สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ (อังกฤษ: Institute of Vocational education : Central Region ๑) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เกิดจากการรวมตัวกันของ วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือในกลุ่ม (จังหวัดภาคกลาง ๑) นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี เพื่อทำหน้าที่ผลิตปัญญาชน คนอาชีวศึกษาสู่ตลาดแรงงานซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความต้องการสูง และเพิ่มอัตรากำลังคนอาชีวศึกษาให้ได้รับการศึกษาขั้นสูง โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี (สายปฏิบัติการ) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยมีศูนย์กลางตั้งอยู่ภายในวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ชื่อย่อ | สอก.๑ / IVECR 1 |
---|---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
สถาปนา | 2557 |
นายกสภา | นายวันชัย อุดมสิน |
ที่ตั้ง | ศูนย์กลางการอาชีวศึกษาปทุมธานี 2 หมู่ 6 ถ.รังสิต-ปทุมธานี ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000 |
วิทยาเขต | |
เว็บไซต์ | www.cvei1.ac.th |
ประวัติ
แก้สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ เดิมชื่อว่า วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี (วกศ.ปทุมธานี)[1] แรกเริ่มก่อตั้งโดยใช้ชื่อว่า ศูนย์วิศวกรรมเกษตร ไทย-เยอรมัน" (Thai-German Agricultural Engineering Training Center) และได้เปลี่ยนมาเป็น "ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร" (ศวษ.) จัดตั้งขึ้นเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดยได้เริ่มเจรจาให้ความร่วมมือทางด้านเทคนิคและวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันการศึกษา และเปิดฝึกอบรมทางด้านเครื่องจักรกลเกษตร สำหรับกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2508 ใช้สถานที่ของโรงเรียนเกษตรกรรมปทุมธานี เป็นสถานที่ดำเนินการ
ในเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ได้มีพระราชโองการประกาศจัดตั้ง "ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร" ขึ้น อีกทั้งได้เริ่มก่อสร้างอาคาร สถานที่ทำงานเพิ่มเติมขึ้นที่ฟาร์มธนะรัตน์ บนพื้นที่ทั้งหมด 73 ไร่ 2 งาน 72 ตารางวา
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2520 กระทรวงศึกษาธิกาได้ประกาศให้ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร เป็นสถานศึกษาระดับวิทยาลัย สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กระทรวงศึกษาธิการ จึงให้เปลี่ยนชือ "ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร" เป็น วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี" สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ประกาศจัดตั้ง "คณะกรรมการอาชีวศึกษา" เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การรวมและแยกสถาบันการศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็น "สถานบันการอาชีวศึกษา จำนวน 19 แห่งทั่วไปประเทศ จึงมีผลทำให้ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี ยกฐานขึ้นเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ เป็นต้นมาเกิดจากการรวมตัวของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 10 แห่ง โดยอำศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ระบุว่า "สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมเข้าไว้ในสถาบันการจัดตั้งคณะกรรมการอาชีวศึกษาเข้าด้วยกันในสถาบันอาชีวศึกษาสามารถทำได้โดยคำนึงถึงความร่วมมือที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทรัพยากรร่วมกันทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ... "[2]
ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ประกาศจัดตั้ง "คณะกรรมการอาชีวศึกษา" เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การรวมและแยกสถาบันการศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็น "สถานบันการอาชีวศึกษา จำนวน 19 แห่งทั่วไปประเทศ และจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรประจำภูมิภาคอีกจำนวน 4 แห่ง
จึงทำให้ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี รวมควบตั้งขึ้นเป็น "สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หน่วยงานในสังกัด
แก้
วิทยาลัยเทคนิค |
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ วิทยาลัยอาชีวศึกษา
|
หลักสูตร
แก้หลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑[3] | |||
---|---|---|---|
วิทยาลัย | ประกาศนียบัตรวิชาชีพ | ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง | ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)[4] |
ศูนย์กลางการอาชีวศึกษาปทุมธานี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
|
วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ
พระนครศรีอยุธยา |
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
|
วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี | หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
|
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
|
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว๊บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เก็บถาวร 2018-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว๊บไซต์สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ เก็บถาวร 2017-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-03. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-31. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.
- ↑ "หลักสูตรอาชีวศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.
- ↑ "หลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2558" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.