัดโจเมียว |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Dumoulin & 2005-B, pp. 14–15.
- ↑ Snelling 1987
- ↑ ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "harvard_core" ไม่มีอยู่
- ↑ ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "harvard_core" ไม่มีอยู่
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- Official site of The Joint Council for Japanese Rinzai and Obaku Zen (อังกฤษ) (ญี่ปุ่น)
- The International Research Institute for Zen Buddhism, at Hanazono University (the Rinzai University) in Kyoto, Japan
บทความเกี่ยวกับศาสนานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ศาสนา |