สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Walairukhavej Botanical Research Institute, Mahasarakham University) เป็นสถาบันที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีสถานะเทียบเท่าคณะวิชา เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระราชทานนามหน่วยงานนี้ว่า “สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช” และประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2536[1]

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Walairukhavej Botanical Research Institute, Mahasarakham University
ชื่อย่อวลย. / WRBRI
คติพจน์ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
สถาปนา22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (31 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีผศ.ดร.สุดารัตน์ ถนนแก้ว
ที่อยู่
อาคารวิจัยและปฏิบัติการ ชั้น 2
· เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
สถานีปฏิบัติการนาดูน
· ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 44180
วารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สี██████ สีน้ำตาล-สีเหลือง
เว็บไซต์http://walai.msu.ac.th/th/

ประวัติ แก้

 
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช

ในปีพ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม และ จังหวัดมหาสารคามได้ร่วมกันจัดทำโครงการสวนพฤกษชาติและศูนย์สนเทศพรรณไม้อีสานขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ในการอนุรักษ์ และขยายพรรณไม้พื้นเมือง นอกจากนี้ยังได้จัดเอกสารเผยแพร่และฝึกอบรมเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับประชาชนและเยาวชนด้วย ในระยะเริ่มต้นพื้นที่ดำเนินการจัดการ จัดทำสวนพฤกษชาติ ได้รับความอนุเคราะห์จากสภาตำบลเกิ้ง ให้ใช้ที่สาธารณะประโยชน์กุดแดง บ้านเกิ้ง ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ประมาณ 270 ไร่ ตารางวาเป็นแหล่งสะสมพรรณไม้โดยใช้ชื่อว่า “สวนพฤกษชาติและศูนย์สนเทศพรรณไม้อีสาน”

ต่อมาได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระราชทานนาม สวนแห่งนี้ว่า “สวนวลัยรุกขเวช” ในวันที่ 28 กันยายน 2531 จากความสำเร็จของโครงการ นี้ทางจังหวัดมหาสารคามจึงได้ขอ ให้ทางมหาวิทยาลัยขยายพื้นที่โครงการโดยมอบพื้นที่สาธารณะ ประโยชน์ โคกดงเค็ง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ประมาณ 650 ไร่ ตารางวา การดำเนินงานระยะแรกได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการอีสานเขียว เป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ 2532-2535 รวมงบประมาณ ทั้งสิ้น 20,689,520 บาท ต่อมาทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ดำเนินการขอจัดตั้งโครงการ นี้ให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัย[2] ซึ่งได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระราชทานนามหน่วยงานนี้ว่า “สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช” เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 และประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2536

หลักสูตร[3] แก้

 
หลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

ไม่มีการเรียนการสอน

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)[4]

  • สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)[5]

  • สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพ

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน แก้

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสานก่อตั้งขึ้นจากโครงการน้ำพระทัยจากในหลวงหรือโครงการอีสานเขียว เมื่อปี พ.ศ. 2531[6] บนเนื้อที่ 150 ไร่ หนึ่งในโครงการของสถาบันวิจัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อศึกษาปฏิบัติการด้านสังคมศาสตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิต สังคมวัฒนธรรมอีสาน ในรูปแบบวัฒนธรรมท้องถิ่นควบคู่กับการศึกษาปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เรื่องพืชสมุนไพรและพันธุ์ไม่ไผ่ในเอเชีย โดยจำรองวิถีต่างๆ ของชาวอีสานตั้งแต่เรือนเย้า เรือนภูไท และเรือนอีสาน[7]

ภายในบ้านจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ประจำวันของชาวอีสาน นำเสนอภาพชีวิตของสังคมและวัฒนธรรมอีสานที่ดำรงอยู่ด้วยข้าวและน้ำ ด้วยเหตุผลที่อีสานเป็นสังคม เกษตรกรรมทำนา ที่จำเป็นต้องอาศัยน้ำเป็นหลัก และยังเชื่อมโยงไปสัมพันธุ์กับวิถีชีวิตการดำรงชีวิตที่ผู้คนจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องปลา ป่าไม้ ป่า เกลือ ด้วย โดยแบ่งออกเป็นบริเวณต่างๆ ได้แก่ โรงเกวียน หมู่บ้านอีสาน เถียงนา กองฟาง โรงแสดงกลางแจ้ง และบริเวณที่พักผ่อน ภายในบริเวณหมู่บ้านอีสาน จัดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของเรือนกับวิถีชีวิตระบบ ครอบครัว เครือญาติ เศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ภายในเรือนอีสานแต่ละหลังได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวอีสาน รวมทั้งข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ และความเชื่อในการใช้พันธุ์ไม้ของชาวอีสาน

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับพระบรมธาตุนาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม โดยจะอยู่ทางซ้ายมือของถนนทางเข้าก่อนถึงพระบรมธาตุนาดูน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เข้าชมฟรี ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.30 น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถานีปฏิบัติการนาดูน สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ลานมอส แก้

ลานมอส อีกหนึ่งจุดน่าสนใจในบริเวณของพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นั่นก็คือลานมอสที่ขึ้นบนอิฐปูพื้น เป็นมอสที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากปัจจัยที่เหมาะสมทั้งความชื้นและสภาพแสงที่พอเหมาะ แต่ลานมอสนี้จะมีให้ชมความงามเฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น โดยลานมอสจะอยู่ใต้ร่มไม้บริเวณทางเข้าชมด้านข้างของพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน มีพื้นที่ไม่กว้างมากนัก แต่ถ้าเลือกมุมดีๆก็ถ่ายรูปออกมาได้สวยงามเช่นกัน

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย แก้

รายนามผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้ (เท่าที่มีการบันทึก)

 
ทำเนียบผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[8]
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
ไม่มีการบันทึก พ.ศ. 2535 - 2549
1. รศ.ปรีชา เทพา พ.ศ. 2550 - 2551
2. รศ.โรจน์ชัย ศัตรวาหา พ.ศ. 2551 - 2559 (สองวาระ)
3. รศ.วีระชัย สายจันทา พ.ศ. 2559 - 2559
4. รศ.ไพโรจน์ ประมวล พ.ศ. 2559 - 2563
5. ผศ.ดร.สุดารัตน์ ถนนแก้ว พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านาม เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

อ้างอิง แก้

  1. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช : พระราชทานนามสถาบันวิจัย เก็บถาวร 2020-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 1 กันยายน 2564.
  3. "หลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มมส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
  4. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช : หลักสูตรมหาบัณฑิต เก็บถาวร 2021-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 กันยายน 2564.
  5. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช : หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต เก็บถาวร 2021-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 กันยายน 2564.
  6. สาร MSU Online. พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน. 10 พฤษภาคม 2565.
  7. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Walai Rukhavej Botanical Research Institute. พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน. เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 10 พฤษภาคม 2565.
  8. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : รายนามผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวลัยรุกเวช, 1 กันยายน 2564

แหล่งข้อมูลอื่น แก้