สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน

สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน หรือ อับดุลเลาะห์ อิบนิ ฮูไซน์ (Abdullah ibn Husein) เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ฮัชไมต์จอร์แดน ประสูติที่เมืองมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบียเมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นโอรสของชารีฟ ฮูไซน์ อิบนิ อาลี ผู้เป็นกษัตริย์แห่งฮิญาซ และ อับดียา บินท์ อับดุลเลาะห์เป็นพระมารดา ในวัยเยาว์ ทรงเติบโตในพระราชวังของสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ต่อมาได้เป็นตัวแทนของฮิญาซในรัฐสภาออตโตมันระหว่าง พ.ศ. 2451 – 2457

สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน

สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน
Cecil Beaton Photographs- Political and Military Personalities; Abdullah, King of Jordan; Abdullah, King of Jordan CBM1666.jpg
เอมิเรตส์แห่งทรานส์จอร์แดน และ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน
ครองราชย์1 เมษายน 1921-20 กรกฎาคม ค.ศ. 1951 รวม 30 ปี
รัชกาลก่อนหน้าไม่มี
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน
พระมเหสีสมเด็จพระราชินีมุสบาห์ บิน นัสเซอแห่งจอร์แดน
พระราชบุตรเจ้าหญิงฮายา
สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน
เจ้าชายนาเยฟ บิน อับดุลลอฮ์
เจ้าหญิงมานียา
เจ้าหญิงมาบูลา
เจ้าหญิงนาเฟีย
ราชวงศ์ฮัชไมต์
พระบิดาฮุสเซน บิน อลี
พระมารดาอับดียา บินท์ อับดุลเลาะห์
ประสูติ2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1882
สวรรคต20 กรกฎาคม ค.ศ. 1951
ศาสนาศาสนาอิสลาม

การต่อต้านการปกครองของชาวเติร์กในหมู่ชาวอาหรับเริ่มขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2457 อับดุลเลาะห์ได้เจรจากับกงสุลใหญ่อังกฤษประจำอียิปต์ก่อนจะนำชาวอาหรับเข้าร่วมกับอังกฤษในการต่อต้านออตโตมัน เมื่อสงครามสิ้นสุด ชารีฟ ฮูไซน์ได้แต่งตั้งไฟซอล น้องชายของอับดุลเลาะห์เป็นกษัตริย์แห่งซีเรีย และให้อับดุลเลาะห์เป็นกษัตริย์แห่งอิรัก แต่ฝรั่งเศสคัดค้านเพราะต้องการครอบครองซีเรีย อังกฤษจึงตัดสินใจแยกจอร์แดนออกจากปาเลสไตน์ แล้วยกให้อับดุลเลาะห์ปกครองในตำแหน่งเอมิเรตส์แห่งทรานส์จอร์แดนเมื่อ พ.ศ. 2464 ส่วนไฟซอลนั้นให้ไปเป็นกษัตริย์ปกครองอิรัก

ในตอนแรก การแต่งตั้งอับดุลเลาะห์เป็นกษัตริย์จอร์แดนจะเป็นการชั่วคราวเพียง 6 เดือน แต่ภายหลัง อังกฤษประกาศต่ออายุการเป็นกษัตริย์จอร์แดนของอับดุลเลาะห์ออกไปอย่างไม่มีกำหนด และประกาศแยกจอร์แดนออกจากปาเลสไตน์ที่เตรียมยกให้ขบวนการไซออนิสต์อย่างถาวร การปกครองของอับดุลเลาะห์ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษอย่างมาก จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2489 ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งจอร์แดน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ปาเลสไตน์ และการจัดตั้งประเทศอิสราเอล พระองค์ต่อต้านชาวยิวอย่างเปิดเผย ส่งกองทัพเข้ายึดครองฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและชายฝั่งทะเลแดงมาเป็นของจอร์แดน ใน พ.ศ. 2493 ต่อมา พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2494

อ้างอิงแก้ไข

  • มนัส เกียรติวาริช. อับดุลเลาะห์ อิบนิ ฮูไซน์ ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 14 - 15

ผู้สืบทอดตำแหน่งแก้ไข

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน ถัดไป
ไม่มี    
พระมหากษัตริย์จอร์แดน
(ค.ศ. 1921ค.ศ. 1951)
  สมเด็จพระราชาธิบดีฎอลาลแห่งจอร์แดน

ดูเพิ่มแก้ไข