สถานีย่อย:สหภาพโซเวียต/บทความยอดเยี่ยม

โครงการอวกาศโซเวียต
โครงการอวกาศโซเวียต

โครงการอวกาศโซเวียต ประกอบด้วยการพัฒนา จรวด และ การสำรวจอวกาศเป็นโครงการที่จัดทำโดยอดีต สหภาพโซเวียตจากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการ สลายตัว ในปี 1991 ในช่วงเวลาหกสิบปีของโครงการมีความสำเร็จในหลายอย่างอาทิ เป็นผู้บุกเบิกขีปนาวุธข้ามทวีป อาร์-7 ,ดาวเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1 ,ไลก้า สิ่งมีชีวิตตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศในสปุตนิก 2,มนุษย์คนแรกในอวกาศ ยูริ กาการิน ใน วอสตอค 1 ,ผู้หญิงคนแรกในอวกาศ วาเลนตีนา เตเรชโควา ใน วอสตอค 6 ,มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ อเล็กซี ลีโอนอฟ ใน วอสฮอด 2 ,การลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรก ลูนา 2 ,การถ่ายภาพด้านมืดของดวงจันทร์ ลูนา 3 เป็นต้น

ต้นแบบจรวดและโครงการอวกาศโซเวียตได้มีต้นแบบจากโครงการจรวดลับของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โครงการใหญ่เริ่มหลังจากปี ค.ศ. 1955 และอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีหลายอย่างของ คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี บางครั้งเรียกว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีการสำรวจอวกาศเซอร์ไก โคโรเลฟเป็นหัวหน้าสถาปนิกของกลุ่มการออกแบบจรวดแต่ก็มีการแข่งขันในการออกแบบหลายกลุ่มนำโดย โคโรเลฟ ,Mikhail Yangel,Valentin Glushko และ Vladimir Chelomei ต่างจากคู่แข่งคือสหรัฐอเมริกาที่มีองค์การในการออกแบบจรวดเดียวคือนาซา




วลาดีมีร์ เลนิน
วลาดีมีร์ เลนิน

วลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดิมีร์ อิลลิช อิวานิคอฟ เลนิน (Vladimir Ilyich Ivanigov Lenin, Владимир Ильич Иванигов Ленин) (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2413 - 21 มกราคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1924)) ผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2465 หัวหน้าพรรคบอลเชวิก นายกรัฐมนตรีคนแรกและเป็นเจ้าของแนวคิดส่วนใหญ่ในลัทธิเลนิน

ชื่อ “เลนิน” นั้นเป็นหนึ่งในนามแฝงที่ใช้ในการปฏิวัติ เดิมมีชื่อสกุลว่าอูเลียนอฟ (Ulyanov) ได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคาซาน และเซนปีเตอร์สเบิร์ก เลนินถูกจำคุกระหว่าง พ.ศ. 2438-2440 และในปีต่อมาถูกเนรเทศไปไซบีเรียจนถึง พ.ศ. 2443 เนื่องจากเข้าขบวนการปฏิวัติใต้ดิน หลังการปฏิวัติเลนินได้เป็นหัวหน้าพรรค “บอลเชวิค” (Bolshevik) ที่ทำการปฏิวัติล้มล้างระบบกษัตริย์ของรัสเซียในปี พ.ศ. 2460 และตั้งตนเป็นผู้นำประเทศและรีบทำการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อทุ่มกำลังปราบปรามฝ่ายต่อต้านในสงครามกลางเมืองของรัสเซียที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2461-2464





โจเซฟ สตาลิน
โจเซฟ สตาลิน

โจเซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin โยซิฟ วิซซาร์โยโนวิช สตาลิน ; อังกฤษ: Joseph Stalin) (18 ธันวาคม ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง ค.ศ. 1953 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปรียบได้กับหัวหน้าพรรค

สตาลินสืบทอดอำนาจจาก วลาดิมีร์ เลนิน และนำโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจในการทำสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกา

โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงของเขาคือ "โยเซบ เบซาริโอนิส ดเซ จูกาชวิลลี" (იოსებ ბესარიონის ძე ჯუღაშვილი, Ioseb Besarionis dze Jughashvili) เขาเกิดที่เมือง โกรี ประเทศจอร์เจีย ตำแหน่งเมืองนั้นตั้งอยู่บนเนินสูงของเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐของจักรวรรดิรัสเซียสมัยนั้น เขาก็เป็นชาวจอร์เจียนโดยกำเนิด โดยชื่อ สตาลิน นี้เขาตั้งขึ้นมาเองขณะทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ (stalin ในภาษารัสเซียแปลว่า เหล็กกล้า)




