สถานีย่อย:สหภาพโซเวียต/บทความยอดเยี่ยม/4

ความแตกแยกระหว่างตีโต้-สตาลิน (อังกฤษ: Tito–Stalin Split, รัสเซีย: Тито-Сталин Сплит, เซอร์เบีย-โครเอเชีย:Raskol Tita i Staljina) หรือ ความแตกแยกระหว่าง ยูโกสลาเวีย-โซเวียต เป็นความขัดแย้งระหว่างผู้นำของ ยูโกสลาเวีย และ สหภาพโซเวียต ซึ่งนำไปสู่การขับไล่ของยูโกสลาเวียออกจากองค์การโคมินฟอร์ม (Cominform) ในปี พ.ศ. 2491 นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการโดดเดียวตัวเองของยูโกสลาเวียด้วย ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับสหภาพโซเวียตสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2498

โดยโซเวียตได้มองเห็นความแตกแยกของยูโกสลาเวียว่าเป็นการทรยศต่อการช่วยเหลือของโซเวียตต่อยูโกสลาเวีย ทางด้านยูโกสลาเวียและประเทศตะวันตกได้มองเห็นความแตกแยกว่าเป็นการตอกย้ำในความภาคภูมิใจในชาติของตีโตจึงทำให้ไม่ยอมเข้าเป็นบริวารของโซเวียต นักวิชาการในปัจจุบันได้เน้นว่าทำไมสตาลินปฏิเสธแผนแยกตัวของตีโต้ เนื่องจากการแยกตัวของยูโกสลาเวีย จะทำให้การเข้าแทรกแซงของโซเวียตในแอลเบเนียและกรีซทำได้ยากขึ้น และอาจนำไปสู่การโดดเดียวและการแยกตัวของแอลเบเนีย (ซึ่งได้ถอนตัวออกในปีพ.ศ. 2511) และอาจนำไปสู่การเสื่อมอำนาจในการควบคุมประเทศกลุ่มตะวันออก