ญะลาล อุดดีน มุฮัมมัด อักบัร (อูรดู: جلال الدین محمد اکبر; อังกฤษ: Jalaluddin Muhammad Akbar, 24 ตุลาคม พ.ศ. 2085 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2148)[4][5] หรือที่รู้จักในชื่อ อักบัรมหาราช (Akbar the Great) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2099 ถึง พ.ศ. 2148 ด้วยการให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา พระองค์จึงถือเป็นกษัตริย์มุสลิมที่อยู่ในใจประชาชนอินเดียตลอดมา[6]

จักรพรรดิอักบัร
จักรพรรดิเเห่งจักรวรรดิโมกุล
รัชสมัย27 มกราคม ค.ศ. 1556 - 29 ตุลาคม ค.ศ. 1605[1][2][3]
รัชกาลก่อนหน้าจักรพรรดิหุมายูง
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระจักรพรรดิชะฮันคีร์
พระราชสมภพ23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1542
อมรโกต, รัฐสินธ์
สวรรคต27 ตุลาคม ค.ศ. 1605
ฟาเตห์ปุรสีกรี เมืองอัครา
พระอัครมเหสีโชธาพาอี
พระราชบุตรพระโอรส 5 พระองค์
พระธิดา 6 พระองค์
ญะลาล อุดดีน มุฮัมมัด อักบัร
ราชวงศ์ตีมูร์
พระราชบิดาจักรพรรดิหุมายูง
พระราชมารดาฮามีดา บานู เบกุม

จักรพรรดิอักบัรเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิหุมายุน พระองค์ได้ประสูติกาล ณ รัฐสินธุ์ ขณะที่พระราชบิดาเสด็จหนีไปยังเปอร์เซีย[6] พระองค์ได้ครองราชย์ต่อจากพระบิดาในปี พ.ศ. 2099 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 13 ปีเศษ พระองค์เคยย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองลัคเนาเป็นเวลา 13 ปี มีพระสหายคู่พระทัยชาวฮินดูคือ ราชามานสิงห์ ในรัชกาลของพระองค์ทรงได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา และไม่บีบบังคับให้ศาสนิกอื่นให้เข้ามานับถือศาสนาอิสลามเช่นดังรัชกาลก่อน โดยทรงยกเลิกกฎเชซิยะห์ ซึ่งเป็นกฎหมายให้ผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามต้องจ่ายภาษีสูงกว่า[6]

ในรัชกาลของพระองค์ ได้มีความพยายามในการสถาปนาศาสนาใหม่ เรียกว่า ดีน-ไอ-อีลาฮี (เปอร์เซีย: دین الهی, ฮินดี: दीन-ऐ-इलाही) ซึ่งเป็นการรวมหลักธรรมระหว่างศาสนาฮินดูกับอิสลามเข้าด้วยกันเป็นศาสนาใหม่ เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างสองศาสนา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตลงเสียก่อนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1605

อ้างอิง

แก้
  1. "Akbar". The South Asian. สืบค้นเมื่อ 2008-05-23.
  2. Conversion of Islamic and Christian dates (Dual) เก็บถาวร 2009-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน As per the date convertor Baadshah Akbar's birth date, as per Humayun nama, of 04 Rajab, 949 AH, corresponds to 14 October 1542.
  3. "Jalal-ud-din Mohammed Akbar Biography". BookRags. สืบค้นเมื่อ 2008-05-23.
  4. bookrags.com - Encyclopedia of World Biography article
  5. the-south-asian.com - Short Biography
  6. 6.0 6.1 6.2 ดาวสยาม วชิรปัญโญ, พระมหา. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพฯ:เม็ดทรายพริ้นติ้ง, ครั้งที่ 2, 2550. หน้า 230
ก่อนหน้า จักรพรรดิอักบัร ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุน    
จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุล
(27 มกราคม ค.ศ. 1556 - 29 ตุลาคม ค.ศ. 1605)
  สมเด็จพระจักรพรรดิชะฮันคีร์