ความแตกแยกระหว่างตีโต้-สตาลิน (อังกฤษ: Tito–Stalin Split, รัสเซีย: Тито-Сталин Сплит, เซอร์เบีย-โครเอเชีย:Raskol Tita i Staljina) หรือ ความแตกแยกระหว่าง ยูโกสลาเวีย-โซเวียต เป็นความขัดแย้งระหว่างผู้นำของ ยูโกสลาเวีย และ สหภาพโซเวียต ซึ่งนำไปสู่การขับไล่ของยูโกสลาเวียออกจากองค์การโคมินฟอร์ม (Cominform) ในปี พ.ศ. 2491 นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการโดดเดียวตัวเองของยูโกสลาเวียด้วย ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับสหภาพโซเวียตสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2498

โดยโซเวียตได้มองเห็นความแตกแยกของยูโกสลาเวียว่าเป็นการทรยศต่อการช่วยเหลือของโซเวียตต่อยูโกสลาเวีย ทางด้านยูโกสลาเวียและประเทศตะวันตกได้มองเห็นความแตกแยกว่าเป็นการตอกย้ำในความภาคภูมิใจในชาติของตีโตจึงทำให้ไม่ยอมเข้าเป็นบริวารของโซเวียต นักวิชาการในปัจจุบันได้เน้นว่าทำไมสตาลินปฏิเสธแผนแยกตัวของตีโต้ เนื่องจากการแยกตัวของยูโกสลาเวีย จะทำให้การเข้าแทรกแซงของโซเวียตในแอลเบเนียและกรีซทำได้ยากขึ้น และอาจนำไปสู่การโดดเดียวและการแยกตัวของแอลเบเนีย (ซึ่งได้ถอนตัวออกในปีพ.ศ. 2511) และอาจนำไปสู่การเสื่อมอำนาจในการควบคุมประเทศกลุ่มตะวันออก




โจเซฟ สตาลิน
โจเซฟ สตาลิน

เกออร์กี มาเลนคอฟ (รัสเซีย: Гео́ргий Максимилиа́нович Маленко́в; อังกฤษ: Georgy Maximilianovich Malenkov; 8 มกราคม พ.ศ. 2445 - 14 มกราคม พ.ศ. 2531) เป็นนักการเมืองโซเวียตและผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์

ครอบครัวของเขาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวลาดิมีร์ เลนินทำให้ช่วยส่งเสริมเขาในการเข้าพรรคและในปี พ.ศ. 2468 เขาทำหน้าที่ความดูแลของการรักษาประวัติบัญชีของพรรค นำเขาเข้ามาใกล้ชิดกับโจเซฟ สตาลินและเขาก็มีส่วนร่วมอย่างมากในการกวาดล้างของช่วงปี พ.ศ. 2473 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเขาได้รับความรับผิดชอบในการพัฒนาการสร้างขีปนาวุธสหภาพโซเวียต ต่อมาเขาเป็นที่โปรดปรานของสตาลินในการทำลายชื่อเสียงของจอมพลเกออร์กี จูคอฟ และสนับสนุนสตาลินในการทำลายล้างการเมืองและวัฒนธรรมทั้งหมดในเลนินกราดเพื่อส่งเสริมประชาชนวัฒนธรรมมอสโก





โจเซฟ สตาลิน
โจเซฟ สตาลิน

มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (รัสเซีย: Михаи́л Серге́евич Горбачёв) เป็นอดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยุติสงครามเย็น เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี พ.ศ. 2533

กอร์บาชอฟเกิดที่เมืองรีวอลโนเย ศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยมอสโกและที่สถาบันเกษตรกรรมสตัฟโรโปล จากนั้นจึงเริ่มทำงานเป็นพนักงานเดินเครื่องจักรกลเมื่อปี พ.ศ. 2489 และต่อมาเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2495 กอร์บาชอฟก้าวหน้าในด้านการงานอย่างมากโดยได้ทำงานในตำแหน่งระดับสูงต่าง ๆ ในเมืองสตัฟโรโปลและในองค์กรพรรคประจำอำเภอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 - 2513




ดมีตรี อุสตีนอฟ
ดมีตรี อุสตีนอฟ

ดมีตรี อุสตีนอฟ (รัสเซีย: Дми́трий Фёдорович Усти́нов)เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2519 จนกระทั่งเขาตาย

