สัณฐานวิทยาเมือง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สัณฐานวิทยาเมือง (อังกฤษ: urban morphology) คือการศึกษารูปแบบการตั้งรกรากของมนุษย์และกระบวนการเปลี่ยนแปลง[1] เพื่อเพิ่มความเข้าใจลักษณะและโครงสร้างทางพื้นที่ของ เขตมหานคร นคร เมืองไปจนถึงหมู่บ้าน โดยศึกษารูปแบบของส่วนประกอบต่าง ๆ และแนวทางพัฒนาการ โดยรวมไปถึงการศึกษาโครงสร้างทางกายภาพ ในหลายขนาด ในรูปแบบการเคลื่อนย้าย การใช้พื้นที่ ความเป็นเจ้าของ และ ผู้อยู่อาศัย โดยทั่วไป การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางผังเมืองทางกายภาพจะมองลงไปถึงรูปแบบการวาง ถนนหนทาง พื้นที่ต่างๆ การตึกอาคาร หรือที่เรียกว่า เมล็ดพันธุ์ผังเมือง (urban grain) การวิเคราะห์การตั้งรกรากนั้นมักจะศึกษาผ่านทางการทำแผนที่ และการศึกษาหาข้อมูลจาแผนที่โบราณ มีการให้ความสนใจมากกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของเมืองทางกายภาพ โดยศึกษาทั้งทางด้านการเวลา และการศึกษาเทียบเคียงกับประเทศ หรือ เมืองที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ไปจนถึงการศึกษารูปแบบรูปร่างทางสังคม เช่นว่า ภาวะทางกายภาพส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบทางสังคม อย่างไร
แนวความคิดที่สำคัญเกี่ยวกับการกำเนิดและเปลียนแปลงของผังเมือง ได้รับการบันทึกขึ้นในหนังสือของ Goethe ซึ่งทุกใช้ครั้งแรกในชีววิทยา ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในทาง ภูมิศาสตร์ อักษรศาสตร์ และอื่นๆอีกมากมาย บุคคลอื่นๆที่สำคัญ ได้แก่ Lewis Mumford, James Vance Sam Bass Warner และ Peter Hall การกำเนิดและเปลี่ยนแปลงแผนผังเมืองถือเป็นแขนงหนึ่งในการศึกษา เนื้อเยื่อและโครงสร้างทางผังเมือง เพื่อทำความเข้าใจกับสภาพโครงสร้างภูมิประเทศที่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งเป็นการท้าทายมุมมองต่างๆของสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่มีความซับซ้อน ภายไต้ภาพการเกิดเมือง
แนวคิดหลัก
แก้การกำเนิดและเปลี่ยนแปลงแผนผังเมืองมองว่าการตั้งรกรากของมนุษย์เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวมานานแล้ว โดยเพิ่มเติมมาเรื่อยๆจากการก่อสร้างจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งทิ้งร่องรอยของการเพิ่มหรือลดโอกาสใรการก่อสร้างเพิ่มเติม เช่นการแบ่งแยกดินแดน การพัฒนาด้านโครงสร้างระบบสารธารณูปโภค และการก่อสร้างต่างๆ การเชื่อมโยง และการวิเคราะห์เหตุผลตรรกศาสตร์ ของร่องรอยเหล่านี้ จึงเป็นคำถามหลักของการกำเนิดและเปลี่ยนแปลงแผนผังเมือง การกำเนิดและเปลี่ยนแปลงแผนผังเมืองไม่ได้มุ่งหลักไปที่สิ่งของแต่มองถึงการสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆของเมือง ซึ่งหากจะเชื่อมโยงกับภาษาศาสตร์แล้วก็กล่าวได้ถึงคำศัพท์ต่างๆและวากยสัมพันธ์ หรือการสร้างประโยค ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นจะต้องวิเคราะห์เมืองสำคัญแต่ดูโครงสร้างและเน้นกระบวนการสร้างตัวที่เกิดขึ้น ซึ่งมองผ่านสถาปัตยกรรมทั่วไป จนถึงภูมิสถาปัตย์และตรรกศาสตร์หรือเหตุผลต่างๆที่ซ้อนอยู่ เครื่องมือที่ใช้ศึกษาวิเคราะห์การกำเนิดและเปลี่ยนแปลงแผนผังเมืองได้แก่ การเชื่อมโยงที่ว่าง การศึกษาพื้นหน้าพื้นหลัง Figure/Ground ของเมือง ซึ่งมีทฤษฎีดังนี้
- การศึกษาพื้นหน้าพื้นหลัง
