สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิแห่งฮาวาย

สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิแห่งฮาวาย (อังกฤษ: Queen Kapiolani of Hawaii) หรือพระนามเต็ม เอสเธอร์ คาปิโอลานี หรือ เอสเธอร์ คาปิโอลานี นาเปลาคาปูโอคาคาเอ (อังกฤษ: Esther Kapiʻolani or Esther Kapiʻolani Napelakapuokakaʻe) เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรฮาวาย

สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิแห่งฮาวาย
สมเด็จพระราชินีแห่งฮาวาย
รัชสมัย12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1874 - 20 มกราคม ค.ศ. 1891
ประสูติ31 ธันวาคม ค.ศ. 1834
สวรรคต24 มิถุนายน ค.ศ. 1899 (พระชนมายุ 64 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย
สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิแห่งฮาวาย
พระนามเต็ม
เอสเธอร์ คาปิโอลานี นาเปลาคาปูโอคาคาเอ
พระนามาภิไธย
สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิแห่งฮาวาย
พระราชบิดาคูฮิโน คาลานิอานาโอเล
พระราชมารดาคิโนอิคิ เคคาอูลิเค
ลายพระอภิไธย

พระราชประวัติ แก้

 
พระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิแห่งฮาวาย

สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 31 ธันวาคม 1834 ที่เมืองฮิโล ราชอาณาจักรฮาวาย เป็นพระราชธิดาในคูฮิโน คาลานิอานาโอเลกับคิโนอิคิ เคคาอูลิเค

พระองค์ทรงอภิเษกสมรสครั้งแรกกับ เบนจามิน นามาเคฮาโอคาลานี เขาแก่กว่าพระองค์ประมาณ 35 ปี เขาเป็นลุงของสมเด็จพระราชินีเอ็มมา

ต่อมาเมื่อเบนจามินเสียชีวิต พระองค์ก็ทรงอภิเษกสมรสอีกครั้งกับเดวิด คาลาคาอัว พิธีนั้นจัดอย่างเงียบๆ เพราะอยู่ในระหว่างการไว้ทุกให้พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 5

เมื่อพระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวาย เสด็จสวรรคต เดวิด คาลาคาอัวจึงได้ครองราชย์บัลลังก์ฮาวาย ทรงพระนามว่าพระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย เอสเธอร์ คาปิโอลานี จึงได้ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิแห่งฮาวาย"

ในปี 1887 สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิ เสด็จไปที่กรุงลอนดอน เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ร่วมกับเจ้าฟ้าหญิงลีลีโอกาลานี พระขนิษฐาในพระเจ้าคาลาคาอัว ในงานพระราชวงศ์ฮาวายได้รับการปฏิบัติในฐานะแขกผู้มีเกียรติและได้นั่งกับพระราชวงศ์อังกฤษในด้านหน้าของวิหารเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

สวรรคต แก้

หลังจากการล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย พระองค์ก็ถูกขับออกจากพระราชวังอิโอลานี พระองค์จึงเสด็จไปประทับที่บ้านปูอาเลอิลานีในวาอิคิคิ พระองค์สวรรคตเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1899 ขณะมีพระชนมายุได้ 64 พรรษา พระบรมศพของพระองค์ได้รับการฝังเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1899[1] ที่สุสานพระราชวงศ์

พงศาวลี แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. คาลานินูอิอามามาโอ
 
 
 
 
 
 
 
8. เคอาเวมาอูฮิลี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เคคาอูลิเค อิ คาเวคิอูโอนาลานี (= 23)
 
 
 
 
 
 
 
4. เอเลลูเล ลาอาเคอาเอเลลูลู
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. โมกูลานี
 
 
 
 
 
 
 
9. อูลูวานี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ปาปาอิคานีนาอู
 
 
 
 
 
 
 
2. คูฮิโน คาลานิอานาโอเล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เคเออาโมกู นูอิ
 
 
 
 
 
 
 
10. คาเนโคอา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. คาอิลาคาโนเอ
 
 
 
 
 
 
 
5. โปดอมาอิเคลานี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เคโปโอมาโฮเอ
 
 
 
 
 
 
 
11. คาลานีคาอูเลเลอิอาวา อา เคโปโอมาโฮเอ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เคคาอูลิเค อิ คาเวคิอูโอนาลานี (= 17)
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระราชินีคาปิโอลานิ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. เคคาอูลิเค
 
 
 
 
 
 
 
12. คาเอโอคูลานี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. โฮโอลาอู
 
 
 
 
 
 
 
6. คาอูมูอาลีอิ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. คาอูเมเฮอิวา
 
 
 
 
 
 
 
13. คามาคาเฮเลอิ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. คาอาปูวาอิ
 
 
 
 
 
 
 
3. คิโนอิคิ เคคาอูลิเค
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. คาเอโอคูลานี (= 12)
 
 
 
 
 
 
 
14. ปาลิคูอา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. คามาคาเฮเลอิ (= 13)
 
 
 
 
 
 
 
7. คาอาปูวาอิ คาปัวอาโมกู
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. คาเนโอเนโอ
 
 
 
 
 
 
 
15. คาวาลู
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. คามาคาเฮเลอิ (= 13)
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง แก้

  1. Rose, Roger G.; Conant, Sheila; Kjellgren, Eric P. (September 1993). "Hawaiian Standing Kāhili in the Bishop Museum: An Ethnological and Biological Analysis". Journal of the Polynesian Society. Wellington, NZ: Polynesian Society. 102 (3): 273–304. JSTOR 20706518.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้