ดมีตรี เฟโอโดโรวิช อุสตีนอฟเกิดในครอบครัวชนชั้นแรงงานในซามารา เมื่อความหิวโหยรุนแรงขึ้นในช่วงสงครามกลางเมือง พ่อที่กำลังป่วยของเขาจึงย้ายไปซามาร์คันด์ ทิ้งดมีตรีไว้ให้ทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ไม่นานนักในปี พ.ศ. 2465 พ่อของเขาก็เสียชีวิต ในปี พ.ศ. 2466 เขาและแม่ของเขาย้ายไปยังเมืองมาคาเรฟ (ใกล้อีวาโนโว) ที่ซึ่งเขาทำงานเป็นผู้ดูแลเครื่องจักรในโรงงานกระดาษ หลังจากนั้นไม่นานในปี พ.ศ. 2468 แม่ของเขาเสียชีวิต




คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ
คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ

คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ (รัสเซีย: Климе́нт Ефре́мович Вороши́лов​)เป็นจอมพลและนักการเมืองในยุคสตาลิน เขาเป็นหนึ่งในห้าจอมพลดั่งเดิมของสหภาพโซเวียต (ทหารยศสูงสุดของสหภาพโซเวียต) พร้อมกับเสนาธิการกองทัพแดงอเล็กซานเดอร์ เยโกรอฟกับผู้บัญชาการอาวุโสสามคน วาซีลี บลูย์เคียร์ เซมิออน บูดิออนนืยและ มีคาอิล ตูคาเชฟสกี

โวโรชีลอฟ เกิดในการตั้งถิ่นฐานของ ลิซิคานสค์ (ปัจจุบันเป็นแคว้นปกครองตนเองยูเครน) ในจักรวรรดิรัสเซียในครอบครัวคนงานรถไฟสัญชาติรัสเซีย[อย่างไรก็ตามตามที่พลตรีPyotr Grigorenko ได้พูดไว้ว่า โวโรชีลอฟ ตัวของเขาเองได้พูดถึงมรดกทางวัฒนธรรมของยูเครนของเขาและต้นตระกูลของโวโรชีลอฟโวโรชีลอฟ เข้าร่วมฝ่ายบอลเชวิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยแรงงานรัสเซียในปี พ.ศ. 2448




โจเซฟ สตาลิน
โจเซฟ สตาลิน

ผู้นำสหภาพโซเวียต (รัสเซีย: Список руководителей СССР) เป็นตำแหน่งผู้นำของสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการโดยในภายใต้รัฐธรรมนูญปี 1977 ของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (สหภาพโซเวียต) ประธานสภารัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล[1] และประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งประธานสภารัฐมนตรีนั้นเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีในโลกที่หนึ่ง

ในขณะที่ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดเทียบเท่าประธานาธิบดี ในประวัติศาสตร์เจ็ดสิบปีของสหภาพโซเวียตไม่มีผู้นำอย่างเป็นทางการในรัฐบาลสหภาพโซเวียต แต่ผู้นำโซเวียตมักจะนำประเทศผ่านตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรีหรือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (CPSU) ในอุดมการณ์ของวลาดิมีร์ เลนินประมุขแห่งรัฐโซเวียตเป็นแกนหลักของพรรคคอมมิวนิสต์





โจเซฟ สตาลิน
โจเซฟ สตาลิน

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) เป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ถึง 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เขตสงครามดังกล่าวมีเรียกหลายชื่อแตกต่างกันไปตามประเทศ ชื่อที่โดดเด่น เช่น "มหาสงครามรักประเทศชาติ" (รัสเซีย: Великая Отечественная война) ในอดีตสหภาพโซเวียต; แนวรบด้านตะวันออก (เยอรมัน: die Ostfront) การทัพตะวันออก (เยอรมัน: der Ostfeldzug) หรือ การทัพรัสเซีย (เยอรมัน: der Rußlandfeldzug) ในเยอรมนี

การยุทธ์บนแนวรบด้านตะวันออกประกอบกันเป็นการเผชิญหน้าทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มีลักษณะของความรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน การทำลายไม่เลือกหน้า การเนรเทศขนานใหญ่ ตลอดจนการสูญเสียชีวิตมหาศาลอันเนื่องมาจากการสู้รบ ความอดอยาก การทอดทิ้ง โรคระบาด และการสังหารหมู่ แนวรบด้านตะวันออก อันเป็นแหล่งค่ายมรณะ การเดินขบวนแห่งความตาย (death march) เกตโต และโพกรมแทบทั้งหมด ถือเป็นศูนย์กลางของฮอโลคอสต์ จากตัวเลขประเมินผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่สอง 70 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตราว 30 ล้านคนในแนวรบด้านตะวันออก