- ทฤษฎีการเชื่อมโยง
- ทฤษฎีการจัดวาง
กลุ่มแนวความคิด
แก้ในภาพรวมแล้ว มีแนวคิดหลักเกี่ยวกับการกำเนิดและเปลี่ยนแปลงแผนผังเมืองอยู่สามแนวตามพื้นถิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แนวคิดจากอิตาลี แนวคิดจากอังกฤษ และแนวคิดจากฝรั่งเศส แนวความคิดของกลุ่ม อิตาลี ได้รับอิทธิพลมาจากงานของ Saverio Muratori ในช่วงปี 1940 Muratori พยายามที่จะเสนอ การทำงานของประวัติศาสตร์ ซึ่งเขาได้ศึกษาจากเมืองต่างๆ เช่น Venice และ Rome .ซึ่งเป็นพื้นฐานของการนำเอาการผสมผสานของสถาปัตยกรรมมาผนวกเข้ากับหลักการไวยกรณ์ของเนื้อเยื้อทางผังเมือง หรือ urban tissue ผู้ต่อยอดตวามคิดนี้คนหนึ่งคือ Gianfranco Caniggia ซึ่งมองเมืองเป็นผลมาจากแรงภายนอก ไม่ว่าจะเป็น การเมือง หรือ เศรษฐกิจ ซึ่งจะกำหนดความเป็นเหตุเป็นผลของภูมิสถาปัติที่จะถูกสร้างขึ้น กลุ่มแนวความคิดจากอังกฤษ มี M.R.G. Conzen เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นผู้ริเริ่ม ‘การวิเคราะห์แผนผังเมืองเล็ก’ (town-plan analysis) ซึ่งมองลงไปในหมวดต่างๆดังนี้
- แผนผังเมืองเล็ก
- รูปแบบการวางตึกอาคาร
- รูปแบบการใช้พื้นที่ดิน
ซึ่งในเรื่องแผนผังเมืองเล็ก ยังแตกเรื่องออกไปอีก ในเรื่องแผนผัง
- ถนนและระบบเส้นทางถนน
- ที่ดิน ซึ่งรวมตัวเป็น ช่วงกลุ่มอาคาร
- และตัวตึกอาคารเองในส่วนของแผนผังช่วงตึกอาคาร
สำหรับ Conzen เอง การทำความเข้าใจกับสิ่งที่มีอยู่ดังกล่าว รวมไปถึงประวัติศาสตร์ต่างๆ เป็นวิธีหลักในการสร้างรูปแบบผังเมือง J.W.R. Whitehand ซึ่งติดตาม Conzen ได้รวบรวมเนื้อหาเหล่านี้เข้ากับระบบการจัดการแผนผังเมืองเล็กทั้งทางประวัติศาสตร์และในปัจจุบัน กลุ่มแนวความคิดจากฝรั่งเศส เริ่มต้นที่คณะสถาปัตยกรรมแวร์ซาย ได้เพิ่มเติมวิธีหาแนวความคิดและวิเคราห์การเจริญเติบโต และกระบวนการอื่นๆ ของผังเมือง และหุ่นจำลองสถาปัตยกรรมต่างๆ กลุ่มนี่เน้นความสนใจไปที่ การสร้างพื้นที่สำหรับสังคม ซึ่งพื้นที่ทางภูมิสถาปัตย์เมื่อรวมเข้ากับโลกสังคมเปรียบได้กับการหาคำตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซื่งต่างก็จะส่งผลกระทบต่อกันและกัน และ สร้างเสริมกันและกัน เอง
กลุ่มแนวความคิดชิคาโก
แก้ในเมืองอุตสาหกรรม ชิคาโกเป็นเมืองที่มีปัญหาเกี่ยวกับ สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้การศึกษาเมืองนี้มีความจำเป็นที่จะต้องเป็นไปอย่างลึกล้ำ เพราะเหตุนี้นักสังคมวิทยาและนักธรณีวิทยา อาทิ WI Thomas (ซึ่งเน้นความสนใจไปที่การเคลื่อนย้าย หรือการอพยพจากถิ่นหนึ่งไปยังอีกถิ่นหนึ่ง ) Robert E Park และ Ernest Burgess ซึ่งพยายามจะศึกษากฎและรูปแบบการวางตัวของเมืองเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว Burgess ใช้วิธีการทางธรรมชาติในการเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม เขาใช้หลักการทางชีววิทยาในการอธิบายการกระจายตัวทางธรรมชาติของพืช และเขียนทฤษฏี เกี่ยวกับการจัดวางออกแบบประเภทพื้นที่และการรวมตัวกัน ซึ่งรวมถึง ตัวเมืองใหญ่ สถานที่อันเป็นที่เชื่อม ซึ่งถูกรุกรานโดยผู้อพยพแล้วกิจการต่างๆ รวมถึงพื้นที่ของคนระดับสูง ประกอบด้วยที่พักและพื้นที่ชุมชน ไปจนถึงขอบชานเมือง
อ้างอิง
แก้- ↑ Moudon, Anne Vernez (1997). "Urban morphology as an emerging interdisciplinary field". Urban Morphology. 1 (1): 3–10.