สงครามไซเบอร์
สงครามไซเบอร์ (อังกฤษ: cyberwarfare) เป็นคำที่นิยามขึ้นมาโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความปลอดภัยของรัฐบาลที่ชื่อ ริชาร์ด เอ. คลาร์ก ในหนังสือที่ชื่อ Cyber War (พฤษภาคม 2010) โดยนิยามว่า "เป็นการกระทำของรัฐ-ชาติ เพื่อแทรกซึมไปยังระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย มีจุดประสงค์เพื่อทำลายหรือสร้างความแตกแยก"[1] The Economist อธิบายไว้ว่าเป็น "การกำเนิดสงครามอย่างที่ 5"[2] และวิลเลียม เจ. ลิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ กล่าวว่า "โดยหลักการแล้ว เพนตากอนได้ยอมรับอย่างเป็นทางการแล้วว่า เป็นเหตุให้เกิดสงคราม ที่กลายเป็นเรื่องอันตรายต่อการปฏิบัติการทหาร ทั้งภาคพื้นดิน อากาศ ทะเล และทางอวกาศ"[3]
ในปี ค.ศ. 2009 ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ประกาศว่า ระบบพื้นฐานดิจิทัลของสหรัฐอเมริกา "เป็นสินทรัพย์ยุทธศาสตร์ของชาติ" และในเดือนพฤษภาคม 2010 เพนตากอน ได้จัดตั้งกองบัญชาการไซเบอร์ (Cyber Command) นำโดยนายพล คีท บี. อเล็กซานเดอร์ ผู้บริหารของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐเพื่อป้องกันเครือข่ายทางทหารของอเมริกัน และมีขีดความสามารถจู่โจมระบบของประเทศอื่น สหราชอาณาจักรก็ได้ก่อตั้งการรักษาความปลอดภัยในไซเบอร์ และศูนย์ปฏิบัติการตั้งอยู่ในกองบัญชาการสื่อสารของรัฐบาล (GCHQ)
อย่างไรก็ตามในสหรัฐกองบัญชาการไซเบอร์ (Cyber Command) ตั้งขึ้นเพียงต้องการป้องการระบบทางทหารที่เกี่ยวเนื่องกับรัฐบาลและระบบพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นความรับผิดชอบหลักตามลำดับชั้นของกระทรวงความมั่นคงภายในร่วมกับบริษัทเอกชน[2]
The Economist รายงานว่าจีนมีแผนการที่จะ "เป็นเจ้าแห่งสงครามสารสนเทศ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 21" พวกเขายังเขียนว่า ประเทศอื่นกำลังจัดการอย่างเดียวกันในสงครามทางอินเทอร์เน็ต เช่น รัสเซีย อิสราเอล เกาหลีเหนือ นอกจากนั้นอิหร่านยังอ้างว่าจะเป็นกองทัพไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก[2] เจมส์ กอสเลอร์ ผู้เชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัยรัฐบาล กังวลว่า สหรัฐอเมริกาขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์อย่างมาก ประมาณว่าในทุกวันนี้ในประเทศมี 1,000 คนที่ผ่านคุณสมบัติ แต่พวกเขาต้องการผู้เชี่ยวชาญ 20,000 ถึง 30,000 คน[4]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Clarke, Richard A. (2010). Cyber War. HarperCollins.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Cyberwar: War in the Fifth Domain". Economist. 1 กรกฎาคม 2010.
- ↑ Lynn, William J. III (กันยายน–ตุลาคม 2010). "Defending a New Domain: The Pentagon's Cyberstrategy". Foreign Affairs. pp. 97–108.
- ↑ "Cyberwarrior Shortage Threatens U.S. Security". NPR. 19 กรกฎาคม 2010.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- วีดิทัศน์
- Sabotaging the System. 60 Minutes. CBS News. 8 พฤศจิกายน 2009. ความยาว 15 นาที.
- Cyber ShockWave. the Bipartisan Policy Center. 16 กุมภาพันธ์ 2010.
simulation of a cyber attack
ความยาว 8 นาที.
- บทความ
- "Fighting Wars in Cyberspace". Wall Street Journal.
- Ira Winkler (1 ธันวาคม 2009). "Will There Be An Electronic Pearl Harbor". PC World.
- Mary Brandel (21 เมษายน 2008). "How to Spot a Corporate Spy". Computer World.
- "Chapter 2 on China's activities impacting US security interests". 2009 annual report. US China Security and Review Commission.
- "Senate panel: 80 percent of cyberattacks preventable". Wired. 17 พฤศจิกายน 2009.
- "Security Guide". Consumer Reports Online.
- "Updated Cybersecurity information". Fox News.
- "Cyberwarfare reference materials". University of Washington.
- "Information Warfare Monitor Project Closure". Infowar Monitor.
- Robert Clark (8 กรกฎาคม 2009). "Cyber, War and Law".
- "Guerre de l'information - Information Warfare" (ภาษาอังกฤษ และ ฝรั่งเศส).
- Reza Rafati. "Information about cybercrime and Warfare". Cyberwarzone.com.
- "GCHQ: Britain's Most Secret Intelligence Agency". University of Warwick.
- Duncan Gardham (26 มิถุนายน 2009). "Hackers recruited to fight 'new cold war'". UK: Telegraph.
- Stefano Mele. "Le esigenze americane in tema di cyber-terrorismo e cyberwarfare" (PDF) (ภาษาอิตาลี).
Analisi strategica delle contromisure
บทความเกี่ยวกับทหาร การทหาร หรืออาวุธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร |